เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การจักสานข้อง

โดย : นายสมนึก คุณหวัง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-24-10:39:52

ที่อยู่ : 130 ม.11 ต.พิชัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำวัง ซึ่งมีสัตว์น้ำที่พอมีให้หามาประกอบอาหารเลี้ยงครอบครัวได้ ดังนั้นจึงต้องจักสานข้องเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการเก็บปลา หรือสัตว์น้ำอื่นๆ ด้วย          

ข้อง  เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยผิวไม้ไผ่ ปากแคบอย่างคอหม้อ มีฝาปิดเปิดได้ เรียกว่า ฝาข้องสานเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไว้เรียกว่า งาแซง ข้องใช้สำหรับใส่ ปลาปู กุ้ง หอย กบ เขียด  ถ้ามีขนาดใหญ่เรียกว่า “ข้องหลวง” ถ้ามีรูปทรงแนวนอนเรียกว่า “ข้องเป็ด”

          การใช้งาน โดยผูกข้องไว้ที่เอว ถ้าจับปลาที่มีขนาดใหญ่นิยมใช้ข้องเป็ด เพราะปลาไม่ต้องงอตัวอยู่ในข้อง จะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน ถ้าขังปลาด้วยข้องเป็ดแล้วนำไปแช่น้ำที่ไหล ยิ่งจะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้หลายวัน

วัตถุประสงค์ ->

          ขั้นตอนการทำ

          1) จักตอกไม้ไผ่เป็น 2 ขนาด ขนาดที่ 1 ความกว้างประมาณ 0.5 มม. ขนาดที่ 2 ความกว้างประมาณ 0.3 มม. มีข้องตัวแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปอยู่ข้างใน

          2) เริ่มก่อส่วนก้นใช้ตอกขนาด 0.5 มม. เป็นตอกตัวยืน ใช้ตอกขนาด 0.3 มม. เป็นตอกตัวขวาง สานด้วยลายทาน

          3) เมื่อสานก้นได้ขนาดตามแม่พิมพ์แล้ว จึงพับตอกขึ้นเพื่อสานส่วนลำตัวของข้อง

          4) เมื่อสานขึ้นไปถึงบ่าจะขึ้นเป็นส่วนคอที่ต้องให้คอดกิ่วเข้าไป ให้ถอดแม่พิมพ์ออกก่อนแล้วจึงพับตอกตัวยืนเข้าไปพร้อมกับสานตอกตัวขวางให้รัดคอดเข้าไป

          5) เมื่อได้คอที่คอดกิ่วแล้วให้กลับตอกออกมาให้ปากผายออก แล้วจึงพับตอกที่ปากเพื่อเก็บตอกตัวยืนเสียบซ่อนไว้กับตอกตัวขวางที่ปาก

          6) ที่บ่าข้องใช้หวายทำเป็นหูสำหรับสอดสายผูกเอว

          7) หลังจากนั้นจึงสานงาเพื่อเป็นฝาปิด เริ่มจากการใช้ตอกที่แข็งขดเป็นวงกลมให้เข้าไปในขอบปากของตัวข้อง แล้วจึงใช้ตอกพับกับขอบปากที่เป็นวงกลมนั้นโดยให้ปลายของตอกสอบเข้าหากัน เวลาที่ปิดตอกจะลงลึกไปในตัวของข้อง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งที่อยู่ในข้องออกมาได้

          8) ถ้าเป็นข้องเป็ดซึ่งเป็นแนวนอน จะเริ่มสานส่วนซ้ายหรือส่วนขวาด้านใดด้านหนึ่งก่อน แล้วพับตอกสานไปตามนอน โดยด้านบนสานให้เป็นตาๆ จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ในข้องได้ เมื่อถึงอีกด้านหนึ่งให้พับตอกขึ้นแล้วสานเป็นส่วนคอและปาก ส่วนฝาปิดทำเช่นเดียวกับฝาข้องธรรมดา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

          การสาน

          การสาน เป็นขั้นตอนที่ยากและต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างไม่เท่ากัน  สาเหตุเหตุที่ตอกมีขนาดไม่เท่ากัน เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ข้องที่มีฐานใหญ่ และมีคอที่คอดกิ่ว

          การรมควัน

          เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วย   ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่  ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย  จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความแข็งแรงสวยงาม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา