เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอผ้าไหม

โดย : นางทองใบ เดชะ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-13-09:55:31

ที่อยู่ : 21….......หมู่ที่………7….. ตำบล/แขวง………ดงครั่งน้อย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้าไหมเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ควรแก่การอนุรักษ์

วัตถุประสงค์ ->

1.การปลูกต้นหม่อน
การปลูกต้นหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมเป็นอาชีพหนึ่ง ที่เกษตรกรไหมได้ทำกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว การจัดสรรสวนหม่อน เกษตรกรจะต้องมีการจัดการดูแลให้ใบหม่อนมีปริมาณเพียงพอต่อการเลี้ยงไหมในแต่ละรุ่นและเหมาะสมกับไหมในแต่ละวัยเพื่อให้ไหมที่เลี้ยงมีความแข็งแรงเนื่องจากได้ธาตุอาหารที่เหมาะสมการปลูกหม่อน ควรเลือก ที่ดินที่มีความชุ่มชื้นพอแต่น้ำไม่ท่วม หรือไม่ขัง จากนั้นก็เตรียมดินโดยการไถพรวนให้เรียบร้อย
หม่อนที่ใช้ปลูกมีหลายพันธุ์ เช่น หม่อนน้อย หม่อนทองเกิ้น หม่อนหยวก หม่อนใบมน หม่อนใบโพธิ์ หม่อนส้ม หม่อนใหญ่หม่อนจาก หม่อนสา หม่อนใย หม่อนมี หม่อนโมเรทตี หม่อนโมเรเทียน และหม่อนมุลติดาบุลเล ฯลฯ เป็นต้นแต่พันธุ์ที่ใช้ปลูกกันนั้นนิยมเลือกพันธุ์ปลูกัน 2 ชนิดคือ หม่อนน้อยและหม่อนตาคำ เพราะเป็นพันธุ์ที่ให้ใบใหญ่มีใบดก

2. ต้นหม่อน (Mulberry Tree หรือ White Mulberry) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Morus alba L. อยู่ในวงค์ Moraceae
ต้นหม่อนมีความความสำคัญในการเลี้ยงไหมมากเพราะใบหม่อนเป็นอาหารอย่างเดียวของตัวหนอนไหม ขั้นแรกจึงต้องมีการปลูกและดูแลต้นหม่อนให้เกิดใบต้นหม่อน เป็นพืชที่ขึ้นง่ายและเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องอาศัยน้ำมากนัก ถ้าเริ่มปลูกตอนต้นฤดูฝนต้นหม่อนก็จะสามารถมีชีวิตอยู่ตลอดไป

3. ตัวไหม 
เริ่มเลี้ยงกันตั้งแต่ยังเป็นไข่เล็กๆ เท่าปลายเข็ม จนเติบโตเป็นตัวหนอน ไหมวัยอ่อน และวัยแก่ ตัวไหมเป็นตัวอ่อนของแมลงจำพวกผีเสื้อชนิดหนึ่งที่เมื่อถึงวัยจะผลิตใยไหมออกมาห่อหุ้มตัวเป็นรังไหมพันธุ์พื้นบ้านที่ชาวบ้านเลี้ยงกันอยู่เป็นเพันธุ์ไหมที่ฟักได้ตลอดปีเมื่อตัวหนอนเติบโตจะมีลักษระสีขาวนวลและเมื่อแก่ขึ้นจะมีสีเหลืองเพื่อทำรัง รังไหมจะเป็นสีเหลือง

4. การเพาะเลี้ยงตัวไหม
ไหมเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์แบบวงจรของชีวิตตัวไหมจะเริ่มต้นจากไข่ ฟักเป็นตัวหนอนไหมในระยะเป็นตัวหนอนไหมจะลอกคราบ 4 ครั้ง พอหนอนไหมแก่เข้าก็จะชักใยทำรังหุ้มตัวเองแล้วตัวไหมจะลอกคราบเป็นดักแด้อยู่ในรังพอครบอายุดักแด้ก็จะกลายเป็นผีเสื้อเจาะรังออกมาผสมพันธุ์กัน พร้อมทั้งวางไข่ฟักเป็นตัวหนอนต่อไป วนเวียนกันอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

5. วงจรชีวิตของหนอนไหม

หนอนไหมมีระยะเวลาวงจรชีวิต 5 ระยะ โดยระยะที่ 1- ระยะที่ 4 ตัวไหมจะนอน และกินใบหม่อนสลับกัน ส่วนระยะที่ 5 ตัวไหมจะกินและชักใยทำรัง

 

6. เครื่องมือที่ใช้ในการเลี้ยงไหม จากการออกสำรวจจะพบว่าชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเลี้ยงไหมเองโดยมีอุปกรณ์ ที่ใช้ ดังนี้

1. กระด้ง ใช้สำหรับใส่ตัวหนอนไหม

2. จ่อ ใช้สำหรับใส่หนอนไหมวัยแก่เพื่อเตรียมชักใย

3. ชั้นสำหรับวางกระด้ง เพื่อเตรียมไว้วางกระด้งพักตัวไหม

4. ผ้าคลุมกระด้ง ใช้คลุมตัวหนอนไหมเพื่อไม่ให้แมลงมาไข่

5. มีด ใช้สำหรับหั่นใบหม่อนให้หนอนไหมวัยอ่อน

6. ตะกร้าสำหรับเก็บใบหม่อน ใช้เก็บใบหม่อนมาให้หนอนไหมกิน

7. กระบะสำหรับฟักใบหม่อน ใช้สำหรับเก็บใบหม่อนไว้ให้ได้มากๆ เพื่อทยอยให้หนอนไหมกินโดยไม่ต้องเก็บบ่อยๆ

8. ที่ปัดแมลงวัน เพื่อใช้ไล่แมลงขณะที่ให้อาหารหนอนไหม

 

เครื่องมือสำหรับการเตรียมไหมก่อนทอ

ก่อนการทอผ้าไหมต้องเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ของในการเตรียมไหมให้พร้อมก่อนทอ ดังนี้

 

1. กง ใช้สำหรับใส่ไจไหม

2. อัก ใช้สำหรับกวักไหมออกจากกง

3. หลา เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับ

3.1 ใช้สำหรับปั่นหลอด (ไหม) จากอักมาสู่โบกเพื่อทำเป็นทางต่ำ (เส้นพุ่ง)

3.2 เข็นหรือปั่นไหม 2 เส้นรวมกัน เรียกว่า เข็นรังกัน เข็นควบกันหรือเข็นคุบกัน ถ้าเป็นไหมคนละสี เข็นรวมกันแล้ว เรียกว่า มับไม

3.3 ใช้แกว่งไหม ขั้นตอนนี้เป็นการเก็บปุ่มที่เรียกว่า ขี้ไหมออกจากเส้นไหม และยังทำให้เส้นไหมบิดตัวแน่นขึ้น ใช้ทำเป็นทางเครือ (เส้นยืน)

4. โบก ทำจากไม้ไผ่โดยมีขนาดที่สามารถเข้ากับแกนตรงกลางของวงหลา

โบก ในภาพคือไม้ไผ่ขนาดเล็กมีเส้นไหมสีแดงพันโดยรอบ และติดอยู่กับแกนกลางของหลา

ก่อนจะทอผ้าไหมมีขั้นตอนการเตรียมไหมสำหรับทอ โดยมีวิธีการดังนี้

1. หลังจากได้ไหมที่ฟอกและย้อมสีแล้วนำไหมที่ได้มากวักไหมจากกงมาใส่อัก

3. นำไหมจากโบกมาใส่หลอดโดยใช้หลาเป็นเครื่องมือในการปั่นไหม

4. หลังจากได้หลอดด้าย(ไหม)โดยไหมที่เข็นได้นั้นใส่หลอดให้มีขนาดพอประมาณเพื่อนำมาใส่กระสวย

5. หลังจากได้หลอดไหมแล้วหลังจากนั้นนำมาใส่กระสวย

เครื่องมือในการทอผ้าไหม
เครื่องมือที่สำคัญใช้ในการทอผ้า เรียกว่า กี่ทอผ้าหรือหูก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าที่พบโดยทั่วไป มี 2 ชนิด คือ กี่ตั้งและกี่กระตุก ซึ่งประกอบด้วย กระสวย หลอดด้าย ไม้เหยียบหูก ไม้หาบหูก ไนสำหรับปั่นหลอด กงสำหรับใส่ไจด้าย ฟืม ผังสำหรับดึงผ้า ส่วนหลักในการทอผ้าไหม คือใช้หลักของการขัดกันของเส้นไหม ที่เรียกว่า เส้นยืนและเส้นพุ่ง


1. กี่ทอผ้าไหม เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งอีกอันหนึ่ง ลักษณะของกี่ จะมีโครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยเสาหลัก 4 เสา มีไม้ยึดติดกัน เป็นแบบดั้งเดิมที่ใช้มาในอดีตและปัจจุบันยังนิยมใช้อยู่ เพราะกี่ชนิดนี้ใช้ทอผ้าที่มีลวดลายต่างๆ ได้ดีกว่าชนิดอื่นๆ กี่กระตุกเป็นกี่แบบใหม่ที่ได้วิวัฒนาการให้มีคุณภาพในการทอรวดเร็วยิ่งขึ้น


 2. กระสวย ทำจากไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ 1 ฟุต หัวหน้าท้ายเรียวงอน ตรงกลางเป็นรางสำหรับใส่หลอดด้ายทางต่ำ (เส้นพุ่ง)เป็นเครื่องมือที่บรรจุหลอดไหมเส้นพุ่ง เพื่อนำเส้นไหมไปขัดกับเส้นไหมยืน เดิมมักจะทำด้วยไม้แต่ปัจจุบันมีทั้งทำด้วยไม้และพลาสติก

 3. หลอดด้าย(ไหม) นิยมทำจากเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า เครือไส้ตัน เครือไส้ตันนี้จะมีรูกลวงตลอด ตัดเป็นท่อนๆ ท่อนละประมาณ 3 นิ้ว อาจจะใช้ไม้อย่างอื่นก็ได้ที่มีรูตรงกลาง เช่น ลำปอแก้ว เพื่อใช้ไม้สอดยึดติดกับกระสวย ไม้นี้เรียกว่าไม้ขอหลอด

 4. ไม้เหยียบหูก เป็นไม้กลมๆ ยาวประมาณ 1.50 – 2.00 เมตร สำหรับสอดกับเชือกที่ผูกโยง จากด้านล่างของเขาลงมาทำเป็นห่วงไว้เมื่อจะให้เขาขึ้น – ลง ในกรณีเปลี่ยนสีของเส้นไหมก็เหยียบไม้นี้ ไม้เหยียบหูก จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนของฟืมนั้นๆ

 5. ไม้หาบหูก เป็นไม้ที่สอดร้อยกับเชือกที่ผูกเขาด้านบน เพื่อให้หูกยึดติดกับกี่ไม้หาบหูกจะมีอันเดียวไม่ว่าจะใช้ฟืมที่มี 2 เขา, 3 เขา หรือ 4 เขา

 6. ฟืม เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้า มีตัวฟืมที่ทำจากไม้ เนื้อแข็ง เป็นกรอบสี่เหลี่ยม มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงกันเป็นตับอยู่กลางและระยะห่างของฟันเป็นที่ใช้สำหรับสอดเส้นไหมผ่าน ความกว้างของฟืม ประมาณ 5 – 6 เซนติเมตร ส่วนความยาวของฟืมคือความกว้างของผืนผ้า ในการใช้ฟืมเนื่องจากการทอครั้งต่อไปจะต้องเหลือเส้นไหมที่ทอครั้งก่อนไว้เพื่อนำมาผูกกับเส้นไหมที่ต้องการทอครั้งต่อไปโดยไม่ให้เส้นไหมจากการทอครั้งก่อนหลุดออกจากฟืม ไม่เช่นนั้นจะต้องนำเส้นไหมมาสอดผ่านฟันของใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลานานมาก

การทอผ้าไหม
วิธีการในการทอผ้าไหม คือการนำเส้นไหมมาผ่านกรรมวิธีที่จะให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยมีเครื่องมือคือกี่ ส่วนการทำให้เกิดลวดลายบนผืนผ้านั้นเป็นเทคนิควิธีที่จะทำให้มีความสวยงามซึ่งเทคนิคเหล่านี้ก็จะยาก-ง่าย ตามแต่ลวดลายที่ต้องการ

 การทอผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก
ไหมที่ใช้จะต้องเส้นเล็กสม่ำเสมอ การมัดหมี่ต้องกะลายให้สม่ำเสมอ ลักษณะ ของวงโคมเก้าต้องไม่มัดให้เป็นเหลี่ยม
วงดอกทั้งปอยหมี่ไม่ควรต่ำกว่า 40 ดอก (73 ลำ) เพื่อที่จะทำให้ลายละเอียดและสวยงาม โดยมีขั้นตอนของการมัดหมี่ ดังนี้
– มัดหมี่ตั้งโครงร่างของลาย (มัดเหลืองทอง)
– ย้อมสีเขียว แล้วโอบแลเงา
– นำไปกัดสีออกให้ไหมขาว แล้วมัดขวางตรงเชิงของลาย นำหมี่ไปย้อมสีแดงแล้วโอบสีแดง
– นำหมี่ที่โอบแล้วไปย้อมสีพื้นโดยใช้สีน้ำเงินย้อมทับสีแดงโดยไม่ต้องกัดสีออกจะได้สีพื้นสีม่วงเข้มเปลือกมังคุด
ทั้งนี้สีพื้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ

ลักษณะผ้าไหม ลายสร้อยดอกหมาก ที่ดี
1. ลายผ้า ต้องมีลายเล็กละเอียด ลวดลายสวยงามสม่ำเสมอตลอดทั้งผืน และลายไม่เขย่ง
2. สีผ้า สีสวยและสม่ำเสมอตลอดผืนไม่มีรอยด่าง
3. เส้นไหม เป็นไหมแม้เรียบเสมอทั้งผื่นด้วยด้ายพุ่งและด้ายยืน
4. พื้นผ้า มีความละเอียดเนื้อแน่น สม่ำเสมอตลอดมาทั้งผืนไม่มีรอยโปร่งบางเป็นตอน
สถานที่จำหน่ายผ้าไหม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 สิ่งที่ทำให้การทอผ้าไหมประสบความสำเร็จคือ ประสบการณ์ทำงานของผู้ทอ และความขยันอดทน เพราะการทอผ้าไหมถือว่าใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะได้ทีละผืน

อุปกรณ์ ->

การทอผ้าไหมนั้นมีอยู่หลากหลายขั้นตอน อาจจะยุ่งยากและซับซ้อนสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา