เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางเพชรา ถ้ำทอง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-03-22:36:22

ที่อยู่ : สานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกาะคา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน เป็นภารกิจตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลในการลดความเลื่อมลาทางสังคม เพื่อสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ โดยการขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมอาชีพของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย ด้วยกระบวนการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน เพื่อให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพ มีความรู้สามารถนาไปปฏิบัติประกอบเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้ง เป็นกลุ่มอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ให้ประสบผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย โดย   ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจากการคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งพิจารณาจากจากผลงานการทางานและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จสามารถเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ แล้วจะเป็นผู้สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพิ่มอีก ๔ คน และจัดการฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้ที่สนใจอีกอย่างน้อย ๒๐ คนต่อหมู่บ้าน  ของอำเภอเกาะคาได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน 16 หมู่บ้าน  จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1)

วัตถุประสงค์ ->

1. การคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านโดยพิจารณาจากจากผลงานการทางานและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จสามารถเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพได้จาก 10 คน คัดเลือกให้เหลือ ๑ คน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้

2. ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และวิเคราะห์ความต้องการอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน รวมถึงการจัดทำทะเบียนวิทยากรสัมมาชีพชุมชนตามประเภทอาชีพ

3. เตรียมความพร้อมทีมวิทยากร สัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน ๑ คน ต่อครัวเรือนเป้าหมาย ๔ คน ที่ต้องการฝึก

อาชีพ เพื่อทบทวนความต้องการในการฝึกอาชีพได้ตรงตามความต้องการก่อนเริ่มการฝึกอาชีพ

4. สานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดซื้อวัสดุสาธิตอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย งบประมาณครัวเรือนละ 800 บาท จานวน 20 ครัวเรือน รวมหมู่บ้านละ 16,000 บาท

5. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนดาเนินการส่งเสริมสัมมาชีพชุมนในระดับหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย จานวน 5 วัน ตามแนวทางที่จัดเตรียมไว้ หลักสูตรอบรม ประกอบด้วย

 

5.1 ชี แจงวัตถุประสงค์และการดาเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

5.2 แนวทางการขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพชุมชน

5.3 Thailand 4.0

5.4 การดำเนินงานขับเคลื่อนบริษัทประชารัฐสามัคคี(จังหวัด) จำกัด

5.5 วิทยากรสัมมาชีพชุมชนถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพที่ต้องการฝึกอาชีพตามประเด็นต่างๆ เช่น

1) ความเป็นมาของอาชีพ

2) กระบวนการ/ขั้นตอนการประกอบอาชีพและทักษะที่เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพ

จนเกิดรายได้ให้แก่ครัวเรือน อธิบายให้ข้อมูลการประกอบอาชีพอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนตลอดจนสาธิตอาชีพและ  ฝึกปฏิบัติอาชีพ

3) ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

4) วางแผนปฏิบัติการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพให้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนและบันทึกข้อตกลงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

5) วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ๑ คนต่อครัวเรือนเป้าหมาย 4 คน ฝึกปฏิบัติ ณ บ้านตนเอง/ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

5.6 วิทยากรสัมมาชีพชุมชนติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม

6. ทีมวิทยากรชุมมาชีพชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามโครงการ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพเข้าใจเป้าหมาย ของโครงการ ให้ความสำคัญกับงาน มีเป้าหมายเดียวกันในการสร้างสัมมาชีพให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

2. การเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของชุมชน พร้อมด้วยศักยภาพที่ชุมชนมีนามาประยุกต์ใช้ให้เกิดการต่อ

ยอดได้

3. ความต่อเนื่องของการสร้างสัมมาชีพที่ไม่ได้หยุดอยู่ที่การฝึกอาชีพ แต่สำคัญตรงที่ครัวเรือนสัมมาชีพสามารถนาไปสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน

4. ความเอื้อเฟื้อ สามัคคีของชุมชน จะสร้างพลังในการแบ่งปันความรู้ความสามารถที่มีในแต่ละอาชีพได้อย่างถูกต้อง

อุปกรณ์ ->

1. การอบรมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนยังไม่มีความมั่นใจในการเป็นวิทยากรตามแนวทาง    ที่กำหนด พัฒนากรต้องประชุมซักซ้อมสร้างความเข้าใจและมอบหมายหน้าที่ก่อนวันอบรมและในวันอบรมพัฒนากรต้องมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนพร้อมให้กาลังใจอย่างใกล้ชิด

2. อาชีพที่ต้องการฝึกอบรมและสานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดซื้อวัสดุมอบให้ครัวเรือน วิทยากรสัมมาชีพชุมชนไม่มีความรู้ความเข้าใจ

วิธีแก้ปัญหาคือทีมวิทยากรสัมมาชีพ ชุมชนต้องเรียนรู้จากวิทยากรภายนอกโดยอาศัยจากประสบการณ์

ที่มีอยู่มาประยุกต์การส่งเสริมอาชีพให้ครัวเรือน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพควรมีทักษะในการสื่อสารให้ผู้อื่นได้อย่างชัดเจน

2. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมของครัวเรือน ควรเป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดและทาได้อย่างต่อเนื่องภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ของชุมชน

3. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมครัวเรือน ควรจะเป็นอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านมีความเชี่ยวชาญหรือมีความถนัด ซึ่งจะทาให้การดาเนินงานประสบผลสำเร็จมากกว่าอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพไม่มีความรู้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา