เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน บ้านตระกาจ (บ้านโนนกุง) หมู่ที่ 8 ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นายเมฆ คำเหลือ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-23-08:59:57

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีรัตนะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

 

        ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมความพร้อม

             ๑.๑ ศึกษาและทำความเข้าใจ เนื้อหาสาระ รูปแบบวิธีการในการขับเคลื่อน หมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเน้นการศึกษา และสร้างความรู้ความเข้าใจ  ในกรอบแนวคิดในการดำเนินการ ขับเคลื่อน หมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่ามีรูปแบบวิธีการขับเคลื่อนอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จ  โดยการศึกษาข้อมูลชุมชนต้นแบบที่ได้ดำเนินการมาก่อนแล้ว  เช่น บทเรียนประสบการณ์ของบ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ      และ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร แนวทางการการดำเนินการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยกรมการพัฒนาชุมชน เป็นต้น
         

     ๑.๒ ประชุมทีมขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับอำเภอ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ  แนวคิด วิธีการขั้นตอน กระบวนการในการขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการนัดหมายทีมงานขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ระดับอำเภอ และแกนนำหมู่บ้านเป้าหมายที่เป็นพื้นที่ต้นแบบในการขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ในเรื่องของการสร้างความรู้ความเข้าใจ  และวางเป้าหมาย ความคาดหวัง และกำหนดแผนปฏิบัติการ  ในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

 

-2-

ในระดับหมู่บ้านให้มีความชัดเจน เข้าใจตรงกัน  สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ๑.๓ จัดเตรียมเอกสาร คู่มือในการดำเนินการขับเคลื่อน หมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้รวบรวมเอกสารข้อมูล และคู่มือต่าง ๆ  ที่กรมการพัฒนาชุมชนผลิตสื่อสำหรับส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง  หมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  นอกจากนั้นยังค้นหาประสบการณ์ในการขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละหน่วยงานมี กรอบแนวคิดในการขับเคลื่อนอย่างไรบ้าง

          ๑.๔ ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน ให้ชุมชนทราบ โดยนัดหมายหัวหน้าครัวเรือนเป้าหมายในหมู่บ้านตระกาจ (บ้านโนนกุง) หมู่ที่ 8  ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ  จำนวน  25  คน  มาร่วมประชุมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อน หมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ทั้งนี้ ในกระบวนการดังกล่าว ได้นำเสนอข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
          -วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          -กรอบแนวคิด การขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความหมาย  ความสำคัญ
          -ขั้นตอน  วิธีการ  และ ระยะเวลาในการดำเนินการ 
          -กำหนดแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกัน ระหว่างชุมชน และทีมส่งเสริมการเรียนรู้จากภายนอกชุมชน

 ขั้นตอนที่ ๒ ค้นหาและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง

             ๒.๑ ค้นหาและสร้างกลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน  ภายหลังจากดำเนินการประชุมชี้แจงต่อชุมชน  ให้ทราบถึงแนวทางในการดำเนินงานในระยะแรก  จึงได้จัดเวทีเรียนรู้ กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ที่จะร่วมดำเนินการในการทำ  หมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เชิงคุณภาพ จากเวทีดังกล่าว ได้ร่วมกันคัดเลือก คณะทำงานหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้าน จำนวน  4  คน  ซึ่งจะเป็นคณะทำงานที่จะช่วยในเรื่องการขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นหมู่บ้านที่มีชีวิต สามารถนำไปสู่การเป็นหมู่บ้านต้นแบบได้ ผลจากการประชุมเวทีดังกล่าว ที่ประชุม ได้คัดเลือกคณะทำงาน  จากตัวแทน ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ  ผู้นำตามธรรมชาติ ผู้นำกลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน และผู้นำคุ้ม   คณะทำงาน  4 คนนี้  จะช่วยกำกับดูแลกระบวนการในการขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
          ๒.๒ เพิ่มพูนความสามารถ คณะทำงานในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยให้คณะทำงานศึกษารายละเอียด แนวทางการดำเนินการจากคู่มือและเอกสารต่าง ๆ  ให้มีความพร้อมในการดำเนินการ ขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          ๒.๓ แกนนำหมู่บ้านศึกษาดูงาน  ชุมชนต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จ ก่อนที่จำลงมือปฏิบัติการขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านตระกาจ (บ้านโนนกุง)  หมู่ที่ 8 ตำบลศรีแก้ว  อำเภอศรีรัตนะ ได้ไปศึกษาดูงาน จำนวน  25  คน ประกอบด้วย  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  อบต. ปราชญ์ชาวบ้าน  และสมาชิกกลุ่มเป้าหมายไปศึกษาดูงาน  กระบวนการขับเคลื่อนหมู่บ้านสัมมาชีพเศรษฐกิจพอเพียงพึ่งตนเอง ที่ประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาของชุมชน  
          ๒.๔ ประชุมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในแนวทางการดำเนินงาน และจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนกระบวนการหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายหลังจากที่แกนนำชุมชนกลับจากศึกษาดูงาน แล้วได้ดำเนินการ จัดเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับ ให้

-3-

-คณะทำงานในหมู่บ้าน และทีมที่จะดำเนินการหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติการ ในการขับเคลื่อนงานของทีมและคณะทำงาน เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมาย และกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ

        

ข้อพึงระวังของการพัฒนา

 

โครงการหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการที่ใช้งบของทางราชการ ซึ่งไม่ใช่งบจากน้ำพักน้ำแรงของชาวบ้าน  การห่วงแหน และการพัฒนาต่อยอด จะไม่เหมือนงบของชุมชนเองที่มีความรักความหวงแหนมากกว่า โครงการหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร หรืออาจจะไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

          การแก้ไขปัญหาของชุมชน  โดยการดำเนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงบ้านตระกาจ (บ้านโนน-กุง)   มีจุดเริ่มต้นจากการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ  แล้วผ่านการเรียนรู้การพัฒนาโดยชุมชน   การพัฒนาตามแนวทางนี้จึงมีข้อพึงระวังใน  2  ประเด็น คือ

1        ต้องมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง  สนับสนุนในส่วนที่ขาด

2       ชุมชนต้องเรียนรู้ที่จะต้องดำเนินการพัฒนาด้วยตนเอง

 

ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง

          ควรให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการใช้ทุน (ทุนที่ไม่ใช่เงิน ทุนที่ใช้เงิน ประมาณ 10% ของงบประมาณโครงการ) ชุมชนจึงจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาและมีการวางแผนการพัฒนาชุมชนของตัวเองตามลำดับ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1  มีการจัดเวทีประชาคมวิเคราะห์ปัญหาของครัวเรือนและชุมชนที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการผ่านการพูดคุย  และยอมรับตระหนักในปัญหาร่วมกัน

          2  การเรียนรู้ของครัวเรือนผ่านการลงมือฝึกปฏิบัติ  การมีส่วนร่วมและการแบ่งบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกในชุมชน

1        การเรียนรู้ขยายผลจากครัวเรือนตัวอย่างสู่ครัวเรือนอื่นๆ ชุมชน  ผ่านความเอื้ออารีย์  ความ

สามัคคีของชุมชน

 

          4  การบริหารจัดการของชุมชน  ผ่านการรวมกลุ่ม  การกำหนดแนวทางดำเนินการโดยชุมชนตลอดจนการเรียนรู้ผ่านกลุ่มองค์กรเดิมที่มีอยู่ในชุมชน   ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          5  หน่วยงานราชการให้การสนับสนุน   ทั้งในระดับตำบล  อำเภอ   สถาบันอื่นๆ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-          ผลของการแก้ไขปัญหา/การพัฒนา/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑. การตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์เพื่อที่จะทำให้งานบรรลุ

เป้าหมายและสามารถใช้การมีส่วนร่วมในการทำงานได้

๒.การติดต่อกับองค์กรหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่จะเป็นเครือข่าย   โดย

การรวมหมู่บ้านสัมมาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความต้องการเหมือนกัน   และต้องการจะทำกิจกรรมเหมือนกัน

๓.การสร้างพันธกรณีร่วมกัน  คือ  การตกลงใจที่จะทำงานร่วมกันมีการเสริมสร้างความรู้

 แลกเปลี่ยนความรู้ เรียกว่าเป็นการศึกษาเรียนรู้

๔.การพัฒนาความสัมพันธ์ เป็นการเริ่มทำกิจกรรมร่วมกันและตกลงกันในการบริหารจัดการ

๕.การเรียนรู้ร่วมกัน  ซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และขยายตัวขยายกิจกรรมตาม

พื้นที่หรือตามลักษณะกิจกรรม     

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา