เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เกษตรผสมผสาน (การปลูกผักกางมุ้งแบบติดดิน)

โดย : นายประหยัด สิงห์ชัย ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-01-14:15:40

ที่อยู่ : 20 ม.6 ต.ใหม่พัฒนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายประหยัด  สิงห์ชัย   ทำเกษตรผสมผสานในพื้นที่ประมาณ ๑5 ไร่ แบ่งพื้นที่ ปลูกข้าว  ปลูกผักสวนครัว พริก มะเขือ แตงไทย แตงกวา ผักกาดดอก ถั่วฝักยาว ชะอม ผักเสี้ยว  ปลูกไผ่หวาน  มะนาวในวงบ่อ  มีบ่อเลี้ยงปลา จำนวน ๖ บ่อ  และเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่   ในรอบหนึ่งปีเริ่มต้นด้วยการทำนาในพื้นที่ ประมาณ ๑๐ ไร่ ปลูกข้าวในช่วงเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม หลังจากทำการปลูกข้าวเสร็จ จากนั้นจะเตรียมเมล็ดพันธุ์ผัก เตรียมแปลงเพาะกล้า      ปลูกผักสวนครัว เช่น  พริก มะเขือ แตงไทย  แตงกวา  ข้าวโพด  ผักกาดดอก  ถั่วฝักยาว  และบริเวณบ้านที่อยู่อาศัยจะปลูกพืชผักสวนครัว ถั่วฝักยาว และขุดบ่อเลี้ยงปลา ไว้รับประทานในครัวเรือน

          ในอดีต เมื่อย้อนไปประมาณ ปี พ.ศ. 2548 จะปลูกส้มเขียวหวาน และปลูกลำไย ซึ่งในช่วงแรกสร้างรายได้เป็นอย่างดี   ต่อมาส้มเริ่มมีการลงทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น ต้นทุนปุ๋ย ยาฆ่าแมลง สารเคมีต่างๆ ที่นำมาใช้ในการทำสวนส้ม  สวนลำไย  ล้วนเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย  แต่ผลกำไรที่ได้น้อยมาก   ประกอบกับส่งผลเสียต่อสุขภาพเนื่องจากใช้สารเคมีในการเพาะปลูกจำนวนมาก  และเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูง ทำให้ต้องเลิกทำสวนส้ม

          จึงเปลี่ยนความคิดมาปลูกผัก  ซึ่งผักสามารถปลูกได้ทั้งปี   โดยปลูกหมุนเวียนชนิด  เลือกปลูกผักให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ   ประกอบกับมีพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก  คือ  มีแม่น้ำยาวไหลผ่าน  และมีน้ำตลอดทั้งปี  มีสภาพดินเหมาะแก่การเพาะปลูก   จึงหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสานโดยจัดสรรแบ่งเป็นแปลง  และวางระบบน้ำให้ทั่วถึง  ในปัจจุบันได้ปลูกผักปลอดสารพิษแบบกางมุ้งติดดิน  ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ 

วัตถุประสงค์ ->

                        การปลูกผักปลอดสารพิษ (แบบกางมุ้งติดดิน)  เป็นการปลูกผักในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของผัก โดยประยุกต์ปรับจากการสร้างโรงเรือน ซึ่งมีต้นทุนสูง มาใช้แบบกางมุ้งติดดิน ใช้วัสดุที่มีอยู่ในหมู่บ้าน เพื่อประหยัดต้นทุน ซึ่งสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และสามารถผลิตผักได้ปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ ป้องกันการรบกวนของแมลงศัตรูพืช และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้ไม่แตกต่างจากการสร้างโรงเรือน และที่สำคัญประหยัดงบประมาณได้มากกว่า

                    การปลูกผักแบบกางมุ้งติดดิน การเลือกใช้มุ้งตาข่ายต้องคำนึงถึงชนิดของผัก เช่น ใช้มุ้งตาข่ายไนล่อนที่มีขนาด  ๑๖ ช่องต่อความยาว ๑ นิ้ว ในการป้องกันหนอนผีเสื้อและด้วงหมัดผัก ใช้มุ้งไนล่อนที่มีความถี่เพิ่มขึ้นเป็น  ๒๔  และ ๓๒ ช่องต่อนิ้ว  ในการป้องกันเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนแมลงวันชอบใบ  แมลงหวี่ขาวและไร  ซึ่งต้องมีการทับชายมุ้งให้แน่นเพื่อเป็นการป้องกันแมลงขนาดเล็ก  โดยมุ้งสีขาวมีความเหมาะสมกับการปลูกผักเนื่องจากแสงผ่านได้เกือบปกติ  ส่วนมุ้งสีฟ้าไม่ค่อยเหมาะสมเนื่องตากแสงผ่านได้เพียงร้อยละ ๗๐ เท่านั้น สิ่งสำคัญในการปลูกผักกางมุ้ง  คือ อย่าให้มีหนอนผีเสื้อหรือหนอนต่าง ๆ หลุดเข้าไปได้  เพราะหนอนจะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ในการย้ายกล้าต้องตรวจดูอย่าให้มีไข่ตัวหนอนหรือดักแด้ติดเข้าไปในมุ้ง  และต้องดูแลมุ้งตาข่ายไม่ให้ชำรุดฉีกขาดและต้องปิดมิดชิดตลอดเวลา ผักที่เหมาะกับการปลูกในมุ้ง ควรเป็นผักที่เสี่ยงต่อการเข้าทำลายของแมลง เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ ผักกาด เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                   มีใจรัก  ขยัน  หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและเทคนิคความรู้ใหม่ๆ  มาพัฒนาและอาศัยประสบการณ์

อุปกรณ์ ->

 สิ่งสำคัญในการปลูกผักกางมุ้ง  คือ อย่าให้มีหนอนผีเสื้อหรือหนอนต่าง ๆ หลุดเข้าไปได้  เพราะหนอนจะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ในการย้ายกล้าต้องตรวจดูอย่าให้มีไข่ตัวหนอนหรือดักแด้ติดเข้าไปในมุ้ง  และต้องดูแลมุ้งตาข่ายไม่ให้ชำรุดฉีกขาดและต้องปิดมิดชิดตลอดเวลา                    

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา