เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน บ้านหนองซำไฮ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นายสิทธิภาพ คำศรี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-22-13:58:03

ที่อยู่ : สพอ.ราษีไศล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์   การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์ การพัฒนาตามแผน และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งเป็นนโยบายด้านการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญคือแผนงาน       การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

                   ปัจจุบัน สถานการณ์การประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชน มีความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพ หรือรายได้เสริมหลังฤดูกาลผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายแรงงานไปประกอบอาชีพในเมือง การจะสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้จึงต้องมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ "รายได้" ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยการสร้างอาชีพ โดยให้ปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ ที่อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นผู้ถ่ายทอดให้คนอื่นทำตาม จึงเป็นที่มาของ "สัมมาชีพชุมชน" บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีเป้าหมายคือประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ สร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้  เพราะข้อเท็จจริงในทุกพื้นที่จะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการนำเสนอให้กับคนเก่งเหล่านี้ ยกให้เป็น "วิทยากรสัมมาชีพชุมชน" หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน และผู้ที่แสดงความประสงค์ต้องการเข้ารับการฝึกอาชีพตามแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชน หมู่บ้านละ 20 คน  เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติตามกระบวนการแล้ว ก็จะสามารถสร้างอาชีพบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงได้ หากมีความก้าวหน้าก็สามารถต่อยอดอาชีพ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ด้วยการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้า OTOP เพื่อเข้าสู่ระบบการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และขยายฐานการตลาดในวงกว้าง ต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

สัมมาชีพ เป็นการประกอบอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียน

สิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย เป็นความพยายามที่จะปรับจากการทำมาหากิน เป็นทำมาค้าขาย ครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการต้องคิดใหม่ว่า ตนเองเป็นผู้ประกอบการคนหนึ่งในฟันเฟืองของระบบเศรษฐกิจใหญ่ กำลังทำธุรกิจอยู่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในเชิงธุรกิจอื่นๆ การสร้างกำไรสุทธิให้มากขึ้นนั้น ทำได้ 2 ทางคือ 

๑) มุ่งสู่การลดรายจ่าย ลดต้นทุนในการผลิต ลดรายจ่ายครัวเรือน ไม่ก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

๒) เพิ่มมูลค่าในการจำหน่ายผลผลิตของครัวเรือนของชุมชน ให้มีส่วนต่างจากต้นทุนมากขึ้นรายรับก็จะเหลือมากขึ้นตามไปด้วย

ทั้งหมดเป็นการคิดอย่างครบวงจร เพราะการผลิตเพียงอย่างเดียว คิดด้านเดียว เป็นความคิดที่ซ้ำซากที่ทำกันมานานและจะเป็นปัญหาต่อไป เนื่องจากผลิตมาแล้วขายไม่ได้ ดังนั้น การคิดให้ครบวงจร ตั้งแต่ความต้องการ จำนวนที่ผลิต ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับราคา การตลาด การขนส่ง รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตที่ต้องเพิ่มเติมอย่างหยุดไม่หยุดนิ่ง และต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน คือ บ้านหนองซำไฮ หมู่ที่ 6 ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูล และการจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1)

กระบวนการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

1.) วิทยากรสัมมาชีพชุมชนผู้เป็นเจ้าของอาชีพ ดำเนินการร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน บรรยายให้ข้อมูล ชี้ให้เห็นภาพความสำคัญของการทำอาชีพว่าให้ประโยชน์อย่างไร เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ แล้วจึงอธิบายให้ข้อมูลการประกอบอาชีพอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน ดำเนินการจำนวน 3 วัน

 2.) ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 คน (ครัวเรือนละ 1 คน) เดินทางไปศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้และสร้างแรงจูงใจด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชนที่กำหนด ดำเนินการจำนวน 1 วัน

๓.) ฝึกปฏิบัติภายในครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ ดำเนินการจำนวน 1 วัน

4.) ติดตาม สนับสนุนการดำเนินกิจกรรม สัมมาชีพชุมชน อย่างสม่ำเสมอ และมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ เพื่อเสริมพลังการขับเคลื่อนกิจกรรม สัมมาชีพชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.) สัมมาชีพชุมชน เกิดจากปัจจัยภายในที่มีฐานความรู้อยู่ในชุมชน ที่เรียกว่า “ปราชญ์ชุมชน” ฐานทรัพยากรในพื้นถิ่น และทุนชุมชน ทั้งทุนที่เป็นเงิน และทุนที่ไม่ใช่เงิน บนฐานคิดที่ว่า “ระเบิดจากข้างใน” 

         2.) ครัวเรือนเป้าหมายแสดงความประสงค์ต้องการเข้ารับการฝึกอาชีพตามความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชน

         3.) มีกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมสัมมาชีพชุมชนที่เป็นกระบวนการ ชัดเจน

         4.) ใช้กระบวนการชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรม บนฐานคิดที่ว่า “ปัญหาของใคร คนนั้นต้องเป็นคนแก้ไข”

         กระบวนการขับเคลื่อนงานสัมมาชีพชุมชนที่จะสร้างความผาสุกให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชนได้นั้น ควรตั้งอยู่บนฐานคิดของการก้าวไปสู่สัมมาชีพของ "องค์กรชุมชน" หรือ "ชุมชนท้องถิ่น" จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างได้ ภายใต้กระบวนการใช้องค์ความรู้ในชุมชนมาพัฒนาการสร้างสัมมาชีพชุมชน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเพื่อการตลาด ทั้งตลาดในระดับชุมชน ท้องถิ่น และตลาดภายนอกชุมชน ทั้งนี้ต้องอาศัย ผู้นำชุมชนที่มีศักยภาพ กระบวนการชุมชน ความรักความสามัคคี ภาคีเครือข่ายการพัฒนา เพื่อให้ชุมชนบรรลุยุทธศาสตร์การพัฒนา คือชุมชนมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน.

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา