เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านตะเคียนเหนือ

โดย : นางฐานิดา ทองวิเศษ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-23-16:26:41

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีรัตนะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จ้านวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ  แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลัก บูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

ในการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้าทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน  จำนวน 23,589 หมู่บ้าน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมท้าแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง

นโยบายรัฐบาลได้มุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ในปี พ.ศ.2560  นั่นคือ รายได้ ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น  โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ สัมมาชีพชุมชน ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้    โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้จริง

พื้นที่เป้าหมายสัมมาชีพชุมชนในอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ  มี จำนวน 14 หมู่บ้านตะเคียนเหนือ  หมู่ที่ 12 ตำบลศรีแก้ว เป็นหมู่บ้านเป้าหมาย ในการดำเนินงาน   

วัตถุประสงค์ ->

ในการทำให้เป็นสัมมาชีพชุมชนได้นั้น ผ่านกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งมีทั้งหมด 5 โครงการหลักด้วยกัน   ได้แก่ 
                1. พัฒนาผู้นำสัมมาชีพเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  โดยปราชญ์หมู่บ้านตะเคียนเหนือ   คือ      นายมาก  เกษาชาติ  ไปอบรม ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี เขต 13  ( 4 วัน)
                2. ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด   1 วัน (นายมาก  เกษาชาติ)
                3. เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านๆ ละ 5 คน   

      (หมู่บ้านละ 3 วัน) หมู่บ้านตะเคียนเหนือ หมู่ที่ 12 ตำบลศรีแก้ว ได้แก่

1.      นายมาก  เกศาชาติ 

2.      นางสาวฉลาด  ตาชั่ง

3.      นางสาลิกา พะวงษ์

4.      นายอุตร์  นาคอุ่น

5.      นายทองพูล วงษ์ทวี

               4. ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้านตะเคียนเหนือ  จำนวน 20 คน (5 วัน)
               5. สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ บ้านตะเคียนเหนือ จำนวน  1 กลุ่ม ( 1 วัน) 
 โดยทั้ง 5 โครงการที่กล่าวมาทั้งหมดคือโครงการหลักในกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ที่พัฒนาตาม 

 เป้าหมายให้ครัวเรือนเป้าหมายภายในหมู่บ้านได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3

4.2 เทคนิค/วิธีการ

                 นางฐานิดา ทองวิเศษ ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ  ผู้รับผิดชอบและ

สนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านตะเคียนเหนือ  หมู่ที่ 12 ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ   ได้การดำเนินการตามแนวทาง/กระบวนการที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด  โดยพิจาณาจากศักยภาพของ

ชุมชน และศักยภาพของทีมวิทยากรทั้ง 5 คน กับครัวเรือนเป้าหมาย 20 ครัวเรือน  โดยอาศัยเทคนิค ดังนี้

              4.2.1 ข้าพเจ้าได้ศึกษาแนวทาง/กระบวนการ จนเกิดความรอบรู้ ในกระบวนการการสร้างสัมมาชีพชุมชน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

              4.2.2 อธิบาย แนวทาง/กระบวนการ และสร้างความรู้ ความเข้าใจ  สร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมวิทยากร ซึ่งเป็นแกนหลักในการสร้างสัมมาชีพชุมชน   

              4.2.3 สร้างภาคี  กับกลุ่ม  องค์กรในหมู่บ้าน เช่น กองทุนหมู่บ้านตะเคียนเหนือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  อาสาพัฒนาชุมชน  ผู้นำ อช. เพื่อการดำเนินงาน  เพราะเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนไม่สามารถ  ทำได้ด้วยตัวคนเดียว  ต้องมีทีมงาน  ภาคีเครือข่าย  ต้องเป็นผู้ประสานงานช่วยเหลือทีมวิทยากร

                        4.2.4 ติดตาม  ช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษาให้กับวิทยากรสัมมาชีพและกลุ่มอาชีพ              ทุกสถานการณ์อย่างใกล้ชิด  เพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรมเป็นไปด้วยดี  ให้การยกย่องเชิดชู และ ประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรม  ทาง  Facebook ,Line,เว็บไซต์

 5. บทสรุป

      5.1 ผลการสร้างสัมมาชีพชุมชน

            1. บ้านตะเคียนเหนือ มีทีมสัมมาชีพชุมชนหมู่บ้าน ที่สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมสัมมาชีพในหมู่บ้าน

            2. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนหมู่บ้านตะเคียนเหนือ  เป็นที่ปรึกษาด้านการประกอบอาชีพให้กับคณะกรรมการหมู่บ้าน

             3. บ้านตะเคียนเหนือ มีการรวมกลุ่มอาชีพทำน้ำพริก  จำนวน 1 กลุ่ม  ชื่อกลุ่ม  “กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านตะเคียนเหนือ”  ผลิตภัณฑ์ คือ น้ำพริกปลาร้าบอง  และ น้ำพริกปลาย่าง

            4. กลุ่มอาชีพทำน้ำพริกบ้านตะเคียนเหนือ ได้น้ำผลิตภัณฑ์มาลงทะเบียน ผู้ผลิต  ผู้ประกอบการ  OTOP

            5. วิทยากรสัมมาชีพทั้ง 5 คน มีการจัดทำองค์ความรู้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ในเว็บไซต์ สัมมาชีพ ของกรมการพัฒนาชุมชน 

            6. กลุ่มอาชีพทำน้ำพริกบ้านตะเคียนเหนือ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์น้ำพริกทาง Facebook ,Line,เว็บไซต์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

       1. ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมสัมมาชีพชุมชน

       2. ได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม  องค์กร ในหมู่บ้านและตำบล  เช่น กองทุนหมู่บ้านตะเคียนเหนือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  อาสาพัฒนาชุมชน  ผู้นำ อช.ตำบลศรีแก้ว

      3.ทีมวิทยากรได้รับการยอมรับจากชุมชน

     4. มีหน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษา ฯลฯ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ขยายผลหมู่บ้านเป้าหมายในการสร้างสัมมาชีพชุมชนเพิ่มขึ้น

2. สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  เพื่อพัฒนาอาชีพให้ชุมชนเพิ่มขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา