เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงโคพื้นบ้าน

โดย : นายสนิท นรไสย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-03-15:43:32

ที่อยู่ : 75 หมู่ 12 ตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงวัวเบื้องต้น สำหรับผู้ที่กำลังสนใจการทำการเกษตรด้วยการเลี้ยงวัว การเลี้ยงวัวนั้นไม่ยากแล้วก็ไม่ง่าย ทุกอย่างอยู่ที่ความตั้งใจ

1.พื้นที่ การเลี้ยงวัวต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยง วัวเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ดังนั้นคุณจะต้องเตรียมพื้นที่ในการเลี้ยงให้เหมาะสม ถ้าหากเป็นชาวบ้านก็จะเลี้ยงปล่อยตามทุ่งนาทั่วไป ซึ่งต้องมีคนเฝ้าและดูแลวัวตลอดทั้งวัน แต่ถ้าหากเราจะเลี้ยงเป็นฟาร์มก็ต้องมีพื้นที่ ทั้งทำคอก ปลูกหญ้า ต่างๆ เพื่อใช้เลี้ยงวัวที่ท่านหามา

2. พันธุ์วัว สิ่งต่อมาที่ท่านต้องเตรียมก็คือพันธุ์วัว เพราะเราต้องรู้ก่อนว่าจะเลี้ยงวัวพันธุ์อะไร เลี้ยงเพื่อไปขายที่ไหน วัวมีด้วยกันหลายสายพันธุ์แบ่งเป็นง่ายๆก็ วันพันธุ์เนื้อและวัวนม   

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี)

1.โค

2.หญ้า ฟาง

 

กระบวนการ/ขั้นตอน

วัวพื้นเมือง

การเลี้ยงวัวเบื้องต้นวัวพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับวัวพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกะทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อนและอาจ มีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก.

ลูกวัวเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงแม่วัวเนื้อ การเลี้ยงวัวเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกวัวให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่วัวสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกวัวมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดจึงจะขายได้ราคาดี การที่จะสามารถทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของวัวระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

การเลี้ยงแม่วัวเนื้อที่จะให้ผู้เลี้ยงได้กำไรตอบแทนมากจะต้องเริ่มตั้งแต่การเลีอกพันธุ์วัวที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงค์ที่จะเลี้ยง เช่น ลูกวัวที่ผลิตได้จะสนองความต้องการของตลาดประเภทใด สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงวัว ปัญหาสำคัญคือจะเลี้ยงวัวพันธุ์อะไร ดังนั้น จะต้องทราบว่าวัวพันธุ์ต่างๆ มีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการเลี้ยงที่เราจะเลี้ยงหรือไม่ ควรซื้อวัวที่มีลักษณะอย่างไร

ข้อดี

1.เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหารเพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยง แบบไล่ต้อนโดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

2.ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่วัวที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ

3.ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี

4.ใช้แรงงานได้ดี

5.แม่วัวพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มัน วัวพันธุ์ตาก วัวกำแพงแสน หรือ วัวกบินทร์บุรี

6.มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารแบบไทย

7.สามารถใช้งานได้

ข้อเสีย

1.เป็นวัวขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด

2.ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดวัวขุนต้องการ คือ ที่น้ำหนักมีชีวิต 450 ก.ก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก

3.เนื่องจากแม่วัวมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับวัวพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โลเล่ย์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการตลอดยาก

3.อาหาร สิ่งที่ต้องเตรียมตามมาก็คืออาหารที่เราจะใช้เลี้ยงวัว ได้แก่

อาหารหยาบ  ซึ่งได้มากจาก หญ้าสด ฟางข้าว พืชตระกูลถัว ต้นข้าวโพด เป็นต้น

อาหารข้น  ซึ่งได้มาจาก อาหารที่มีความเข้มข้นและมีโปรตีนสูง มีใยต่ำ สัตว์กินเข้าไปแล้วย่อยได้ง่าย เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวโพดบด อาหารข้นสำเร็จรูปตามท้องตลาด หัวอาหารเป็นต้น

4. น้ำ การเลี้ยงวัวจะต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอให้วัวบริโภค

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

การเลือกพ่อพันธุ์ การดูแลป้องกันโรค

กระบวนการ/ขั้นตอน->

จัดหาแหล่งหญ้าสำหรับเลี้ยงโค

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา