เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการขับเคลื่อนโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวดง ม.2 ตำบลหนองหมี อ.ราษีไศล

โดย : นางสาวเรณู โพธิวัฒน์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-23-18:12:18

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวน 23,589 หมู่บ้านทั่วประเทศ จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1. ศึกษาแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน

          2. สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ ทีมสนับสนุนระดับตำบล ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ในแนวทางการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน

          ๓. การสร้างทีมวิทยากรในระดับหมู่บ้าน  โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทีมวิทยากร  ในการกำหนดแนวทาง และขั้นตอน ในการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการ ในการสร้างสัมมาชีพในหมู่บ้าน

          ๔. ดำเนินการตามกิจกรรม และแนวทางที่กำหนด ( ระยะเวลา  ๕ วัน ) ดังนี้  ความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม  ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  สนับสนุนวัสดุประกอบอาชีพ และฝึกปฏิบัติ อาชีพตามที่ครัวเรือนต้องการ

          ๕. การติดตามสนับสนุน และประเมินผล ของ ทีมสนับสนุนระดับตำบล   หมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การพัฒนาทักษะปราชญ์ชุมชน และวิทยากรใน หมู่บ้านสัมมาชีพผ่านการฝึกอบรมตามกระบวนงานของกรมการพัฒนาชุมชน มีความเข้าใจและเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างคน ในชุมชนของตนเองโดยการเพิ่มความรู้และทักษะการถ่ายทอดของปราชญ์ชุมชน  ผู้ที่ประกอบสัมมาชีพ มีความเข้าใจในการสร้างสัมมาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชน 

          2. ชุมชนให้ความร่วมมือและเข้าใจ ความต้องการสร้างสัมมาชีพในชุมชนให้เข้มแข็งได้ พึ่งตนเองได้

          3. สถานที่ศึกษาดูงาน ก็เป็นสิ่งหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จ การไปดูงาน ที่การจัดตั้งกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จในการสร้างกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม

อุปกรณ์ ->

1. การเตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน และครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งดำเนินการ 5 วัน ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมค่อนข้างนาน การนัดหมายเพื่อดำเนินกิจกรรมจึงต้องปรับให้เหมาะสมตามสถานการณ์

             2. โครงการ/กิจกรรม ขาดความต่อเนื่อง ด้วยข้อจำกัดทางด้านระยะเวลา และความพร้อมของครัวเรือนเป้าหมาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ควรคัดเลือกผู้นำสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ มีความอดทน ใจสู้ เรียนรู้เร็ว

          2. ประสานและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  

ควรประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีการพัฒนาเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา และทำให้การพัฒนาเกิดความยั่งยืน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา