เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

โดย : นายทองใส ปะติรูปัง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-09-13-09:31:03

ที่อยู่ : 51….......หมู่ที่………5….. ตำบล/แขวง………กำแพง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ใมนครัวเรือนด้วยการเลี้ยงไก่ ซึ่งนอกจากจะสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนแล้วยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของครอบครัวอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกไก่อายุ 1 วัน เป็นวิธีที่มีผู้เลี้ยงนิยมกันมากเนื่องจากทุนน้อย ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงไก่ได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง สามารถที่จะดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ ได้รู้ประวัติของไก่ทั้งฝูงตลอดเวลา จึงทำให้ได้ฝึกฝนการเลี้ยงไก่และมีความมั่นใจในการเลี้ยงไก่มากขึ้น แต่การเลี้ยงแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่จะให้ไข่ เพราะต้องเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยากและใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง อีกทั้งยังต้องเสี่ยงต่อการตายของไก่ในระยะแรกๆ และจะต้องรอไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 22 สัปดาห์ ไก่จึงจะเริ่มให้ไข

2. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือน เป็นวิธีที่นิยมกันในปัจจุบัน โดยการที่ผู้เลี้ยงซื้อไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ – 2 เดือน มาจากฟาร์มหรือบริษัทที่รับเลี้ยงลูกไก่ เนื่องจากลูกไก่ในระยะนี้ราคายังไม่แพงมากนัก และสามารถตัดปัญหาในเรื่องการเลี้ยงดูลูกไก่และการกกลูกไก่ การเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือนนี้ มักจะให้อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาถูก การเลี้ยงดูก็ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากนัก ผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยงไก่เป็นครั้งแรก จึงสมควรเริ่มเลี้ยงด้วยวิธีนี้

3. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่สาว เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้านิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็กหรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะกับไก่ไข่เท่านั้น แต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องลงทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่นำมาเลี้ยงเสมอ เพราะช่วงที่ไก่ยังเป็นลูกไก่และไก่รุ่นผู้เลี้ยงไม่สามารถรู้ประวัติของฝูงไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้ การเลี้ยงดูไก่เล็ก การเลี้ยงดูไก่เล็ก (อายุ 1 วัน-16 สัปดาห์) การเลี้ยงไก่ในระยะนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญมาก ต้องดูแลและเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อให้ลูกไก่มีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง และอัตราการเลี้ยงรอดสูง ควรจัดการดังนี้

1. เมื่อนำลูกไก่มาถึงฟาร์มต้องนำเข้าเครื่องกกโดยเร็วที่สุด และเตรียมน้ำสะอาดพร้อมให้กินทันที ถ้าลูกไก่ยังไม่รู้จักที่ให้น้ำต้องสอนโดยการจับไก่เอาปากจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ควรผสมยาปฏิชีวนะหรือวิตามินให้ลูกไก่กินติดต่อกัน 2-3 วันแรก แต่ถ้าลูกไก่มีลักษณะนอนฟุบ อ่อนเพลียมาก ควรผสมน้ำตาลทรายลงในน้ำผสมยาปฏิชีวนะในอัตรา 5-10% ในระยะ 12 ชั่วโมงแรก

2. เมื่อลูกไก่เข้าเครื่องกกได้ 2-3 ชั่วโมง หรือลูกไก่เริ่มกินน้ำได้แล้วจึงเริ่มให้อาหารไก่ไข่เล็ก โดยโปรยลงบนถาดอาหาร พร้อมทั้งเคาะถาดเพื่อเป็นการเรียกลูกไก่ให้มากินอาหาร โดยให้กินแบบเต็มที่ ให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้งอย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง

 3. ให้แสงสว่างในโรงเรือนเพียง 1-3 วันแรกเท่านั้น เพื่อให้ลูกไก่คุ้นเคยกับสถานที่ แต่ไฟที่ให้ควรเปิดสลัวๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เดินเล่นห่างเครื่องกก ภายในเครื่องกกต้องมีแสงไฟอยู่ตลอดเวลาในระยะ 1-3 สัปดาห์

 4. หมั่นตรวจดูแลสุขภาพไก่โดยสม่ำเสมอ ตรวจอาหารและน้ำ ขวดน้ำต้องล้างและเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน เปลี่ยนวัสดุรองพื้นที่ชื้นแฉะ และระวังอย่าให้ลมโกรก แต่อากาศต้องถ่ายเทได้สะดวก

5. ขยายวงล้อมกกให้กว้างออกไปตามความเหมาะสมทุกๆ 5-7 วัน พร้อมทั้งยกเครื่องกกให้สูงขึ้นเล็กน้อย และปรับอุณหภูมิของเครื่องกกให้ต่ำลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮด์

 6. ทำวัคซีนตามกำหนด

7. ตัดปากลูกไก่เมื่ออายุ 6-9 วัน โดยตัดปากบนออกประมาณ 1 ใน 3 ของปาก และจี้ปากล่างด้วยใบมีดร้อนๆ การตัดปาก มีจุดประสงค์เพื่อ

1. เพื่อป้องกันการจิกกัน

2. เพื่อลดประมาณการสูญเสียอาหารหกหล่น การตัดปากที่ถูกวิธี

1. จับลูกไก่ไว้ในอุ้งมือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่หลังหัวลูกไก่

2. ใช้นิ้วหัวแม่มือกดหัวลูกไก่ให้อยู่นิ่ง

3. เลือกขนาดรูตัดที่เหมาะสมเพื่อตัดปากลูกไก่ประมาณ 2 มม. จากปลายจมูก

4. ใบมีดตัดปากต้องร้อนจนแดง เมื่อกดใบมีดตัดปากไก่แล้วจะต้องคงค้างไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อช่วยห้ามเลือด การตัดปากไก่ไม่ดีนอกจากทำให้ไก่กินอาหารและน้ำลำบากแล้ว ปริมาณไข่จากไก่ตัวนั้นย่อมลดลง ดังนั้น การตัดปากควรทำอย่างประณีต ระยะเวลาตัดปากที่ดีที่สุดประมาณ 7-10 วัน ควรตัดปากให้ระยะจากจมูกออกมาไม่ต่ำกว่า 2 มม. ถ้าพบว่าการตัดปากไม่ดีควรทำการแต่งปากเมื่ออายุไม่เกิน 10 สัปดาห์

 8. เมื่อกกลูกไก่ครบ 21 วัน ให้นำวงล้อมและเครื่องกกออก แต่ต้องระวังอย่าให้ลูกไก่ตื่น เพื่อป้องกันการเครียดก่อนจะเปิดวงล้อมออกต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ – ที่ให้อาหาร ใช้แบบถังแขวนในอัตรา 3-4 ใบต่อไก่ 100 ตัว – ที่ให้น้ำ ใช้แบบถังแขวน ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว แต่ทั้งที่ให้อาหารและที่ให้น้ำ ต้องคอยปรับให้อยู่ในระดับความสูงเท่ากับหลังไก่เสมอ

9. การให้กรวด กรวดมีความสำคัญต่อไก่ ในการช่วยบดอาหารที่มีขนาดโตให้ละเอียดขึ้น โดยเริ่มให้ไก่กินกรวดตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยให้สัปดาห์ละครั้งๆ ละ ครึ่งกิโลกรัมต่อไก่ 100 ตัว

10. ควบคุมและป้องกันสัตว์อื่นๆ ไม่ให้มารบกวน 11. เริ่มชั่งน้ำหนักไก่จำนวน 5% ของฝูงเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ จดบันทึกปริมาณอาหาร จำนวนไก่ตาย คัดทิ้ง สิ่งผิดปกติ การปฏิบัติงาน การใช้ยาและวัคซีนเป็นประจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาและคำนวณต้นทุนการผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ไก่พันธุ์ดี
๒. อาหารดี
๓. การจัดการหรือการบริหารงานฟาร์มที่ดี
๔. มีการป้องกันโรคดี
๕. มีตลาดจำหน่ายไก่และไข่ดี

ไก่พันธุ์ดี ในที่นี้หมายถึง ไก่ที่ให้ผลผลิตที่เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจสูง ใช้อาหารในการผลิตผลหนึ่งหน่วยน้อย เช่น ไก่ไข่พันธุ์ดีควรจะมีลักษณะที่ผู้เลี้ยงต้องการ ดังนี้คือ ตายยาก ตับไขยาวนาน (ตับไข่หนึ่ง หมายถึง ช่วงของการไข่ติดต่อกับช่วงหนึ่ง) ไข่ดกและทน ฟองโต แต่กินอาหารน้อย เป็นต้น

ชนิดของไก่ที่นิยมเลี้ยงกันในปัจจุบัน

ก. ไก่เลี้ยงเอาเนื้อ ได้แก่
๑) ไก่ตัวผู้ลูกผสมของไก่พันธุ์เนื้อ-ไข่ เช่น ไก่พันธุ์โร๊ดไอแลนด์แดง กับไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร๊อค

๒) ไก่ลูกผสมระหว่างพันธุ์เนื้อ-ไข่ กับไก่พื้นเมือง ไก่ลูกผสมพวกนี้เป็นที่นิยมของตลาดมาก ผู้เลี้ยงก็ไม่ต้องเอาใจใส่มากเหมือนกับการเลี้ยงไก่พันธุ์ หรือไก่เนื้อในข้อ ๓

๓) ไก่ลูกผสมสายเลือดสูงที่เรียกกันว่า “ไก่เกรดเอ” บ้างหรือ “ไก่ไฮบริด” บ้าง แล้วแต่จะเรียกกัน ซึ่งใช้เลี้ยงเป็นไก่กระทง ใช้เวลาเลี้ยงน้อยประมาณ ๔๕ วันถึง ๕๖ วัน ก็ขายได้ ไก่ชนิดนี้มีชื่อเรียกทางการค้าต่างๆ กัน แล้วแต่บริษัทผู้ผลิตจะตั้งชื่อเอา เป็นต้นว่า ชื่อ พิ้ลอาเบอร์เอเคอร์ เป็นต้น

สำหรับไก่เนื้อพันธุ์แท้ เช่น พันธุ์คอนิช ถึงแม้จะมีลักษณะดี ตัวโต ก็ไม่ นิยมเลี้ยงกันในปัจจุบัน เนื่องจากโตช้ากว่า ต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงนานกว่าจึงจะขายได้ นอกจากนี้เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว นอกจากจะไข่ไม่ดกแล้ว ไข่ยังมีเปอร์เซ็นต์การฟักออกต่ำด้วย

ข. ไก่ที่เลี้ยงไว้เอาไข่ ได้แก่
๑) ไก่พันธุ์โร๊ดไอร์แลนด์แดง เป็นไก่พันธุ์เนื้อ-ไข่ คือ เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักตัวมาก และให้ไข่ดกไม่แพ้ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์นี้มีขนสีแดงเข้ม เปลือกไข่สีน้ำตาลฟองโต การใช้อาหาร ถ้าอาหารมีคุณภาพดีไก่พันธุ์นี้ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ ๕ เดือนครึ่ง จะใช้อาหารประมาณ ๑๐ กิโลกรัมต่อตัว และในขณะที่กำลังไข่จะกินอาหารอีกวันละประมาณ ๑๒๐-๑๓๐ กรัม ต่อตัวโดยเฉลี่ย คนทั่วไปเรียกย่อๆ ว่า “ไก่โร๊ด” ข้อดีอีกประการหนึ่งของไก่พันธุ์นี้ก็คือ ไก่ที่คัดออกขายมักมีน้ำหนักมาก และขายได้ราคาดีพอสมควร

๒) ไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร๊อค เป็นไก่พันธุ์เนื้อ-ไข่ มีขนสีเทาสลับดำ ให้ไข่ดก ฟองโต เปลือกไข่สีนํ้าตาลคล้ายสีนมชง ไม่ค่อยสวย ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของตลาดมากนัก กินอาหารใกล้เคียงกับไก่โร๊ด  เรียกไก่พันธุ์นี้ย่อๆ ว่า “ไก่บาร์” ตลาดมักจะให้ราคาตัวไก่ที่ขายคัดออกดีพอสมควร

๓) ไก่พันธุ์เล็กฮอร์น เป็นไก่พันธุ์ไข่ เมื่อโตเต็มที่แล้วมีน้ำหนักเบากว่าไก่สองพันธุ์แรก ไก่พันธุ์นี้มีหลายสี แต่ที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยเป็นไก่พันธุ์เล็กฮอร์นสีขาวไข่ดก ฟองไม่โตนัก เปลือกไข่มีสีขาว ตลาดบางแห่งไม่นิยมเปลือกไข่สีขาว ประกอบกับไข่พันธุ์นี้เมื่อขายคัดออกไม่ค่อยจะมีผู้นิยม ได้ราคาต่ำ จึงทำให้มีการเลี้ยงไก่พันธุ์นี้น้อยลงไป การใช้อาหารตั้งแต่อายุ ๑ วัน จนถึงเริ่มไข่ถึงอายุประมาณ ๒๒ สัปดาห์ ใช้อาหารไปประมาณ ๘ กิโลกรัม ระยะกำลังไข่กินอาหารวันละประมาณ ๑๑๐ กรัม ต่อตัวต่อวันโดยเฉลี่ย

๔) ไก่ลูกผสมพันธุ์ไข่ เช่น ไก่ลูกผสมที่เกิดจากไก่พันธุ์โร๊ดไอร์แลนด์แดงกับไก่พันธุ์เล็กฮอร์น เป็นต้น ไก่ลูกผสมนี้ไข่ดกและไข่ทนดีกว่าไก่พันธุ์แท้ มีอัตราการเลี้ยงรอดสูง สำหรับคุณสมบัติอื่นๆ ก็ไม่แพ้ไก่พันธุ์แท้ที่กล่าวถึงข้างต้นด้วย

อุปกรณ์ ->

ข้อพึงระวังที่ไก่ฝูงกินอาหารลดลงผิดปกติอาจจะเกิดจากความเครียดหรือเจ็บป่วย ควรดูแลเป็นพิเศษ ถ้าแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้ควรปรึกษาสัตวแพทย์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา