เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอผ้าพื้นเมืองแบบกะเหรี่ยง

โดย : น.ส.พัน ยาง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-03-13:49:58

ที่อยู่ : ม.3 ต.หัวเมือง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวปกากะญอ หรือกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาอายุ 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าสืบมาว่า ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอ และปัก มี 4 ราย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลอ ฉุ่ยข่อลอ อีกลายหนึ่ง คือ ลายทีข่า ปัจจุบัน ยังมีลายที่นิยมทอ คือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอ หรือ ลายดอกมะเขือ 

วัตถุประสงค์ ->

การย้อมผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ใช้เปลือกไม้ เรียกว่า ซาโก่แระ จะได้เป็นสีแดงแกมน้ำตาล ใบฮ่อม เซอ หย่า เหล่า ให้สีน้ำเงินแกมกรมท่า ผลสมอ ให้สีน้ำตาล และผลมะขามป้อมให้สีเทา เป็นต้น ชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ลวดลาย สีสันของผ้าทอจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว จึงมีความสวยงาม และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์โดดเด่นของชาวกะเหรี่ยง มีการนำเมล็ดเดือย ซึ่งเป็นวัชพืชป่า ปักบนผืนผ้า สร้างเป็นลวดลายลักษณะเฉพาะ เป็นที่สะดุดตาแก่บุคคลภายนอก ซึ่งสนใจซื้อหาไปสวมใส่ และเป็นของฝาก ทำให้สตรีชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อการจำหน่าย 

1.       การเตรียมเครื่องทอผ้า ก่อนที่จะทอผ้าจะต้องมีการเตรียมเครื่องทอผ้าตั้งแต่การปั่นด้าย การกรอด้าย การตั้งเครื่องทอผ้า การขึ้นด้าย มีขั้นตอนการทำดังนี้
1.1.1           การปั่นด้าย อุปกรณ์ในการปั่นด้ายผ้าทอกะเหรี่ยงราชบุรี ประกอบด้วย หลอดกรอด้าย และ
เครื่องมือกรอด้าย หลอดกรอด้าย เดิมชาวกะเหรี่ยงใช้วิธีม้วนด้ายด้วยมือให้เป็นก้อน ปัจจุบันใช้ท่อพลาสติกแทน มีความยาวขนาด 10 เซนติเมตร
1.1.2           การกรอด้ายขวาง ด้ายขวางเป็นด้ายที่สอดเข้าไประหว่างด้ายยืน ทำให้เกิดลวดลายต่างๆเรียกว่า
ลุงทุ้ย ใช้ด้ายพันกับไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
1.1.3           ตั้งไม้เครื่องทอกี่เอว หลังจากปั่นด้ายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำด้ายมาขึ้นด้าย
1.4 การขึ้นด้าย หรือการขึ้นเครื่องทอกี่เอว เป็นการนำเอาเส้นด้ายมาเรียงต่อกันอย่างมีระเบียบตาม
แนวนอน โดยพันรอบกับส่วนประกอบของเครื่องทอ และก่อนที่จะมีการขึ้นด้ายจะต้องมีการเตรียมเส้นด้ายด้วยการปั่นด้าย การตั้งเครื่องทอ การเรียงเส้นด้าย การเปลี่ยนไม้เป็นเครื่องทอ
2. การทอผ้า มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เริ่มต้นคล้องด้ายลงที่หลักที่ 1 สาวเส้นด้ายผ่านหลักที่ 2,3,4,5,6,7 นำไปคล้องที่หลักที่ 8 และสาวมาคล้องที่หลักที่ 1
2. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกัน นำมาพันรอบหลักที่ 2
3. ดึงด้ายให้ตึงเสมอกันพาดผ่านด้านหน้าของไม้หลักที่ 3 ถึงไม้หลักที่ 4 เป็นจุดแยกด้าย โดยใช้ด้ายสีขาว
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเส้นด้ายตะกอสอดเข้าไประหว่างเส้นด้ายเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนที่ไม่ได้คล้องกับตะกอแยกเส้นด้ายผ่านหลังหลักที่ 4 และส่วนที่คล้องตะกอ ดึงเส้นด้ายผ่านด้านหน้าหลักที่ 4
4. รวบด้ายทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันให้ตึง พาดผ่านหลักที่ 5,6 พันอ้อมหลักที่ 7
5. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงพร้อมอ้อมหลักที่ 8 และสาวให้ตึง ดึงกลับมาเริ่มต้นที่หลักที่ 1 ใหม่
6. สอดไม้ทั้งหมดออกจากเครื่องทอ และนำไม้ไบ่ 1 อัน สอดเข้าไปแทนไม้ใส่ตะกอที่ 1 นำไม้ไบ่ 2 อันเข้า
สอดเปลี่ยนไม้ใส่ตะกอที่ 2 และไม้ใส่ตะกอที่ 3 ซึ่งต้องใช้ช่วยแยกด้ายเวลาทอแกะดอก ส่วนไม้ไบ่ที่ 2 ใส่กระบอกไม้ไผ่แทน 1 อัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ฝ้าย  เป็นพืชที่ชาวบ้านปลูกไปพร้อม ๆ กับการปลูกข้าว ใช้เวลาประมาณ   6 - 7 เดือน จึงเริ่มเก็บดอกฝ้ายมาผึ่งให้แห้ง นำมาผ่านกระบวนการต่างๆ ก่อนที่จะย้อมสี แล้วนำไปทอเป็นผ้าผืน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา