เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนการทำปลูกกล้วยหอมทอง บ้านดอนมูล ต.บ้านปวง อ.ทุ่งหัวช้าง

โดย : นายพุฒิ แก้วหนัก ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-11-14:17:47

ที่อยู่ : บ้านดอนมูล หมู่ที่ 8 ต.บ้านปวง อ.ทุ่งหัวช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันกล้วยหอมทองเป็นที่นิยมของตลาด ผู้บริโภคนิยมซื้อหามารับประทานในชีวิตประจำวันและตามงานเทศกาลต่างๆ สามารถรับประทานผลสุกและยังแปรรูปได้หลากหลายชนิด ตลาดทั้งในและต่างประเทศ 

วัตถุประสงค์ ->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนรับสมัครครัวเรือนที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 ครัวเรือน  

2. ประชุมครัวเรือนเป้าหมาย (20 ครัวเรือน) เพื่อเลือกอาชีพที่ตนเองสนใจและต้องการที่จะฝึกอบรม  คือการทำปลูกกล้วยหอมทอง

3. ทีมวิทยากรและครัวเรือนสัมมาชีพศึกษาดูงาน ณ กลุ่มวิสาหกิจการปลูกกล้วยหอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

4.จัดกิจกรรมการสาธิต ในการปลูกดังนี้

4.1.ฃ ระยะปลูก 3 x 3 เมตร จะปลูกกล้วยได้ 177 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่ ขุดหลุมประมาณ 50X50 ซม. 

4.2 การตัดใบกล้วยหลังจากปลูก : ถ้าเป็นหน่อใบแคบหลังจากปลูกแล้วไม่จำเป็นต้องตัดใบทิ้ง  แต่ถ้าเป็นหน่อใบกว้างหรือหน่อที่เคยปาดเฉียงมาก่อน ควรจะมีการปาดเฉียงลำต้นใหม่เพื่อที่กล้วยจะได้แตกใบใหม่ที่แข็งแรงขึ้น          

4.3 การกำจัดวัชพืชในแปลงกล้วย : การดายหญ้าและพรวนดินในแปลงกล้วยตลอดเวลาจะทำให้ ได้กล้วยเครือใหญ่ และจำนวนหวีมากขึ้น ใช้แรงงานคนเข้าดายหญ้าในแปลงปลูกเป็นวิธีที่ดีที่สุด            

4.4 การให้ปุ๋ยกล้วยหอมทอง :   ให้ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีควบคู่กันไป                    

-  ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 หรือ 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่    แบ่งใส่ 2 ครั้ง                     

-  การใส่ปุ๋ยคอกต้นละประมาณ 3-5 กิโลกรัม เมื่อกล้วยแตกใบได้ประมาณ 5 ใบโดยแบ่ง   ใส่ 2 ครั้ง           

4.5 การให้น้ำกล้วยหอมทอง : การให้น้ำกล้วยหอมทองจะให้แค่พอชุ่ม ในช่วงที่ปลูกใหม่ๆ และขณะที่กล้วยหอมตั้งตัวและกำลังติดปลี ติดผลดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้น้ำเป็นประจำทุกวัน           

4.6 การตัดแต่งหน่อและใบกล้วยหอมทอง :                     

-  การแต่งหน่อกล้วย  เมื่อกล้วยแตกหน่อตาม 4-7 หน่อ ต่อกอ และมีใบคลี่แล้ว ปาดยอดทิ้งในแนวเฉียงขึ้นกะความยาวของหน่อที่จะเหลือไว้หลังจากปาดให้สูงจากพื้นดินขึ้นมาประมาณ 20 นิ้ว จากนั้นปาดหน่อให้เฉียงกลับด้าน(ตรงข้ามกับปาดครั้งแรก) ทุกๆ15 วันจะทำให้โคนหน่อกล้วยขยายใหญ่ขึ้นเหมาะที่จะนำไปปลูก                    

-  การตัดแต่งใบกล้วยขณะที่มีการแต่งหน่อ ทำการตัดแต่งใบกล้วยควบคู่ไปด้วยจนกว่ากล้วยจะตกเครือ การตัดให้เหลือใบกล้วยไว้กับต้น 10-20 ใบต่อต้น ตัดด้วยมีดขอให้ชิดต้นกล้วยอย่าให้เหลือก้านกล้วยยื่นยาวออกมาเพราะส่วนที่เหลือยื่นยาวไว้นั้นจะเหี่ยวแล้วรัดลำต้นทำให้ลำต้นส่วนกลางขยายได้ไม่มากเท่าที่ควร          

4.7 การค้ำลำต้นกล้วย : กล้วยหอมทองมักประสบปัญหาเรื่องการหักล้มง่ายเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากลำต้นที่สูงใหญ่ เครือใหญ่ หนัก และ คออ่อน เมื่อขาดน้ำหรือลมพัดก็จะหักโค่นเสียหายได้ง่ายมาก จึงต้องใช้ไม้ไผ่ค้ำที่ก้านเครือ หรือการใช้ไม่ไผ่มัดติดกับลำต้น หรือการใช้เชือกโยงมัดต้นกล้วย          

4.8 ระยะเวลาในการให้ผลผลิตของกล้วยหอมทอง : ประมาณ 10 เดือนหลังจากปลูก กล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา จนสุดให้ตัดปลีทิ้ง หลังจากตัดปลีประมาณ 90-110 วัน กล้วยจะแก่พอดี ในปีที่ 2 และ  3  เมื่อถึงเวลาที่ตัดเครือกล้วยออกแล้ว ต้องตัดต้นแม่ออก ให้เหลือตอสูงประมาณ 1.5-2 เมตร เพื่อให้หน่อที่แตกใหม่มีอาหารที่สมบูรณ์และน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในตอกล้วยจะ ช่วยเลี้ยงหน่อที่เหลือให้เจริญต่อไปได้ การเลี้ยงตอนั้นจะเลี้ยงไว้จนตอแห้งแล้วจึงตัดออก         

4.9 การคัดหน่อกล้วยไว้สำหรับปีต่อไป :  หน่อกล้วยที่จะคัดไว้เป็นหน่อที่ให้ผลผลิตในปีต่อไปต้องมีลักษณะ เป็นหน่อใต้ดิน ลำต้นอวบ อยู่ห่างจากโคนต้นแม่ประมาณ 10 นิ้ว เหลือไว้ไม่เกิน 2 หน่อที่อยู่   ตรงกันข้ามปัญหาและอุปสรรคในการเพาะปลูกกล้วยหอมทอง

5. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ติดตามสนับสนุนครัวเรือนเป้าหมาย ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ ครัวเรือนเป้าหมาย 4 ครัวเรือน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ครัวเรือนสัมมาชีพ

6. ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน จำนวน 20 ครัวเรือนมีอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

2. ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเข้าร่วมโครงการโดยการสมัครใจ ไม่ถูกบังคับ

3. อาชีพที่ครัวเรือนเลือกต้องเป็นอาชีพที่ตนเองถนัด และสร้างรายได้

4. การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนต้องมีการบูรณาการกับหน่วยงานอื่น 

อุปกรณ์ ->

กล้วยหอมทองมีลำต้นสูง เครือใหญ่ จึงมีปัญหาในการหักล้มก่อนกล้วยจะแก่ได้ง่ายต้องมีต้นทุนค่าไม้ค้ำ เมื่อผลสุกแล้วจะบอบช้ำได้ง่าย ต้องเก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำพูน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา