เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเพาะเห็ดฟางโดยไม่ใช้ฟาง

โดย : นาย สุนทร อินทะ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-03-21:56:17

ที่อยู่ : 45 หมู่ที่ 4 ตำบล ศาลา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          การเพาะเห็ดฟางเป็นอาชีพเสริมที่สามารถทำที่บ้านได้ โดยไม่กระทบกับงานประจำที่ทำ ใช้ต้นทุนน้อย       วัสดุที่ใช้สามารถหาได้โดยไม่ต้องลงทุนซื้อและไม่ต้องการการดูแลมากนัก เนื่องจากเห็ดฟางสามารถนำไปปรุงอาหารได้อย่างหลากหลายประกอบกับตลาดยังมีความต้องการที่ไม่จำกัด  ดังนั้นการเพาะเห็ดฟางจึงเป็นอีกอาชีพหนึ่ง     ที่สามารถเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

1.หมักวัสดุเพาะเห็ดโดยนำขุยมะพร้าวมาผสมกับอาหารเสริม(ผักตบชวา,ต้นกล้วยสับ,ขี้เลื่อย)และปุ๋ยคอกแล้วนำมากองรวมกันเป็นวงกลม โดยฉีดน้ำ 2 วัน ต่อหนึ่งครั้ง คลุมด้วยผ้าพลาสติก รอประมาณ 3- 7  วัน เพื่อให้วัสดุชุ่มน้ำ

2.นำวัสดุเพาะเห็ดที่หมักไว้มาวางเรียงกัน ความกว้างประมาณตามที่จะสามารถเก็บผลผลิตได้สะดวก            ความยาวประมาณแถวละ 5 เมตร ความสูงประมาณ 30  เซนติเมตร

3.โรยแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งข้าวจ้าว และเชื้อเห็ดฟางลงบนกองวัสดุที่จัดเตรียมไว้โดยใช้เชื้อเห็ด 1 ก้อน

ต่อความยาว 1 เมตร

4.ใช้แผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพาะเห็ดเพื่อควบคุมอุณหภูมิ หลังจากเพาะเห็ดแล้วประมาณ 4-5 วัน ให้เปิดชาย

แผ่นพลาสติกเพื่อระบายความร้อนออกจากกองเห็ดเสียบ้าง

5.หมั่นคอยดูแลให้ความชื้นแก่กองเห็ดอย่างสม่ำเสมอ

6.การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเริ่มเก็บได้หลังจากการเพาะเห้ดแล้ว 7 วัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ความขยันหมั่นเพียร

2.ความตั้งใจในการทำงาน

อุปกรณ์ ->

1.ขณะที่เก็บดอกเห็ดควรระมัดระวังไม่ให้ไปกระทบกระเทือนกับดอกเห็ดที่ยังไม่ได้ขนาด  เพราะหากเกิดการกระทบกระเทือนดอกเห็ดนั้นอาจเกิดการฝ่อหรือเน่าเสียได้

2.การให้น้ำพยายามพ่นให้น้ำเป็นฝอยลงบนกองเห็ดพอชุ่มชื้นเท่านั้นอย่างให้น้ำมากเกินไป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเก็บเห็ดไปจำหน่ายควรเลือกเก็บเฉพาะดอกเห็ดที่ตูมเท่านั้นจะทำให้เห็ดมีคุณภาพและได้ราคาดี

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา