เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนการทำปลูกกล้วยน้ำว้า บ้านแม่บอนเหนือ ต.บ้านปวง อ.ทุ่งหัวช้าง

โดย : นายอนุชัย ยอดคำ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-11-15:24:31

ที่อยู่ : บ้านแม่บอนเหนือ หมู่ที่ 1 ต.บ้านปวง อ.ทุ่งหัวช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กล้วยมีประโยชน์มากมาย ใช้ได้เกือบทุกส่วน และเหมาะที่จะปลูกมาก กล้วยน้ำว้ามีสารอาหารหลายชนิด     ซึ่งช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกาย นอกจากนี้วิธีการปลูกกล้วยน้ำว้าให้ออกลูกตลอดปี เพื่อที่จะมีกล้วยไว้บริโภคในครัวเรือน และจำหน่าย

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพ ให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ ->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนรับสมัครครัวเรือนที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 ครัวเรือน  

2. ประชุมครัวเรือนเป้าหมาย (20 ครัวเรือน) เพื่อเลือกอาชีพที่ตนเองสนใจและต้องการที่จะฝึกอบรม  คือการปลูกกล้วยน้ำว้า

3. ร่วมกับทีมวิทยากรกำหนดแผนการอบรม ในห้วงเดือน กุมภาพันธ์ 2560

4. ดำเนินการอบรมวิธีการปลูกกล้วยน้ำว้า แก่ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 3 วัน จากนั้น ศึกษาดูงานศูนย์ศิลปาชีพแม่ต๋ำ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง เพื่อศึกษาการตลาดและการปลูกผักปลอดสาร เช่น การปลูกผักสลัด คะน้า กะหล่ำ การปลูกกล้วยน้ำว้า การปลูกมะพร้าว ฯลฯ ซึ่งมีวิทยากรสอนเทคนิคและวิธีการปลูกกล้วยและเกษตรแบบผสมผสานอย่างไรให้มีรายได้

วิธีการปลูกกล้วยน้ำว้าให้ออกลูกได้ตลอดปี

1.ทำการเลือกต้นพันธุ์โดยในที่นี้ขอเสนอให้เลือกต้นพันธุ์จากการเพาะเนื้อเยื่อ จะทำให้กล้วยปลอดโรค และออกลูกได้พร้อมกัน
2.ทำการเตรียมดิน โดยการไถดะตากดินประมาณหนึ่งเดือน และไถแปรอีกทีตากดินทิ้งไว้ประมาณหนึ่งเดือน
3. กำหนดระยะและขนาดหลุมปลูก โดยระยะที่เหมาะสมคือ 4x4 เมตร และควรขุดหลุม 50x50x50 เซ็นติเมตร เพราะรัศมีของรากกล้วยจะหากินไม่เกิน 50 เซ็นติเมตร  

4.  ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองหนาขึ้นมาประมาณ 30 เซ็นติเมตร แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน และควรรองก้นหลุมด้วยฟูราดานป้องกันหนอนกอกล้วยประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อหลุม
4.ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นตาย บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน

5. ในระยะเดือนแรกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และดินต้องชุ่มชื้นเพียงพอ เป็นเดือนที่ต้องเอาใจใส่อย่างมาก

5. จัดกิจกรรมการสาธิต ให้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพทุกคนต้องมีความรู้และสามารถแนะนำเกี่ยวกับเทคนิค หรือวิธีการทำตามอาชีพของตนเอง ที่เป็นจุดเด่น

5. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ติดตามสนับสนุนครัวเรือนเป้าหมาย ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ ครัวเรือนเป้าหมาย 4 ครัวเรือน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ครัวเรือนสัมมาชีพ

6. ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน จำนวน 20 ครัวเรือนมีอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

2. ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเข้าร่วมโครงการโดยการสมัครใจ ไม่ถูกบังคับ

3. อาชีพที่ครัวเรือนเลือกต้องเป็นอาชีพที่ตนเองถนัด และสร้างรายได้

 

อุปกรณ์ ->

หลังปลูกได้ 1 เดือน และเดือนที่ 2 ส่วนเดือนที่ 3 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน เดือนที่ 2 และ 3 ต้นกล้วยจะมีต้นและใบใหม่ทั้งหมด ปัญหาคือหญ้าขึ้นคลุมต้น ต้องถากหญ้าบริเวณโคนต้นออกให้หมด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนต้องคัดเลือกครัวเรือนที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้าร่วมโครงการ   

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำพูน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา