เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำปุ๋ยหมัก

โดย : นางสุุคันธา ปัญญาดี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-20-11:41:13

ที่อยู่ : 45 หมู่ที่ 1 ต.สมัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัญหาดินเสีย มีความแข็งกระด้างทำให้ได้ผลผลิตน้อย ต่อมาได้เข้ารับการอบรมทำปุ๋ยหมักจากหน่วยงานพัฒนาที่ดิน  จึงได้นำความรู้ที่ได้รับมาทำปุ๋ยหมักจากเศษโดยนำเศษใบไม้ใบหญ้าไว้ใช้เอง ได้ผลผลิตดี ปัจจุบันไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี เป็นการลดต้นทุนในการทำนา ข้อควรระวังคือ ต้องไม่ท้อ ในปีแรกอาจไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหร่ ต้องทำทุกปีและทำอย่างต่อเนื่องจึงจะสำเร็จและเห็นผลแต่เดิมเคยทำนาโดยใช้ปุ๋ยเคมี

วัตถุประสงค์ ->

1) เริ่มด้วยการนำเอาเศษพืช และมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน 100 : 10 กองเป็นชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำ และโรยทับด้วยมูลสัตว์
2) ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก นำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้มากองบนดินในคอก หรือในหลุมโดยกองเป็นชั้นสลับกันไปโดย เริ่มจากชั้นล่างสุดกองเศษพืชหรือวัสดุลงไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร
3) รดน้ำให้ชุ่ม แล้วอัดให้แน่น ให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสดุ
4) โรยทับด้วยสารเร่ง เช่น ปุ๋ย มูลสัตว์ หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์ เท่ากับ 5 : 1
5) ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพื่อลดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือต้องการลดระยะเวลาการผลิตต้องใช้เศษพืช : ปุ๋ยคอก :ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน 100 : 20 : 1 ตามลำดับ โดยจะผสมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมัก  ก็ได้
6) ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1 เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่
– สำหรับการหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี อายุการหมักจะหมักนาน 5-7 เดือน แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน 3-5 เดือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความพยายามและความอดทน  เนื่องจากการใช้ปุ๋ยหมักในการทำการเกษตรจะเห็นผลได้  ต้องใช้ระยะเวลานาน  จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา