เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสู่ความยั่งยืน

โดย : นางสาวศิริพร อ่อนละออ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-10:54:02

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

Thailand 4.0  เป็นแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายใน  เพื่อให้ประเทศสามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามในศตวรรษที่ 21  และจากพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทยที่ผ่านมา  เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยการพึ่งพาทุนจากต่างชาติ  รายได้มาจากการส่งออกสินค้าเป็นหลัก  คนไทยรับเพียงค่าแรง  ขณะที่คนต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจ  ทำให้ประเทศไทยติดกับดักของการเป็นประเทศที่มี “รายได้ปานกลาง”

          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้าในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผน  และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินจานวน 11 ด้าน  ซึ่งมีนโยบายด้านการลดความเหลื่อมล้าของสังคมและการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐ  เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  โดยมีแผนงานที่สำคัญคือแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง

          กรมการพัฒนาชุมชน  ได้นำแนวคิด Thailand 4.0  มาเชื่อมโยงกับภารกิจของกรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน” คือ 1) การยกระดับนวัตกรรม  2) การสร้างสังคมที่มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ  3) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่าย

วัตถุประสงค์ ->

พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนของอำเภอยางชุมน้อย  มีจำนวน  6  ตำบล  20 หมู่บ้านซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน  การสำรวจข้อมูลและการจัดเวทีประชาคมจัดทำแผนชุมชนเมื่อปี  2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1)

กระบวนการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

เมื่อดำเนินการตามกระบวนงานที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดแนวทางแล้ว  เพื่อให้งานสัมมาชีพชุมชนสัมฤทธิ์ผล เกิดประโยชน์สูงสุด  นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง  ยั่งยืน  จึงคิดเทคนิคกระบวนงานเพื่อขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน  ดังนี้

1. ประกาศเป็น “วาระสัมมาชีพชุมชนคนยางชุมน้อย”  เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบข้อมูล  แนวทางการดำเนินงาน

2. การเพิ่มทักษะ/เทคนิคการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน (5 ทหารเสือ) เน้น”พูดดี มีสาระ น่าศรัทธา”

3. ประชุม/วางแผน/ติดตาม/สนับสนุน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน อย่างสม่ำเสมอ

4. ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนร่วมจัดเวทีประชาคมกับวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ครัวเรือนเป้าหมาย  เพื่อคัดเลือกอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนภายใต้ทุนในชุมชน  และต่อยอดสู่การลงทะเบียนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ต่อไป

5. ให้ครัวเรือนเป้าหมาย  จัดทำบัญชีรับ-จ่าย ของครัวเรือน  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทุก  6  เดือน 

6. จัดตั้งเครือข่ายสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ  เพื่อเป็นศูนย์กลางการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานสัมมาชีพชุมชน

7. คัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพต้นแบบที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  หมู่บ้านละ  1  คน  พร้อมเชิดชูเกียรติทั้งระดับหมู่บ้าน  ตำบล  และอำเภอ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

. ผลของการแก้ปัญหา/พัฒนา/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. การ “นั่งลงกับพื้น” เพื่อพูดคุย แนะนำ  ให้คำปรึกษากับวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน (5 ทหารเสือ)  และครัวเรือนเป้าหมาย  อย่างจริงใจ

2. ความร่วมมือของทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน (4 องค์กร)  และภาคีประชารัฐ

3. ใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานสัมมาชีพชุมชน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา