เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงกบ

โดย : นายบัวลอง พิมพ์ผา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-13-09:59:07

ที่อยู่ : 38….......หมู่ที่………9….. ตำบล/แขวง………ทุ่งทอง..……..

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงกบเป็นอาชีพที่สามารถสรา้งรายได้ให้กับคนเลี้ยงได้ การดูแลรักษาง่าย และเ

วัตถุประสงค์ ->

การเลี้ยงกบ

การเลือกสถานที่เลี้ยงกบ

การเลือกบ่อหรือคอกเลี้ยงกบควรจะอยู่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัย เพื่อสะดวกในการป้องกันศัตรู เช่น  งู นก หนู หมา แมว และ คน ถ้าบ่อเลี้ยงกบหรือคอกเลี้ยงกบอยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยมาก ก็จะถูกศัตรูและคนขโมยจับกบไปขายหมด นกก็มีทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนแมวอันตรายมากเพราะนอกจากจะจับกบกินแล้ว บางครั้งก็ชอบจับกบตัวอื่น ๆ มาหยอกเล่นจนทำให้กบตาย สรุปการเลือกสถานที่เลี้ยงกบควรมีดังนี้

1. ใกล้บ้าน ง่ายและสะดวกในการดูแลรักษาและป้องกันศัตรู
2. เป็นที่สูง ป้องกันน้ำท่วม
3. พื้นที่ราบเสมอ เพื่อสะดวกในการสร้างคอกและแอ่งน้ำ
4. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
5. ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน เนื่องจากกบต้องการพักผ่อนจะได้โตเร็ว

พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง

พันธุ์กบที่นิยมนำมาเลี้ยงมี 2 พันธุ์คือ กบอเมริกันบูลฟร็อก และกบนา สำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้เลี้ยงพันธุ์กบนาจะเหมาะกว่า กบนาใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน กบก็โตได้ถึงขนาด 4-5 กิโลกรัมต่อตัว เป็นกบที่โตเร็ว และเป็นที่นิยมบริโภคมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะกบนาตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย และกบตัวผู้จะมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้าง ใช้สำหรับส่งเสียงร้องโดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ ส่วนกบตัวเมียส่งเสียงร้องได้เหมือนกันแต่เบากว่า ในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องและกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียที่มีไข่แก่จะสังเกตเห็นท้องบวมและใหญ่กว่าปกติ

การเพาะพันธุ์กบ

การเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบสามารถทำได้ 2 วิธี คือ หาตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือซื้อจากแหล่งเพาะเลี้ยงกบ และเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบขึ้นมาเอง สำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้หาตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ เนื่องจากหาง่าย มีความทนทานโรค และลงทุนน้อยกว่า

การคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ

เมื่อเลือกแล้วว่าจะหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบจากแหล่งใด ก็ต้องมาคัดเลือกว่ากบที่จะมาเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ต้องมีลักษณ์อย่างไรบ้าง

1. แม่พันธุ์ตัวที่มีไข่ส่วนท้องจะขยายใหญ่ และจะมีปุ่มสากข้างลำตัวทั้ง 2 ข้าง เมื่อใช้นิ้วสัมผัสจะรู้สึกได้ และแม่พันธุ์ตัวที่พร้อมมากจะมีปุ่มสากมากแต่เมื่อไข่หมอท้องปุ่มสากนี้ก็จะหายไป
2. การคัดเลือกพ่อพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องเสียงดังและกล่องเสียงที่ใต้คางก็จะพองโปน ลำตัวจะมีสีเหลืองเข้มแล่เมื่อเราใช้นิ้วสอดที่ใต้ท้อง มันจะใช้ขาหน้ากอดรัดนิ้วเราไว้แน่น

การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์กบ

เมื่อได้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบแล้วต้องมีการเตรียมสถานที่สำหรับผสมพันธุ์

1. ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธุ์ด้วยด่างทับทิมเข้มข้น 10 ppm แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นล้างทำความสะอาดด่างทับทิมออกให้หมด
2. เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5-7 ซม. และไม่ควรให้ระดับน้ำสูงเกินไปกว่านี้เพราะไม่สะดวกในการที่กบตัวผู้จะโอบรัดตัวเมีย เพราะว่าขณะที่กบตัวเมียเบ่งไข่ออกมาจากท้อง จะต้องใช้ขาหลังยันที่พื้น ถ้าน้ำลึกมากขาหลังจะยันพื้นไม่ถึงและจะลอยน้ำทำให้ไม่มีพลัง เป็นเหตุให้ไข่ออกมาไม่มาก
3. เตรียมฝนเทียม โดยทั่วไปกบจะจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน แต่เราจะเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำท่อ PVC ขนาดครึ่งนิ้ว มาเจาะรูเล็กๆ ตามท่อต่อน้ำเข้าไปและให้น้ำไหลออกได้คล้ายฝนตก แล้วนำท่อท่อนนี้ไปพาดไว้บนปากบ่อหรือหลังคาคลุมบ่อ และเปิดใช้เวลาที่จะทำการผสมพันธุ์กบ

การผสมพันธุ์กบ

1.      ปล่อยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ลงไปในบ่อที่เตรียมไว้ โดยให้มีตัวผู้ต่อตัวเมียจำนวน 1:1 ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. และต้องปล่อยให้กบผสมกันในตอนเย็น
2. เมื่อปล่อยกบลงไปแล้วจึงเปิดฝนเทียมเพื่อเป็นการกระตุ้นให้กบจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลา ประมาณ 17.00 น. – 22.00 น. ซึ่งภายในบ่อเพาะต้องมีท่อให้น้ำล้นออกด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินไป
3. กบจะจับคู่ผสมพันธุ์และจะปล่อยไข่ตอนเช้ามืด

การลำเลียงไข่กบจากบ่อผสมไปบ่ออนุบาล

 

1. หลังจากกบปล่อยไข่แล้วในตอนเช้า ต้องจับกบขึ้นไปใส่ไว้ในบ่อดิน จากนั้นจะค่อย ๆ ลดน้ำในบ่อลงและใช้สวิงผ้านิ่ม ๆ รองรับไข่ที่ไหลตามน้ำออกมา ในขณะที่น้ำลดนั้นต้องคอยใช้สายยางฉีดน้ำเบา ๆ ไล่ไข่ ขั้นตอนนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตก และจะต้องทำในตอนเช้าในขณะที่ไข่กบยังมีวุ้นเหนียวหุ้มอยู่

2. นำไข่ที่รวบรวมได้ไปใส่บ่ออนุบาลโดยใช้ถ้วยตวงตักไข่ โรยให้ทั่วๆ บ่อแต่ต้องระวังไม่ให้ไข่กบซ้อนทับกันมาก เพราะจะทำให้ไข่เสียและไม่ฟักเป็นตัว เนื่องจากขาดออกซิเจน

3. ระดับน้ำที่ใช้ในการฟักไข่ประมาณ 7-10 ซม. ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 24 ชม.

 

การอนุบาลและการให้อาหารลูกกบ

 

เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวแล้วช่วงระยะ 2 วันยังไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกกบยังไม่ใช้ไข่แดง (yolk sac) ที่ติดมาเลี้ยงตัวเองอยู่ หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เช่น ไรแดง ไข่ตุ๋น อาหารเม็ด ตามลำดับดังนี้

– อายุ 3 – 7 วัน ให้อาหาร 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน

– อายุ 7 – 21 วัน ให้อาหาร 10-15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน

– อายุ 21 – 30 วัน ให้อาหาร 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 4 มื้อต่อวัน

– อายุ 1 – 4 เดือน ให้อาหาร 4-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 2 มื้อต่อวัน

โรคและการป้องกันโรค

โรคที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดการเลี้ยงและการจัดการไม่ดี ทำให้มีการหมักหมมของเสียต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ่อ โดยเฉพาะการใช้บ่อซีเมนต์ หรือมีจำนวนกบหนาแน่นเกินไป และอาจจะขาดความเอาใจใส่และไม่เข้าใจในเรื่องความสะอาดของบ่อรวมถึงน้ำที่เลี้ยง โอกาสที่กบจะเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีมากขึ้น

สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันโรคคือ บ่อเลี้ยงต้องสะอาด มีแสงแดดส่งถึงพื้น น้ำต้องสามารถถ่ายเทได้สะดวกโดยทำท่อน้ำเข้าทางหนึ่ง และทำท่อน้ำระบายออกอีกทางหนึ่ง

และยังสามารถเลี้ยงปลาดุกเพื่อให้ช่วยเก็บกินเศษอาหารและมูลกบ ในอัตราส่วนกบ:ปลาดุก 100:20 นั่นคือปล่อยกบ 100 ตัว แล้วปล่อยปลาดุกไม่เกิน 20 ตัว  การปล่อยกบเลี้ยงในบ่อต้องไม่มีจำนวนมากเกินไป และถ้าพบว่ากบตัวใดมีอาการผิดปกติให้แยกออกมาจากบ่อทันที

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ค่อยๆเก็บประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ซึ่งจะช่วยทำให้เรามีประสิทธิภาพในการเลี้ยงกบและมืออาชีพมากขึ้น และต้องทำให้ถูกกับช่วงระยะเวลาที่ตลาดต้องการ

อุปกรณ์ ->

ช่วงต้นฤดูฝนใหม่ๆ กบจะเป็นโรคต่างๆได้ง่าย เช่น โรคตาขาว โรคกระแตเวียน โรคปากแดง โรคเป็นแผลพุพอง จึงต้องระวังในการเลี้ยงเป็นพิเศษ และให้ยาตามความเหมาะสม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา