เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายระเบียบ สุนันทเนตร ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-24-04:21:48

ที่อยู่ : 10 ม.5 ต.ศรีโนนงาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพง ทำให้ต้นทุนในการทำนาสูง นายระบียบ  สุนันทเนตร จึงหันมาหาวิธีลดต้นทุนในการทำนา  โดยการทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในที่นา ที่ไร่ของตนเอง  จากการที่ได้รับการอบรมในเรื่องการทำปุ๋ยหมักจากหน่วยงานพัฒนาที่ดิน และเกษตรอำเภอมาตั้งหลายครั้งแล้วเลยคิดว่าน่าจะทำได้  จึงได้ทดลองทำตามสูตรที่ได้อบรมมา และมีการดัดแปลงสูตรการทำปุ๋ยหมักเรื่อยมา  จนกระทั่งปรับปรุงสูตรปุ๋ยน้ำหมักสูตรฮอร์โมนสำหรับใส่ที่นา ที่ไร่ และสวนครัว เพื่อใช้ในครัวเรือน วัสดุที่นำมาทำก็ใช้วิธีการเก็บจากหมู่บ้าน (ของที่เขาทิ้งแล้ว) โดยเก็บรวมๆกันไว้หลายๆวันก็มีเศษใบไม้ เศษผักและผลไม้พอที่จะทำปุ๋ยน้ำหมักได้  สารเร่ง พ.ด. ๒  ก็ได้มาจากพัฒนาที่ดิน (แจกฟรี)   หลังจากนั้นสมาชิกครอบครัวก็จะมาช่วยกันทำ พอเป็นปุ๋ยน้ำหมักที่สามารถนำไปใช้ได้แล้ว ชาวบ้านคนไหนสนใจ อยากลองนำปุ๋ยน้ำหมักไปใช้ ก็สามารถมาขอเอาไปใช้ได้เลย  ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้กับสวนครัว แปลงไร่มันสำปะหลัง ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เป็นการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องปุ๋ยได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

- ละลายสารเร่ง พ.ด.๒  จำนวน  ๑  ซอง  ในน้ำ ๑  (๑๐ ลิตร)  คนให้เข้ากันประมาณ ๑๕ นาที (โดยต้องคนตลอดเวลา)

- หั่นผลไม้ทั้งหมดเป็นชิ้นเล็กๆ (หั่นทั้งเปลือก)  ถ้าหั่นยิ่งเล็กมากยิ่งดี  เพราะจะมีการย่อยสลายได้เร็ว

- นำผลไม้ที่หั่นแล้วมาคลุกกากน้ำตาลให้เข้ากัน

- จากนั้นเทสารเร่ง พ.ด.๒  และผลไม้ที่คลุกกากน้ำตาลแล้ว ลงในถังหมักและคนให้เข้ากัน  (อาจมีการเติมน้ำเพิ่มลงไปอีกได้ถ้าหากดูแล้วว่าแน่นเกินไปไม่สามารถคนได้)

- หมักไว้ประมาณ ๑๕-๒๑ วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้ (ในการหมักจะต้องมีการคนปุ๋ยน้ำหมักทุกวัน)

เทคนิคการผลิต

การที่จะทำให้ปุ๋ยน้ำหมักสามารถใช้ได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการการย่อยสลาย ของเศษพืชผักโดยเฉพาะการสับเศษผักและผลไม้ จากที่เคยทำมา ได้ทดลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการสับเศษพืชผักละเอียด และไม่ละเอียด  การย่อยสลายจะต่างกัน คือการสับละเอียดจะสลายเร็วกว่าทำให้สามารถนำปุ๋ยน้ำหมักไปใช้ได้เร็วกว่า

ปุ๋ย น้ำหมักนอกจากจะช่วยในการเติบโตของพืชแล้ว การทำปุ๋ยน้ำหมักยังเป็นการช่วยไล่แมลงศัตรูพืชในสวนเราด้วย ยกตัวอย่างการทำปุ๋ยน้ำหมักที่ทำจากสะเดา  และ ขี้เหล็ก ทั้ง ๒ ชนิดนี้หมักแล้วสามารถนำไปใช้ฉีดพ่นในสวนผัก เป็นการลดการการใช้สารเคมีได้อีกด้วย

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          1. กลุ่มมีความใฝ่รู้ ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ

          2. รับฟังคำแนะนำจากหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

          3. การมีส่วนร่วมของสมาชิก

          5. หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา