เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โดย : นายยุภา พุทธรักษ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-30-15:59:27

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองจันทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันสถานการณ์ การประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชน พบว่า มีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดังเดิม เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำการไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย     มีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน   แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้ ด้วยปัจจัยดังกล่าว กรมการพัฒนาชุมชน ได้มีแนวทางในการส่งเสริม “สัมมาชีพชุมชน” เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริง ให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ เพราะข้อเท็จจริงในทุกพื้นที่จะมีคนเก่งและประสบผลสำเร็จในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอน การถ่ายทอดความรู้ให้กับคนเก่งเหล่านี้ ยกให้เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ตำบลเมืองจันทร์มีพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน  จำนวน 3 หมู่บ้าน

                บทบาทของพัฒนากรในพื้นที่ ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการสัมมาชีพชุมชนทั้งสิ้น ๓ หมู่บ้าน ได้แก่บ้านงิ้ว  หมูที่ ๙  บ้านเก็บงา หมู่ที่ ๑๐ และบ้านฮ่องคำ หมู่ที่ ๒๐ ตำบลเมืองจันทร์

วัตถุประสงค์ ->

1. เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คน

2. คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับ การอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน จากเวทีประชาคม เข้าอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน (วิทยากรสัมมาชีพชุมชน)

          3.  วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีม โดยคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ ๔ คน

รวมเป็น 5 คน (ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน)

          4. ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชน   และเตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำชุมชนเตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน

          5. ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทาเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดาเนินกิจกรรม

          6.  ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านระยะเวลา

3 วัน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชนและสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน กำหนดแผนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน  ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน  จำนวน ๕ วัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เป็นโครงการที่ชุมชนสอนชุมชนและรู้ศักยภาพของชุมชนเองโดยปราชญ์

2.ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง

3.การสร้างความเข้าใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 

4.ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

อุปกรณ์ ->

1.      ความพร้อมของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ต้องศึกษาข้อมูลการดำเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุม

ให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน

          2. คัดเลือกปราชญ์ชุมชน ต้องเป็นปราชญ์ที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และคนในชุมชนสนใจ สามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเป็นอาชีพได้

 

-2-

3. คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน ต้องสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง

          4. ให้การสนับสนุนกิจกรรมผ่านกระบวนการถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้   และศึกษาผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ต่างๆ เช่น  Facebook  เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการในการประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกัน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านชุมชน

          5. ประสานความร่วมมือ ภาคีการพัฒนา เช่น เกษตร ปศุสัตว์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการให้การสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ ที่ครัวเรือนสนใจ

          6. ให้ความรู้เรื่องหลัก ๕ ก ในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เสริมสร้างและสนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการดำเนินงานสัมมาชีพในรูปแบบกลุ่มอาชีพ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่อง

          7. ติดตามสนับสนุน และเยี่ยมเยียนให้กำลังใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ยกย่องการขับเคลื่อนกิจกรรมที่น่าสนใจ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสร้างกระแสการขับเคลื่อนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook  เว็บไซต์สัมมาชีพ  หรือการประชุมระดับตำบล อำเภอ เป็นต้น

          8. สร้างความมั่นใจแก่ทีมวิทยากร โดยการให้เกียรติ ยกย่องให้เป็นผู้รู้ มีความสามารถเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชีพชุมชน เป็นแกนหลักในการสร้างอาชีพ และทำให้หมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการชาวบ้านสอนชาวบ้าน และความสำเร็จอยู่ที่หมู่บ้านไม่ใช่เจ้าหน้าที่

          9. การส่งเสริมอาชีพ ต้องเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ และอยู่รอดได้จริงในชุมชน และเป็นอาชีพที่สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในชุมชน และภายนอกชุมชน

          10. คัดเลือกกิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จ และกำหนดเป็นฐานการเรียนรู้ในระดับหมู่บ้าน ตำบล

5. ผลการสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

          11. สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่เข้มแข็ง หมู่บ้านละ ๑ ทีม. สามารถเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อไป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.ควรสร้างความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนให้เข้าใจก่อนเริ่มกระบวนงาน

2.การทำอาชีพบางอย่างมีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงควรเพิ่มงบประมาณในการฝึกอาชีพให้มากขึ้น

3.ควรสนับสนุนงบประมาณในการสร้างอาชีพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

4.ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเพื่อให้การสนับสนุนด้านวิชาการและงบประมาณในการสร้างอาชีพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา