เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนในพื้นที่หมู่บ้านชุมชนที่ตนเองรับผิดชอบ จำนวน 2 ตำบล 20 หมู่บ้าน ให้ประสบผลสำเร็จบรรจุวัตถุประสงค์และทันเวลา

โดย : นางพาวดี อ่อนน้อม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-22-21:34:33

ที่อยู่ : 284 หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

รัฐบาลปัจจุบัน ปี ๒๕๖๐  ต้องการมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั้นคือ รายได้  ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน”  ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ  ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ ๒๓,๕๘๙ หมู่บ้าน รวม ๔๗๑,๗๘๐ ครัวเรือน  นั้นคือ  ๒๐ %ของหมู่บ้านในประเทศไทยโดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ  ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ เพราะข้อเท็จจริงในทุกพื้นที่จะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว และยกให้คนเก่งเหล่านี้ เป็น “วิทยากรสัมมาชุมชน” หลังจากนั้นกลับมาสร้างทีมวิทยาการสัมมาชีพระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ ๔ คน แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพหมู่บ้านละ  ๒๐ คน รวมเป็น ๔๗๑,๗๘๐ คนหรือครัวเรือน เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติแล้วขั้นพื้นฐานที่สุดก็จะสามารถสร้างอาชีพบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ขณะที่ส่วนหนึ่งมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่ออาชีพสร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ OTOP  เพื่อขยายตลาดในวงกว้างต่อไป  ดังนั้น จึงได้กำหนดดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐโดยใช้พื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ ๑ การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท จำนวน ๒๓,๕๘๙ หมู่บ้านเป็นพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าวมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างรายได้ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพต่อไป ซึ่งอำเภอราษีไศลมีเป้าหมายการดำเนินการตามโครงการฯจำนวน   ตำบล  ๒๙  หมู่บ้าน และตัวข้าพเจ้าเองมีหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการฯจำนวน ๒ ตำบล ได้แก่ตำบลหนองอึ่ง จำนวน  ๒ หมู่บ้าน และตำบลบัวหุ่ง  จำนวน  ๑๘ หมู่บ้าน (ทุกหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลบัวหุ่งเป็นหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการ) รวม ๒๐ หมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

๑.      ศึกษาแนวทาง  โดยการศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชนให้

เข้าใจ สามารถถ่ายทอดให้แก่หมู่บ้านเป้าหมายจำนวน ๒ ตำบล ๒๐ หมู่บ้าน เข้าใจและสามารถดำเนินการตามโครงการให้ประสพผลสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ และทันเวลา

๒.     สร้างภาคี สร้างทีมงาน ตีสนิท เกาะติดชุมชน   โดยการเข้าพื้นที่ พบปะ พูดคุย ประชุมชี้แจง

ทำความเข้าใจการดำเนินงานตามแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่ ผู้นำชุมชน ,ปราชญ์ชุมชน,วิทยากรสัมมาชีพชุมชน,ทีมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน,ทีมสัมมาชีพชุมชนระดับตำบล,ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ ,ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน,ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง ,ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน และกลุ่มอาชีพ ในพื้นที่ชุมชนที่รับผิดชอบจำนวน ๒ ตำบล ๒๐  หมู่บ้าน

๓.     สร้างผลงาน   โดยการประสานผู้นำชุมชน,ปราชญ์ชุมชน,วิทยากรสัมมาชีพชุมชน,ทีมสัมมาชีพ

ชุมชนระดับหมู่บ้าน,ทีมสัมมาชีพชุมชนระดับตำบล,ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ ,ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน เข้าร่วมโครงการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามโครงการ

๑.      โครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี (๔ วัน)

๒.     โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัดศรีสะเกษ (๑ วัน)

๓.     โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน  ๒๐  หมู่บ้าน ในพื้นที่ ๒ ตำบล ( ๓ วัน)

๔.     โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน (๕ วัน)

๕.     โครงการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล (๑ วัน)

๖.     โครงการสนับสนุนสัมมาชีพชุมชนแก่ครัวเรือนยากจน (เป้าหมายคือครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.ปี ๒๕๕๙ ที่พัฒนาได้(ไม่ร่วมครัวเรือนยากจนที่ไม่สามารถพัฒนาได้ เนื่องจากชรา พิการ อยู่คนเดียวต้องให้การสงเคราะห์เพียงอย่างเดียว)

    ๔. รวดเร็ว ทันที โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้นำชุมชน และวิทยากรสัมมาชีพชุมชน รายงานผลการดำเนินการ ตามโครงการที่ดำเนินการเสร็จแล้วพร้อมภาพถ่าย ให้อำเภอทราบทันทีทางไลน์ และจัดส่งหลักฐาน เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ทันตามกำหนด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑.      ผู้นำชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ใส่ใจและมีความพร้อมที่จะร่วมกิจกรรมตามโครงการ

๒.     วิทยากรสัมมาชีพสามารถสอนให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนทำในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึก   

ปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและชุมชนได้  ส่งผลให้เกิดอาชีพทางเลือกหลากหลายอาชีพให้ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

๓.     ประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญกับโครงการที่ได้รับ

๔.     การมีส่วนร่วมของประชาชน และมีการสร้างทีมงานให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

๕.     ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ใส่ใจและความพร้อมในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการ

๖.     พัฒนากร มีความรู้ความเข้าใจ ใส่ใจ และมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการให้ประสบผลสำเร็จ และต้องรู้จักบริหารจัดการในทุกพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการตามโครงการให้ประสบผลสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ ทันเวลา แม้จะมีหมู่บ้านเป้าหมายมากก็ตาม

อุปกรณ์ ->

พัฒนากรและทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนต้องติดตามสนับสนุนและขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรสนับสนุนให้นำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา