เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นางสาวจันทร์เพ็ญ ลวงคำ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-24-10:22:40

ที่อยู่ : 128/1 ม.5

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากใช้ชีวิตทำงานอยู่ใน กทม. มานานหลายปี พอออกจากงานจึงกลับบ้านเกิด จึงคิดหาอาชีพ หารายได้เพื่อมาจุนเจือครอบครัว พอดีได้รับโอกาสเข้าร่วมอบรมการเพาะเห็ดฟางกับ อบต.พิชัย ได้มาอบรมการเพาะเห็ดฟางในหมู่บ้าน จึงสามารถนำความรู้มาต่อยอดทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า

โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าควรมีขนาด 2.5 x 15 x 2.5 (กว้าง x ยาว x สูง) เมตร ซึ่งจะวางก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าได้ประมาณ 4,500 ก้อน การสร้างโรงเรือนให้เหมาะสมนั้นควรสร้างในที่เย็นชื้นและสะอาดปราศจากศัตรูของเห็ดที่จะเข้ามารบกวน หลังคามุงจากหรือแฝก แล้วคลุมทับด้วยสะแลนอีก 1 ชั้น เพื่อป้องกันลม สภาพอากาศ มีผลกระทบต่อการออกดอกของเห็ดได้เช่นเดียวกัน ปิดประตูด้วยกระสอบป่าน ปูพื้นด้วยทราย เพื่อเก็บความชื้น ทิศทางลม มีส่วนสำคัญในการโรงเพาะเห็ด ต้องดูทิศทางของลมเหนือลมใต้ เพื่อป้องกันการพัดพาเชื้อโรค ที่จะมีผลต่อก้อนเห็ด และการออกดอกของเห็ด

ขั้นตอนที่ 2 การทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้า

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม  ได้แก่

          1) ขี้เลื่อยยางพาราแห้งสนิท 100 กิโลกรัม
          2) รำละเอียด 6 – 8 กิโลกรัม
          3) ปูนยิบซัม 1 กิโลกรัม
          4) หินปูนหรือผงชอล์ก 1 กิโลกรัม
          5) ข้าวโพดป่น 3 – 5 กิโลกรัม
          6) ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
          7) EM 1 ลิตร

          8) น้ำ 80 ลิตร
ทำการตากและกองขี้เลื่อยยางพาราไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นค่อยทำการผสมโดยการเติมน้ำลงไป ทดสอบโดยการกำส่วนผสมถ้ามีน้ำซึมตามง่ามมือแสดงว่าการผสมนี้ผสมน้ำมากเกินไปแต่ถ้าเมื่อบีบแล้วขี้เลื่อยแตกเป็น 3 ก้อนแสดงว่าการผสมใช้ได้เรียกว่าพอดีแล้ว แต่ถ้ากำแล้วแบมือออกแล้วขี้เลื่อยจับตัวไม่เป็นก้อนแสดงว่าเติมน้ำน้อยจนเกินไป เมื่อผสมเข้ากันได้ที่แล้วก็ทำการกรอกใส่ถุงเพาะเห็ด ใส่ให้ได้น้ำหนักประมาณ 800 กรัม หลังจากนั้นก็ทำการรวบปากถุงกระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอประมาณหลังจากนั้นก็ทำการใส่คอขวด

ขั้นตอนที่ 3 การหยอดเชื้อและบ่มเชื้อเห็ดนางฟ้า

นำก้อนเชื้อที่ได้ทำการหยอดเชื้อและบ่มเชื้อเห็ด โดยนำก้อนเชื้อที่ได้นำมานึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ โดยใช้เวลานึ่งประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง โดยใช้หม้อนึ่งจากถังน้ำมัน 200 ลิตร เมื่อผ่านขั้นตอนการนึ่งฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว จะหยอดเชื้อเห็ดลงสู่ก้อนเชื้อ ควรหยอดเชื้อลงประมาณ 20 – 25 เมล็ด เมื่อหยอดเชื้อลงสู่ก้อนเชื้อเห็ดเสร็จแล้ว ให้ปิดปากถุงก้อนเชื้อให้เรียบร้อย แล้วนำก้อนเชื้อไปบ่มไว้ที่ระยะเวลาประมาณ 20-25 วัน เก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ถูกแดด ไม่ถูกฝน ไม่มีแมลง อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ขั้นตอนที่ 4 การเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางฟ้า

หลังจากที่ได้บ่มเชื้อเห็ดนางฟ้าเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นการเปิดดอกและทำการเก็บเกี่ยวผลผลิต เห็ดจะออกดอกเมื่อมีความชื้นสูงพอและอากาศไม่ร้อนมาก เทคนิคที่ทำให้ออกดอกสม่ำเสมอและดอกใหญ่สามารถทำได้ดังนี้ เมื่อเก็บดอกเสร็จต้องทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อโดยเขี่ยเศษเห็ดออกให้หมด งดให้น้ำสัก 3 วัน เพื่อให้เชื้อฟักตัว แล้วก็กลับมาให้น้ำอีกตามปกติเห็ดก็จะเกิดเยอะเหมือนเดิมหรือเมื่อเก็บดอกเห็ดเสร็จก็ทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อเหมือนเดิม แล้วรัดปากถุงไม่ให้อากาศเข้าทิ้งระยะเวลาประมาณ 2 – 3 วัน ให้น้ำปกติหลังจากนั้นก็เปิดปากถุงก็จะเกิดดอกที่สม่ำเสมอ เมื่อเห็ดออกดอกและบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้ว ให้เก็บดอกโดยจับที่โคนดอกทั้งช่อ โยกซ้ายขวา-บนล่าง แล้วดึงออกจากถุงเห็ด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.การเลือกเชื้อเห็ดฟางที่มีคุณภาพ

2.การเลือกวัสดุที่ทำก้อนเชื้อที่มีคุณภาพ

3.การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนให้เหมาะสม

อุปกรณ์ ->

การเก็บดอกเห็ด อย่าให้ปากถุงเห็ดบาน ถ้าโคนเห็ดขาดติดอยู่ให้แคะออกทิ้งให้สะอาดเพื่อป้องกันการเน่าเสีย เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอนจากการวางไข่ของแมลงได้ การดูลักษณะดอกเห็ดที่ควรเก็บ คือดอกไม่แก่ หรืออ่อนจนเกินไป ดูที่ขอบดอกยังงุ้มอยู่คือดอกที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว ถ้าขอบยกขึ้นแสดงว่าแก่แล้ว ดอกเห็ดที่แก่จัด และออกสปอร์เป็นผงขาวด้านหลังดอกเห็ด ต้องรีบเก็บออก เพราะสปอร์จะเป็นตัวชักนำให้แมลงเข้ามาในโรงเรือนเพาะเห็ดได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดนางฟ้าและการแก้ไข

1. เชื้อในถุงไม่เดิน
สาเหตุ ขณะหยอดเชื้อถุงก้อนเชื้อร้อนเกิน หรือลืมหยอดเชื้อ
วิธีแก้ไข ตั้งก้อนเชื้อให้เย็น ขณะหยอดเชื้อต้องระมัดระวังและตรวจให้แน่ใจว่าได้อยอดทุกถุงแล้ว

2. เชื้อเดินเต็มก้อน แต่ไม่ออกดอก
สาเหตุ เชื้อไม่ดี สภาพแวดล้อมในโรงเรือนไม่เหมาะสม มีสิ่งปนเปื้อน เช่น รา แบคทีเรีย
วิธีแก้ไข หาเชื้อใหม่ จัดสภาพในโรงเรือนให้เหมาะสม

3. เกิดดอกเห็ดแต่ก้านยาวหมวกดอกไม่แผ่ออก
สาเหตุ แสงเข้าไม่เพียงพอและมีคาร์บอนไดออกไซค์มากเกินไป
วิธีแก้ไข ปรับแสงให้มากขึ้น จัดให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น

4. เกิดหน่อมากแต่ดอกกลับเติบโตน้อย
สาเหตุ เชื้ออ่อนแอ เชื้อคุณภาพต่ำ อาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ การถ่ายเทอากาศไม่ดี ความชื้นสูงเกินไปและรดน้ำมากเกินไป

การแก้ไข เปลี่ยนเชื้อใหม่ เพิ่มการถ่ายเทอากาศ ลดความชื้นลง เพิ่มช่องแสง ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ใช้เชื้อที่มีอัตราการเดินเส้นใยดี

5. เกิดดอกเพียงรุ่นเดียวรุ่นต่อไปไม่เกิด
สาเหตุ อาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ เชื้อไม่ดี การจัดโรงเรือนไม่ดี
การแก้ไข ปรับสูตรอาหารใหม่ ปรับเรื่องแสง อุณหภูมิ ความชื้น เปลี่ยนเชื้อใหม่

เห็ดเป็นพืชที่มีการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ปัญหาที่พบถ้าได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องและรวดเร็ว ก็จะทำให้เห็ดนางฟ้าเจริญเติบโตได้ดีขึ้นและเป็นเห็ดที่มีคุณภาพ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา