เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวทัศณีย์ ทองมันปู ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-13:21:19

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีรัตนะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบัน สถานการณ์การประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชน มีภาวะความเสี่ยง    ของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ ต้นทุนในการผลิตสูง หนี้สินต่อครัวเรือนสูงขึ้น ไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิต มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ

               ดังนั้นจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น การดำเนินงานจึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยให้ชาวบ้าน (ปราชญ์/ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน) สอนชาวบ้าน (ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน) ในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริง ให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติแล้ว ขั้นพื้นฐานที่สุดก็จะสามารถสร้างอาชีพบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ บางกลุ่มมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพสร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  พัฒนาผลิตภัณฑ์/ บรรจุภัณฑ์ เพื่อขยายตลาดในวงกว้างและมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

การดำเนินกิจกรรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ดำเนินการโดยใช้หลักการมีส่วนของประชาชนให้มีส่วนในการร่วมคิดและร่วมทำ เพราะประชาชนมีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินกิจกรรม/โครงการ  ซึ่งแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ช่วงหลังจะเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา      โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน

                   ซึ่งการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่ให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้ตระหนักรู้ รับรู้ มีโอกาสเข้ามาแสดงบทบาท ทัศนคติ และความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนา ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในการแก้ปัญหาชุมชนของตนเอง เป็นการเน้นการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์และความชำนาญและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และมีทักษะของประชาชนในการแก้ไขปัญหาร่วมกับการใช้วิทยาการภูมิปัญญาที่เหมาะสมชัดเจน โปร่งใส ต่อเนื่อง และเป็นระบบ

ซึ่งขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของชาวบ้านโดยมีการแบ่งเป็นระดับ ดังนี้

ตามทฤษฎี Cohen and Uphoff กล่าวถึงขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของประชาชนว่ามีดังนี้

               1. การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา (Analysis) โดย ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด, สร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์  เข้าสู่ระบบOTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (จังหวัด) จำกัด

               2. การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา (Decision Making) โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อ

               2.1) ให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน/ ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน/กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

               2.2) ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพให้เปลี่ยนอาชีพตามคำแนะนำของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้

               3. การมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหา (Implementation) ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมาย          ที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของตนเอง/ หรือจุดเดียวกัน โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ให้การสนับสนุนในการฝึกปฏิบัติฯ

               4. การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์จากโครงการ (Benefits)  ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมาย ที่ฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน ได้รับความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ/ ถนัด มีความเชี่ยวชาญ โดยมีทีมวิทยากรเจ้าของความรู้เป็นผู้สอน ครัวเรือนเป้าหมายมีการรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพเสริมโดยการรวมกลุ่มกัน มีการบริหารจัดการกันภายในกลุ่ม และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้า เรือไปดำเนินการต่อยอดภายในครัวเรือนของตนเองเพื่อพัฒนาตนเองต่อไป

               5. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) หลังจากการดำเนินโครงการมีการสอบถามเบื้องต้นในการดำเนินกิจกรรมโครงการ อยากมีงบมาต่อยอดกิจกรรมโครงการอีก ระยะเวลาในการอบรมนานเกินไป (5 วัน) เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง/ ข้าวโพด

               การดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน จะต้องให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกๆขั้นตอน เพราะจะทำให้เขาเกิดความรัก ความหวงแหนในการดำเนินกิจกรรม เพราะเขาเป็นผู้คิด ผู้ลงมือทำผู้รับผิดชอบ ผู้แก้ไขปัญหา ผู้รับผลประโยชน์ และผู้ประเมินผล เจ้าหน้าที่ควรคอยให้คำปรึกษา คำแนะนำในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน/ ทีมวิทยากร/ ครัวเรือนเป้าหมาย/ ภาคีเครือข่าย/ กลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน/ชุมชน

2. ความมุ่งมั่น ความพยายามของทีมวิทยากรและครัวเรือนเป้าหมาย

3. การเรียนรู้ของคนในชุมชน/ ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ/ การสื่อสารของคนในชุมชนและเจ้าหน้าที่

อุปกรณ์ ->

การดำเนินงานโครงการต้องศึกษาวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน เพราะแต่ละชุมชนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา