เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการขับเคลื่อนโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

โดย : นางทรัพย์สิน โพธิ์ขาว ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-23-09:07:04

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีรัตนะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น ๑๐ ใน ๑๐ ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผน ฯและรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน ๑๑ ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

          ปัจจุบันนี้ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูกาลผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมืองด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น เพื่อมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง จึงได้มีโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนขึ้นซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีมและจัดการฝึกอบรมอาชีพให้ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้เป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพมีความรู้และปฏิบัติได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและต่อยอดสู้การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

ในปี ๒๕๖๐ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีรัตนะ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพในระดับหมู่บ้านโดยมีพื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดขอบของยุทธศาสตร์ที่ ๑ การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษ๖รและชนบท จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน จึงได้กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนเพื่อให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ทีมวิทยากรสัมมาชีพและหน่วยงานภาคีใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นรูปแบบเดียวกัน ส่งผลให้การสร้างสัมมาชีพชุมชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  พอที่จะสรุปเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ฯของอำเภอศรีรัตนะ เพื่อนำไปปรับใช้พื้นที่อื่น ได้ด้งนี้

วัตถุประสงค์ ->

   ๔.๑ กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ

ในการบันทึกองค์ความรู้ในครั้งนี้  ผู้จัดทำได้นำแนวทางการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน รูปแบบ(Model) อำเภอศรีรัตนะ  จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีผลการดำเนินงานเป็นรูปธรรม  มีการจัดทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในระดับครัวเรือน ระดับกลุ่มองค์กร ระดับชุมชนที่สามารถสามารถขับเคลื่อนทั้งระบบไปพร้อมกัน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน ภายใต้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพึ่งพาตนเองของชุมชน และการสนับสนุนจากภาคีการพัฒนา             เป็นการบูรณาการทำงานของทุกภาคส่วนร่วมกันใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและใช้ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน _ดังนี้

          ๔.๑.๑ ขั้นเตรียมการ

                          ๑) จัดทำฐานข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านที่จะทีมวิทยากรสัมมาชีพและครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้าโครงการ ฯ และสำรวจศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อใช้เป็นสถานที่ในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน      

                     ๒)แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพระดับอำเภอ (ครู ก.)จากทุกภาคส่วน           ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนและกำหนดเจ้าภาพรับผิดชอบในการขับเคลื่อนตามเกณฑ์การประเมิน         ให้ชัดเจน โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพระดับอำเภอ (ครู ก.)ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต คณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับอำเภอ (ศอช.อ) คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ (กพสอ.) และชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอ(ผู้นำอช.)มีนายอำเภอ  เป็นหัวหน้าทีม พัฒนาการอำเภอ เป็นเลขานุการ

                   ๓) แต่งตั้งทีมสนับสนุนการขับระดับตำบล(ครู ข.) และหมู่บ้าน (ครู ค) จากทุกภาคส่วน โดย

                   - ทีมสนับสนุนระดับ ฯตำบล (ครู ข) ประกอบด้วยตัวแทนส่วนราชการในพื้นที่อำเภอ กำนัน         เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับตำบล /ผู้นำ อช./กพสต.ศอช.ต.มีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น      เป็นประธาน และให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเลขานุการ

                  - ทีมสนับสนุนระดับ ฯหมู่บ้าน (ครู ค)ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน หัวหน้าคุ้ม กลุ่มองค์กรต่างๆในหมู่บ้าน อช.

                  ๔)ประชุมชี้แจงทำความเข้าในการแนวทางการดำเนินงานการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้กับคณะกรรมการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ/ทีมขับเคลื่อนฯตำบล/ทีมขับเคลื่อนฯระดับหมู่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจถูกต้องตรงกัน

 

                                                                        -๓-

                  ๕) ประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้นำกลุ่มองค์กรประชาชนและและครัวเรือนเป้าหมาย        ในพื้นที่เป้าหมายในแนวทางกระบวนงานที่จะดำเนินงานในพื้นที่หมู่บ้าน เพื่อสร้างศรัทธาขยายแนวร่วมในการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

             ๖) จัดทำบันทึกความร่วมมือ MOU ประกาศเป็นวาระของของอำเภอในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมายกับภาคส่วนต่างๆเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันและสร้างกระแสการรับรู้

                .๑.๒ ขั้นการดำเนินงาน

                           ๑)ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน เรื่องการยกระดับครัวเรือนยากจน การบูรณาการแผนชุมชนและการเข้าถึงแหล่งทุน รวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงานสัมมาชีพระดับตำบลและหมู่บ้าน

                     ๒) เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกระบวนการ ดังนี้

                          -จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน

                                  -มอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการฝึกอบรมอาชีพ ทีมวิทยากร ๑ คนต่อครัวเรือนสัมมาชีพ ๔ ครัวเรือน

                                  - จัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพ

                                  - ติดตามครัวเรือนสัมมาชีพ 

              ๓)สร้างความตระหนักกับชุมชน  โดยทีมขับเคลื่อนสัมมาชีพ ระดับตำบลและหมู่บ้าน  กระตุ้นจิตสำนึกสร้างเข้าใจในการขับเคลื่อนสัมมาชีพ

     ๔)จัดทำแผนปฏิบัติการระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้านในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเป้าหมาย โดยการกำหนดแนวทางและกิจกรรมในการพัฒนาของครัวเรือนเป้าหมาย ออกเป็นแผนปฏิบัติการ ๒ ระยะ คือ

                 - แผนปฏิบัติการของชุมชนในระยะสั้น  ได้กำหนดกิจกรรมต่างๆเพื่อการพัฒนาศักยภาพ ซึ่งเน้นการพัฒนาอาชีพในระดับครัวเรือน โดยอาศัยการส่งเสริมสนับสนุนจากทีมวิทยากรสัมมาชีพ

                - แผนปฏิบัติการของชุมชนในระยะยาว กำหนดกิจกรรมต่างๆเป็นแผนพัฒนาหมู่บ้าน และชุมชนของหมู่บ้าน  โดยปรับแผนให้เป็นปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับแผนสนับสนุนขององค์กรปกครองท้องถิ่นพร้อมกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงานภาคีการพัฒนา

 

                                                                        -๔-

   ๕) ดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ ด้วยการบูรณาการงบประมาณ/โครงการ/กิจกรรม ภาคราชการและภาคีการพัฒนาต่างๆ โดยมี ทีมวิทยากรสัมมาชีพ แกนนำหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรต่างๆในหมู่บ้านเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน การสร้างระบบการพัฒนาอาชีพในระดับครัวเรือนเชื่อมโยงกลุ่มองค์กรต่างๆบโดยการเริ่มจากกิจกรรม แผนงาน โครงการที่ชุมชนดำเนินการได้ด้วยตนเองก่อนและให้มากที่สุด แล้วค่อยประสานแผนหรือบูรณาการหน่วยงานภายนอกในลำดับรองลงไป เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน

        .๒.๓ ขั้นติดตามประเมินผล

                      ๑) ประเมินผลตามเกณฑ์ประเมินครัวเรือนสัมมาชีพ ๓ มี  ๒ ไม่ ได้แก่ มีสัมมาชีพ มีความสัมพันธ์ที่ดี มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ไม่มียาเสพติดและไม่มีหนี้นอกระบบ  

                     ๒)ผู้ประเมินและวิธีการประเมิน

   - ระดับอำเภอ ปะเมินโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ

    - ระดับตำบลประเมินโดยทีมขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน

              ๓) ประเมินผลเพื่อรับทราบ ปัญหา อุปสรรคและผลความก้าวหน้าของโครงการ

              ๔) สรุปบทเรียน ด้วยประเมินผลการปฏิบัติงานในรูปแบบทีมขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน โดยมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายร่วมกันเชิงพื้นที่และผลลัพธ์ในการทำงานทำงานที่มีเป้าประสงค์เดียวกันของภาคีการพัฒนา

                       .๑.๕ ขั้นการประชาสัมพันธ์

                   ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ หอกระจายข่าว หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จดหมายข่าว

                ๔.๕.๒ ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานผ่าน Social media เช่น Facebook Line

            ๔.๕.๓ ประชาสัมพันธ์ผ่านการประชุมทุกระดับ เช่น การประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผลสำเร็จของการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนเชิงปริมาณ

          ๕.๑.๑ มีปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาเป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ๗๐ คน

           ๕.๑.๒ มีประชาชนเป้าหมายได้รับการส่งเสริมอาชีพ  จำนวน  ๒๘๐  คน (ครัวเรือน)

           ๕.๑.๓ มีแผนชุมชนระดับตำบลที่มีการสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพ จำนวน ๓ ตำบล
    .๒ ผลสำเร็จของการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนคุณภาพ

          ๕.๒.๑ มีวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านสามารถจัดอบรมอาชีพแก่ครัวเรือนในหมู่บ้าน

               ๕.๒.๒  ประชาชนเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพ นำความรู้ไปประกอบอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น และประชาชนในหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข มีการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต

          ๕.๒.๓  มีการนำโครงการในเล่มแผนชุมชนระดับตำบลไปใช้ประโยชน์ในการการพัฒนาอาชีพตามโครงการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล ปี ๒๕๖๐

อุปกรณ์ ->

 การสร้างทีมระหว่างภาคีการพัฒนา การบูรณาการภารกิจด้านพัฒนาอาชีพของหน่วยงานราชการ ที่มีภารกิจคล้ายกันยังไม่สอดคล้องกันมากนัก  เนื่องจากแต่ละหน่วยงานราชการต้องดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์ ภารกิจของแต่ละหน่วยงานที่ได้กำหนดตามภารกิจในการดำเนินงานของกรอบงบประมาณ  และระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ  การกำหนดพื้นที่ดำเนินการและกลุ่มเป้าหมายเป็นไปตามกรอบของการใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละหน่วยงานราชการ  ส่งผลกระทบต่อการบูรณาการกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันเชิงพื้นที่ระยะเวลาและกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกันและส่งผลกระทบต่อประชาชนในระดับพื้นที่ที่ต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของแต่ละหน่วยงาน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.ควรมีการขยายผลเป้าหมายในการสร้างสัมมาชีพชุมชน ครัวเรือนเป้าหมายและทีมวิทยากรควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยการสนับสนุนภารกิจและงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  รวมทั้งการสรุปบทเรียนเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนจะทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพให้ประชาชนอย่างยั่งยืน

          ๒.การสร้างกลไกการพัฒนาการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในระดับบุคคล ครัวเรือน ระดับกลุ่มองค์กรและหมู่บ้านให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  โดยการสนับสนุนภารกิจและงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่างๆและบูรณาการกิจกรรมของกลไกการพัฒนาโดยเน้นการบูรณาการเชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย

          ๓. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้การพัฒนาอาชีพระดับตำบล  ระดับอำเภอและระดับจังหวัดเป็นการนำเอาบทเรียนจากผลการดำเนินที่ประสบผลต่างๆมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม  รวมทั้งเป็นบทเรียนในการพัฒนาและขยายผลแก่หมู่บ้านอื่นๆต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา