เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำนาบัว

โดย : นางสมร สุภษร ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-03-15:59:39

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 41/1 บ้านหนองแก่ง ม.8 ต.พลับพลา อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บัว เป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธนิยมใช้ดอกบัวในพิธีกรรมทางศาสนา สำหรับประเทศไทยดอกบัวเป็นดอกไม้ที่ตลาดมีความต้องการสมํ่าเสมอ และในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะในวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา ถิ่นกำเนิดของบัวส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน ดังนั้นจึงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกพื้นที่  อาชีพหลักคนชุมชนบ้านหนองแก่งคือการทำนา แต่คนในชุมชนยังมีรายได้น้อยในการเลี้ยงชีพ จึงได้ยึดการปลูกบัวเป็นอาชีพรอง แรงผลักดันในการทำนาบัวในชุมชนบ้านหนองแก่งที่ข้าพเจ้าเผยแพร่องค์ความรู้ในการทำนาบัวในชุมชนเพื่อสร้างอาชีพเสริมและรายได้ให้กับชุมชน  ซึ่งในการทำนาบัว นาบัวสามารถดูแลรักษาง่ายกว่านาข้าว มีโรคและแมลงรบกวนน้อย ใช้นํ้าน้อยกว่า สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทั้งในรูปดอกตูมและเก็บเมล็ด ซึ่งผลผลิตทั้งสองรูปแบบนี้ยังเป็นที่ต้องการของท้องตลาด นำมาซึ่งอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

การเตรียมดิน

พื้นที่ที่เหมาะสมควรเป็นที่ราบสมํ่าเสมอ อยู่ใกล้แหล่งนํ้า ดินเป็นดินเหนียว การเตรียมพื้นที่ สำหรับทำนาบัวก็คล้ายๆกับการทำนาดำ โดยเริ่มจากการเอานํ้าออกให้แห้ง ยกคันดินโดยรอบพื้นที่ให้สูงประมาณ 1.5 เมตร พื้นที่ควรมีขนาด 5 - 50 ไร่ เก็บเศษวัสดุและกำ จัดวัชพืชออกให้หมด ปรับพื้นที่ให้เรียบ ไถดะ โรยปูนขาวตากแดดทิ้งไว้ 7 – 15 วัน แล้วไถแปรอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเติมปุ๋ยคอกเก่าๆ เช่น มูลไก่ มูลโค ประมาณไร่ละ 200 กิโลกรัม จากนั้นระบายนํ้าเข้าให้สูงจากพื้นประมาณ 15 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3 - 5 วัน ให้ดินอ่อนตัว แล้วจึงปักดำ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2 X 2 เมตรในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ไหลบัวประมาณ 400 ไหล

การปลูก

วิธีการปลูกมี 2 วิธี คือ

1. การปลูกโดยใช้ไม้คีบ

เหลาไม้ไผ่ให้มีความหนากว่าตอกเล็กน้อยยาวประมาณ 1 ฟุตโค้งงอตรงกลาง คีบไหลบัวตรงส่วนของข้อแล้วปักลงให้ไหลบัวติดอยู่กับผิวดิน ซึ่งการปลูกโดยวิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ไหลบัวหลุดลอยสู่ผิวนํ้า ชาวบ้านนิยมเรียกไม้คีบนี้ว่า ตะเกียบ

2. การปลูกโดยวิธีใช้ดินหมก

วิธีนี้ใช้กับนาบัวที่สามารถบังคับระดับน้ำ ได้ โดยปล่อยนํ้าให้งวด ขุดดินเป็นร่องลึก ประมาณครึ่งฝ่ามือวางไหลบัวลงไปใช้ดินกลบไหลบัวโดยเว้นเตาเอาไว้ แล้วจึงเริ่มเปิดนํ้าเข้า

การดูแลรักษา

1. การให้นํ้า หลังจากปลูกบัวแล้วในเดือนแรก ควรรักษาระดับนํ้าให้ขังอยู่ในแปลงลึกประมาณ30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันมิให้หญ้าขึ้นในแปลง และบัวสามารถเจริญขึ้นมาพ้นนํ้า เพื่อรับแสงสว่างได้เร็ว หลังจากนั้นปล่อยนํ้าเข้าแปลงอีกให้ลึกประมาณ 50 เซนติเมตร และลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร เพราะความลึกระดับนี้ บัวจะได้รับอุณหภูมิพอเหมาะ ทำ ให้บัวสามารถออกดอกได้มาก ถ้าระดับนํ้าสูงกว่านี้ บัวที่งอกใหม่อาจตายได้ ถ้างอกพ้นผิวนํ้าไม่ทัน

2. การใส่ปุ๋ย เมื่อบัวเริ่มตั้งตัวได้และแตกใบใหม่ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ในอัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม โดยหว่านลงไปให้ทั่วแปลง แต่ถ้าปลูกอยู่ในคูหรือลำ คลองที่มีนํ้าถ่ายเทตลอดเวลา หรือบ่อที่ควบคุมระดับไม่ได้ ควรใส่ปุ๋ยลูกกลอนโดยการนำ ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0ประมาณ 1 ช้อนชา บรรจุลงดินเหนียวปั้นดินเหนียวหุ้มให้เป็นก้อนแล้วผึ่งลมให้แห้ง เมื่อต้องการจะใส่ปุ๋ยบัวก็ฝังลูกกลอนไว้ที่โคนต้นๆละ 2 ลูก

การเก็บดอก

บัวจะเริ่มให้ผลผลิตดอกตูมหลังจากปลูก 3 เดือน โดยทั่วไปเกษตรกรเก็บดอกวันเว้นวัน ยกเว้นในฤดูหนาว เก็บวันเว้น 2 วัน การเก็บดอกจะเก็บในระยะที่ดอกยังตูม โดยตัดให้มีก้านดอกยาว40-50 เซนติเมตร คัดขนาดแล้วนำ มาจัดเป็นกำ กำละ 10 ดอก การจัดต้องจัดเรียงให้เห็นดอกทั้ง10 ดอก หลังจากนั้นจึงห่อด้วยใบบัว หลังจากเก็บเกี่ยวดอกเป็นเวลา 3-4 เดือน ต้นบัวจะเริ่มโทรม ผลผลิตลดลง มีวิธีบังคับให้ไหลแตกต้นใหม่ โดยระบายนํ้าออกจากนาให้แห้ง แล้วใช้รถแทรกเตอร์ลงไปไถดะเพื่อลดความหนาแน่นของต้นบัว หรืออาจใช้ลูกขลุกทุบ แล้วปล่อยนํ้าเข้าในแปลงอีกครั้ง บัวจะเริ่มแตกยอดใหม่ และสามารถ เริ่มเก็บดอกได้ในเวลา 2-3 เดือน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ความขยันหมั่นเพียร  การเรียนรู้เพื่อการต่อยอดและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาตนเอง 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความขยันหมั่นเพียร  การเรียนรู้เพื่อการต่อยอดและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาตนเอง 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา