เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำปุ๋ยหมัก

โดย : นางบานเทียน เสริมวาสนา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-11-13:24:44

ที่อยู่ : 11/3 หมู่ที่ 5 ตำบลเสริมขวา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินกลับคืนมาจึงได้งดการเผาเศษพืช นำเศษพืชมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีแล้วนำไปปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ที่จะส่งผลให้การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีลดลง ซึ่งหมายถึงต้นทุนการผลิตก็จะลดลง มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีผลกำไรมากขึ้นตามไปด้วย ดินเพาะปลูกจะกลับมาเป็นดินดำที่ฟู นุ่ม โครงสร้างเม็ดดินจะร่วนซุยขึ้น มีไส้เดือนกลับคืนมาที่ช่วยการชอนไชของรากพืช พืชก็จะกลับมาแข็งแรง ลดควันพิษจากการเผาและลดการใช้สารเคมี

วัตถุประสงค์ ->

  การผลิตปุ๋ยหมัก

ขั้นตอนที่ 1
การเตรียมเศษวัชพืชหรือใบไม้แห้ง  เชื้อจุลินทรีย์ พด.1 แกลบ ๑๐ กก. กากน้ำตาล ๕ กก. 

ขั้นตอนที่ 2
ให้กองปุ๋ยชั้นที่ 1 โดยนำเศษพืชมาวางในพื้นที่กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ให้สูง 40 ซม.

ขั้นตอนที่ 3
ใส่มูลสัตว์ 50 - 100 กก. แกลบ ๑๐ กก. แป้งมัน ๑ กก.  โดยโรยให้ทั่วบนพื้นที่กองเศษพืชเพื่อช่วยในการย่อยสลาย และเพิ่มธาตุอาหาร

ขั้นตอนที่ 4
รดน้ำที่ผสมเชื้อจุลินทรีย์ พด.1 ก่อนนำมารดบนหลังโรยมูลสัตว์ เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต และช่วยย่อยสลายเศษพืช รวมถึงมูลสัตว์

ขั้นตอนที่ 5
ให้นำเศษพืชมากองทับอีกชั้น และทำตามขั้นตอนข้างต้น จนได้ชั้นประมาณ 4 ชั้น

ขั้นตอนที่ ๖

กลับกองปุ๋ยในระยะเวลา ๒ – ๓ วันแรก

ขั้นตอนที่ ๗
ให้คลุมด้วยแสลนดำในฤดูร้อนเพื่อป้องกันแสงแดด และคลุมด้วยผ้าพลาสติกในฤดูฝนเพื่อป้องกันน้ำฝนไม่ให้ขัง แต่การคลุมผ้าพลาสติกควรเปิดผ้าเป็นระยะในวันที่ฝนไม่ตก

ขั้นตอนที่ ๘
หมั่นตรวจสอบความเรียบร้อยของกองปุ๋ยเป็นระยะขณะทำการหมัก เพื่อป้องกันสัตว์มาอาศัยอยู่ รวมถึงการขังของน้ำ และตรวจสอบสภาพการหมัก ทิ้งไว้ระยะเวลา ๓๐ วัน

ขั้นตอนที่ ๙

เมื่อครบกำหนด ๓๐ วัน  นำปุ๋ยอินทรีย์ มาบรรจุถุงๆละ ๕ กก. เพื่อรอจำหน่ายต่อไป   

               

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความขยัน อดทน เอาใจใส่

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา