เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงนกกระทา

โดย : นายกฤษฎา พันธ์หนองหว้า ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-03-15:42:16

ที่อยู่ : 64 หมู่ 13 ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อาชีพการเลี้ยงนกกะทา เป็นอีกอาชีพการเกษตรที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะผลผลิตจากนกกะทา สามารถขายได้เกือบทุกส่วน ไข่ก็ขายได้ เนื้อก็ขายได้ ขนก็ขายได้ ขี้นกก็ยังขายทำเป็นปุ๋ยได้ วันนี้ Blogger Farmfriend จะขอนำเสนอวิธีการเลี้ยงนกกะทา เพื่อสร้างรายได้เสริม หรืออาจจะเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวเลยก็ได้

นกกะทาที่นิยมเลี้ยงเพื่อเก็บไข่ขายนั้นเป็นนกกะทาสายพันธุ์ญี่ปุ่น มีประวัติความเป็นมาคือ แต่ก่อนนิยมเลี้ยงเพื่อฟังเสียง ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก  สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยู่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิดแต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่นจึงได้มีการนำนกกระทาจากญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมายเท่ากับการเลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตามแต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้ดีเพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆและใช้เงินลงทุนน้อย

วัตถุประสงค์ ->

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี)

1.นกกระทา

2.อาหารนกกระทา

 

อุปกรณ์

1.กรงนกแบบยกสูง

2.อุปกรณ์ให้น้ำให้อาหาร

 

กระบวนการ/ขั้นตอน

การเลี้ยงนกกระทาจะแบ่งการเลี้ยงออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เพื่อขยายพันธุ์ และการเลี้ยงนกไข่

 

การเลี้ยงแบบขยายพันธุ์ มี 4 ขั้นตอน โดยจะเลี้ยงรวมไว้ในโรงเรือนเดียวกัน

ขั้นตอนแรก เริ่มจาก การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์ สำหรับแม่พันธุ์ ควรเลือกที่ให้ไข่ดก โดยดูได้จากการนำพ่อ-แม่พันธุ์ มาเลี้ยงรวมในกรงเดียวกัน ขนาด 40*40 เซนติเมตร สัดส่วนแม่พันธุ์ 5 ตัว พ่อพันธุ์ 2 ตัว ซึ่งแม่พันธุ์ที่ดีจะต้องให้ไข่ทุกวัน

ขั้นตอนที่สอง การฟักไข่ นำไข่ที่ได้ไปฟักในตู้ฟักไข่ไฟฟ้า อุณหภูมิ 36 - 37 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 14 - 17 วัน จะได้เป็นตัวเล็ก ๆ ซึ่งต้องนำไปเลี้ยงในกรงอนุบาล

ขั้นตอนที่สาม การเลี้ยงในกรงอนุบาล หลังจากฟักเป็นตัวต้องนำไปเลี้ยงในกรงอนุบาลที่ใช้ตาข่ายทำ มีขนาด 2 * 2 เมตร ต่อการเลี้ยง 300 - 400 ตัว ใช้ไฟขนาด 100 W (วัตต์) กกให้ความร้อนอีกประมาณ 15 -20 วัน ให้อาหารนกและน้ำเล็กน้อย

ขั้นตอนสุดท้าย นำไปเลี้ยงในกรงนกรุ่นอีก 20 วัน โดยเลี้ยงให้อาหารไก่ที่นำมาบดละเอียด เพื่อให้แข็งแรงแล้วจึงคัดแยกเพศ หากเป็นเพศเมียก็จะนำไปเลี้ยงเป็นนกไข่ ถ้าเป็นเพศผู้จะขายเลี้ยงเป็นนกเนื้อ

 

การเลี้ยงนกไข่ การเลือกดูเพศตัวเมียให้ไข่สามารถดูได้เมื่อนกอายุ 15 วัน คือในช่วงอยู่ในกรงนกรุ่น ตัวเมียจะเห็นขนใต้คางเป็นสีขาว ตัวผู้ขนใต้คางจะเป็นสีแดง การเลี้ยงนกไข่นั้นจะเลี้ยงในกรงขนาด 40 * 40 เซนติเมตร ต่อนก 7 ตัว หรือถ้าอากาศร้อนก็ควรลดเหลือ 6 ตัว เลี้ยงไปอีกประมาณ 10 วัน นกจึงเริ่มให้ไข่ วิธีการเลี้ยงนกไข่มีขั้นตอนต้องดูแล 3 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนแรก การให้อาหารและน้ำ โดยน้ำจะให้ไว้ในรางตลอด ส่วนอาหารจะให้วันละ 2 ครั้งคือ ตอนสาย ๆ และบ่าย ๆ อาหารที่ให้จะเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาโดยเฉพาะก็ได้หรืออาจจะเป็นสูตรอาหารที่คิดขึ้นเองโดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก

ขั้นตอนที่สอง การทำความสะอาดรางน้ำและกรงนก ถ้าหากกรงนกไม่เปื้อนอาหารนั้นก็จะไม่สกปรกมากจึงไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดประจำ แต่รางน้ำจำเป็นต้องทำความสะอาดทุกวัน เพราะถ้าสกปรกอาจทำให้นกเป็นโรคและติดเชื้อได้ง่าย การทำความสะอาดอาจติดตั้งเป็นระบบปั๊มน้ำไว้ แล้วเปิดน้ำไปตามรางใช้แปรงถูรางน้ำ ปล่อยน้ำล้างให้สะอาด วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาถอดรางน้ำออกมาล้าง ส่วนตาข่ายที่ใช้ทำกรงต้องถอดออกไปทำความสะอาดนำไปขัดล้างแค่เพียง 2 ปีต่อครั้ง

ขั้นตอนสุดท้าย การเก็บไข่เวลาที่ใช้เก็บไข่ควรเก็บช่วงเย็นประมาณ 18.30 - 19.00 น. แล้วเตรียมใส่ถุงส่งให้ลูกค้าในวันรุ่งขึ้น หากมีไข่หลังจากเก็บไปแล้วก็จะนำไปรวมกันวันต่อไป ควรออกแบบกรงให้สะดวกต่อการเก็บไข่โดยให้ไข่ไหลเทออกมาที่รางด้านนอกกรง ถ้าหากมีไข่ติดอยู่ใต้กรงให้ใช้ไม้เขี่ยออกมาเบา ๆ ไข่ที่เก็บได้แล้วต้องรีบนำไปขาย เพราะอายุของไข่นกสด ๆ อยู่ได้ประมาณ 10 วันเท่านั้น นก 7 ตัว ควรจะให้ไข่ 4 - 5 ฟอง หากให้ต่ำกว่านี้ ต้องพยายามตรวจสอบว่านกตัวไหนไม่ให้ไข่ จะจับแยกออกมาเลี้ยงเป็นนกเนื้อแทน ปกตินกจะให้ไข่ประมาณ 8 - 9 เดือน และจะให้ไข่น้อยลงจนไม่ให้ไข่เลยเมื่ออายุ 10 - 12 เดือน จึงต้องปลดขายเป็นนกเนื้อ และทยอยเลี้ยงรุ่นใหม่หมุนเวียนกันไปตลอด

 

การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ต่าง ๆ

โรงเรือนเลี้ยงนกกระทาควรวางรูปให้สะดวกแก่การเข้าปฏิบัติงานดูแลและการรักษาความสะอาด ตัวโรงเรือนควรสร้างด้วยวัสดุที่สะอาดรักษาความสะอาดได้ง่าย ประตูเข้าออกควรปิดให้สนิท ในการเลี้ยงนกกระทาเพื่อเอาไข่ ถ้าเลี้ยงแบบกรงซ้อนหลายชั้น โรงเรือนต้องมีเพดานสูงพอสมควร สิ่งสำคัญที่สุดต้องอย่าให้มีรูหรือช่องทางที่นก หนู ที่เป็นอันตรายเข้าไปได้ ฝาโรงเรือนอาจเป็นฝาทึบ หรืออาจใช้ลวดตาข่ายเล็กกันนก หนู ศัตรู (ควรใช้ตาข่ายขนาด 1/2 - 3/4 นิ้ว หรือมุ้งลวด)

 

การจัดการระบายอากาศ

การทำให้อากาศมีการระบายหรือหมุนเวียนในเรือนโรงเป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยเฉพาะการมีกลิ่นแอมโมเนียสะสมมาก อาจเป็นอันตรายแก่เยื่อนัยน์ตาของนกและมีผลเสียต่อสุขภาพนกและการไข่ การระบายอากาศที่พอดีประมาณ 0.014 ลบ.เมตร (0.5 ลบ. ฟุต ต่อ นาที) ต่อนก 100 ตัว ที่อุณหภูมิห้อง 20 องศาเซลเซียส (68 องศาฟาเรนไฮด์)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

การควบคุมอุณหภูมิ การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรมีการเพิ่มช่องทางการตลาดให้มากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา