เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมทีมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

โดย : นายพงศธร สุกันทา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-08-09:37:03

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

    สืบเนื่องจากวาระกรมการพัฒนาชุมชนในการขับเคลื่อนปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ หนึงในงานที่สำคัญนั้นก็คือ โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผ่านกระบวนการต่างๆ ของการดำเนินโครงการสัมมาชีพชุมชน ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน/ชุมชน นั้น
    ข้าพเจ้าฯ ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนากรผู้ประสานงานประจำตำบล มีหน้าที่โดยตรงในการเข้าไปสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของการดำเนินงานร่วมกันกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งตรงนี้ถือได้ว่าเป็นจุดแตกหักเลยก็อาจจะกล่าวได้ เพราะปัจจัยนในการขับเคลื่อนนั้นหากขาดความเอาใจใส่ของทีมงานวิทยากรระดับหมู่บ้านก็จะไม่สามารถส่งผลต่อการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามกระบวนการที่สมบูรณ์ต่อไปได้
    ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าฯ จึงตระหนักและเห็นความสำคัญของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเป็นอย่างมาก โดยจะได้อธิบายในหัวข้อต่อๆ ไปนี้

วัตถุประสงค์ ->

    ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน ดำเนินการ ๕ วัน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 
    ๑) ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ที่กรมฯ จัดส่งให้อย่างละเอียด 
    ๒) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ นำแผนปฏิบัติการที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด มาประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านและจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนรายหมู่บ้านตามโครงการ 
    ๓) เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึงทักษะพื้นฐาน (ทุนเดิม) ของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ 
    ๔) ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน โดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านแล้วเสร็จ โดยมีกรอบระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน ๕ วัน ดังนี้

    ๑) วันที่ ๑-๓ ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพ ให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการในหมู่บ้าน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชน) 
    ๒) วันที่ ๔ ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หรือบ้านปราชญ์ชุมชน หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง 
    ๓) วันที่ ๕ ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรมโดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และมีการสนับสนุน วัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ 
    ๕) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติ  ไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง 
    ๖) จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ในการต่อยอดการพัฒนาและอื่นๆ 
    ๗) สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

    อาจกล่าวได้ว่าการขับเคลื่อนงานให้ประสบผลสำเร็จนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ซึ่งตัวเจ้าหน้าที่พัฒนากรก็มีส่วนสำคัญเพราะถือเป็นตัวขับเคลื่อน และกระตุ้นให้กลุ้มเป้าหมายดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นพัฒนากรตำบลควรเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มากที่สุด ให้โอกาสในการรับฟังความคิดเห็นของทีมฯ และติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องไม่ทิ้งระยะเวลาห่าง เพราะจะทำให้ทีมฯ อาจลืมบทบาทหน้าที่ของตนได้ และควรมีการเรียกประชุมทีมฯ เพื่อทราบถึงปัญหาและการพัฒนาต่อไป ซึ่งในการทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายหมู่บ้านละ ๒๐ คน ถือได้ว่าเป็นจำนวนที่มากพอสมควรในการติดตาม เนื่องมาจากอาชีพการทำมาหากินของแต่ละครอบครัวต่างกันไป จึงควรหาเวลาที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่จะดำเนินการด้วย จะส่งผลให้การขับเคลื่อนโครงการออกมาเป็นไปในทิศทางที่ดีตรงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานต่อไป

อุปกรณ์ ->

๑) ควรเข้าใจสถานการณ์ของชุมชนที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินการ ในปัจจัยต่างๆ ทั้งความร่วมมือของชุมชน ความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ความสามาคคีของกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ที่อยู่ภายในชุมชน ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดสำคัญในการขับเคลื่อนงานออกมาว่าจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
๒) ในการค้นหาปราชญ์ชาวบ้าน จะต้องมีความเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของคนภายในชุมชนนั้น
๓) การดำเนินงานความเป็นไปตามขั้นตอนและมองภาพรวมให้ครบกระบวนการ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เนื่องจากเป้าหมายในการดำเนินโครงการมีจำนวนมาก จึงทำให้การประสานงานการติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่เป็นไปอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ผนวกกับเส้นทางสัญจรไปยังหมู่บ้าน ซึ่งบางหมู่บ้านมีเส้นทางค่อนข้างห่างไกลและยากลำบาก ในการดำเนินงานครั้งต่อไปนั้นเห็นควรที่จะกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน สามารถเป็นต้นแบบได้ และสามารถเป็นจุดดำเนินการที่ทำได้จริง ซึ่งควรเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ จะทำให้โครงการออกมาสมบูรณ์มากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา