เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน บ้านหนองหัวช้าง หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหัวช้าง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นายพลากร นิยมญาติ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-13:26:35

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกันทรารมย์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยพื้นที่ของอำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ  มีเป้าหมายในการดำเนินงานใน 11 ตำบล จำนวน 24 หมู่บ้าน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

          กระบวนการ/วิธีการ

1) ปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบ

ของยุทธศาสตร์ที่ 1 จำนวน 1 คน  เข้ารับการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”

2) ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร

“วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน

3) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีม

วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

          4) ดำเนินการโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน  หลังจากดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเรียบร้อยแล้ว

                    5) การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมฝึกอาชีพให้พิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรก  และจากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่สมัครใจ  และตั้งใจฝึกอาชีพเพื่อประกอบอาชีพนั้นให้เกิดรายได้ จำนวนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน และจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนข้อมูลครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนทั้ง 20 ครัวเรือน  และข้อมูลรายได้เฉลี่ยจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในปี 2560

                    6) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านทำการวิเคราะห์ประเภทอาชีพ  เพื่อฝึกอบรมและกำหนดสถานที่ศึกษาดูงาน  โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชนว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้สามารถสร้างรายได้จริง และศึกษาดูงานในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน หรือบ้านปราชญ์ชุมชนในอำเภอเดียวกัน 

                    7) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านรวบรวมข้อมูล และประสานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดซื้อวัสดุฝึกอาชีพเพื่อดำเนินการสนับสนุนการฝึกอาชีพ ให้ครัวเรือนเป้าหมายนำไปฝึกอาชีพได้จริง ก่อนเริ่มดำเนินการฝึกอบรม

                    8) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ติดตามเยี่ยมเยียน และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน รวมทั้งประสานประชารัฐตำบลให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาด

                    9) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ดำเนินการสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

1) ศึกษาคู่มือแนวทางในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้ครบถ้วนและชัดเจน

                   2) คัดเลือกผู้นำสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ  และประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพในหมู่บ้านชุมชน

                   3) เตรียมความพร้อมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ในการถ่ายทอดความรู้ของผู้นำสัมมาชีพชุมชนและปราชญ์ชุมชน  พร้อมทั้งประสานกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดให้ชัดเจน

                   4) ติดตามให้การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงาน

          2) โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเสริมสร้างเศรษฐกิจระดับฐานราก สร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านและชุมชน

3) ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง

4) การสร้างความเข้าใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน แกนนำหมู่บ้าน และผู้แทน ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ของหมู่บ้านที่ผ่านการคัดเลือก

5) การดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนติดตามของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) การอบรมใช้ระยะเวลา 5 วัน  ซึ่งทำให้ผู้เข้าอบรมมองว่านานเกินไป  เนื่องจากผู้อบรมมีอาชีพหลักที่ต้องทำอยู่แล้วด้วย  และภาระกิจส่วนตัวที่ต้องทำ

2) สิ่งที่กรมฯ ต้องการให้เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินโครงการมีมาก เช่น ผู้นำสัมมาชีพผ่านกระบวนการ มชช., การมีครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนดีเด่น, ข้อมูลองค์ความรู้-เทคนิคปราชญ์ชุมชน, แผนชุมชน, กลุ่มอาชีพ, และการลงทะเบียน OTOP ฯลฯ  แต่งบประมาณที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน และการพัฒนาวิทยากรสัมมาชีพชุมชนมีจำกัด  ซึ่งทำผลการดำเนินงานเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และกิจกรรมบางอย่างต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกว่าจะประสบผลสำเร็จ  ซึ่งอาจไม่สามารถที่จะเห็นผลในทันทีหลังการดำเนินโครงการ

3.) ควรลดขั้นตอนการปฏิบัติ และลดปริมาณขั้นตอนของเอกสารรายงานลง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา