เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการสร้าสัมมาชีพชุมชน บ้านเหมือดแอ่

โดย : นางปัทมาพร คำพรมมาภิรักษ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-13:16:08

ที่อยู่ : บ้านเหมือดแอ่ หมู่ที่ 6 ตำบลกุดเมืองฮาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ ๑๒  (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)  ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น  1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ  และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน  จำนวน  11  ด้าน  ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ  ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  โดยมีแผนงานที่สำคัญ  คือ  แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง  ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

ในปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชน

มีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม  เช่น  ปลูกพืชเชิงเดี่ยว  โรคพืช  ราคาผลผลิตตกต่ำ  การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม  หลังฤดูกาลผลิต  และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย  ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ  ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง  และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้  แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร  ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ  อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน  แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

                   การดำเนินงานในปี  2560  จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ  “สัมมาชีพชุมชน”  ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย  คือ  ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้  โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ  ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้  ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอน  การนำเสนอให้กับคนเก่ง  ยกให้เป็น  “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”  หมู่บ้านละ  1  คน  หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ  4  คน  แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพหมู่บ้านละ  20  คน  ขณะที่ส่วนหนึ่งมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพสร้างผลผลิต  สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ  OTOP  เพื่อขยายตลาดในวงกว้างต่อไป

                   ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของพัฒนากรในพื้นที่  จะสามารถเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้กระบวนการ  “ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ  ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้”  นั้น  ต้องคอยให้การสนับสนุนค้นหาเทคนิควิธีการที่จะทำให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชนเป็นกลไกลหลักในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน  ให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

วัตถุประสงค์ ->

                   (1)  สร้างความรู้ความเข้าใจ  การพัฒนาทักษะ  การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน  ในการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  หมู่บ้านละ  1  คน  (ครูใหญ่)

                   (2)  วิทยากรสัมมาชีพชุมชน  (ครูใหญ่)  กลับมาสร้างทีม  จากการคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มอีกจำนวน  4  คน  ต่อ  หมู่บ้าน  รวมเป็น  5  คน  (ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน)  โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  1  คน  ต่อ  ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน  4  ครัวเรือน

                   (3)  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล  ความต้องการอาชีพ  เปรียบเทียบอาชีพเดิมกับอาชีพใหม่หรือที่พัฒนาขึ้น  ว่ามีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น  ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ  จำนวน  20  ครัวเรือนๆ ละ  1  คน  จากการคัดเลือกครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์  จปฐ.  ปี  2559  เป็นอันดับแรก  และตามแบบลงทะเบียนแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชน  ที่สมัครใจและตั้งใจฝึกอบรมอาชีพ  เพื่อก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น  เมื่อผ่านฝึกอบรมอาชีพแล้ว  (ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน) 

                   (๔)  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  ดำเนินการฝึกอบรมอาชีพ  พัฒนาความรู้  และเสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ  จำนวน  20  คน  ระยะเวลา  5  วัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  การคัดเลือกผู้นำวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  และทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่เข้มแข็ง  เป็นผู้ที่ได้รับเลือกและยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน

          2.  การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน  ที่สมัครใจ  มีความพร้อม  และมีความตั้งใจจริงในการฝึกอาชีพ

          3.  ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญ  เอาใจใส่  ในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการสัมมาชีพชุมชน

          4.  อาชีพที่ชุมชนเลือก  เป็นอาชีพเกิดจากความต้องการของชุมชนเอง  บนพื้นฐานของความรู้และสอดรับกับทุนที่มีในชุมชน

          5.  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  ติดตาม  สนับสนุน  อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(1)  สร้างความรู้  ความเข้าใจ  การดำเนินงานโครงการสัมมาชีพชุมชนในทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  และหมู่บ้านเป้าหมาย  ผ่านเวทีประชาคมของกิจกรรมพัฒนาชุมชน  และผ่านทางผู้นำชุมชน  บอกเล่าต่อๆ กันไป

                   (2)  สร้างความมั่นใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  โดยพูดสร้างความมั่นใจยกย่องชื่นชม  และสร้างการยอมรับจากชุมชน

                   (3)  ร่วมขับเคลื่อนในทุกกระบวนการอย่างใกล้ชิด  ประสานงาน  และคอยสนับสนุนช่วยเหลือให้คำปรึกษา  ติดตามกำกับดูแล  โดยยกให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  เป็นพระเอก/แกนนำหลักในการสร้างสัมมาชีพชุมชน 

                   (4)  การเลือกอาชีพในการส่งเสริมครัวเรือนเป้าหมาย  เน้นทักษะพื้นฐานเดิมที่มีในชุมชนเพื่อง่ายต่อการส่งเสริม  สนับสนุน  และต่อยอดให้เข้มแข็งได้ 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา