เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การขยายพันธุ์มะนาว

โดย : นายสมบัติ พนมเขต ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-03-15:41:07

ที่อยู่ : 24…… หมู่ที่ ....12.... ตำบลดงครั่งน้อย…...อำเภอเกษตรวิสัย......จังหวัดร้อยเอ็ด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านโพนฮาดหมู่ที่ 12 ตำบล ดงครั่งน้อยอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่มีการบริหารจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตรอย่างเหมาะสม ซึ่งพืชเศรษฐกิจสำคัญของบ้านโพนฮาดคือมะนาว ซึ่งมีการปลูกและขยายพันธุ์จนสามารถจำหน่ายให้กับผู้ที่มาศึกษาดูงานและผู้ที่สนใจ ซึ่งสถานะการณ์ปัจจุบันกิ่งพันธุ์มะนาวโดยเฉพาะมะนาวไร้เมล็ดของบ้านโพนฮาด ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด  บ้านโพนฮาดโดยเวทีประชาคมของปราชญ์ชุมชน และครัวเรือนสัมมาชีพ จึงได้ทำโครงการเพื่อที่จะเพิ่มผลผลิต คือ กิ่งพันธุ์มะนาว ให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยการถ่ายทอดความรู้การขยายพันธุ์มะนาว และพืชเศรษฐกิจอื่นๆให้กับครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน เพื่อให้แต่ละครัวเรือนได้ขยายพันธุ์มะนาวเพื่อจำหน่ายต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี)

-   ขุยมะพร้าวบดละเอียด

-   น้ำยาเร่งราก

-   ถุงกรอกตุ้มตอน

-   ต้นพันธุ์มะนาว

อุปกรณ์

-          มีดตอนกิ่ง

-          กรรไกรแต่งกิ่ง

-          เชือกฟาง

กระบวนการ/ขั้นตอน

วิธีทำ

1. เลือกกิ่งพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ กระโด่ง ขนาดความยาวกิ่งประมาณ 50-70 Cm ตัดแต่งกิ่ง หนาม ใบ ในตำแหน่งที่เราจะคว้านแผล เพื่อตอนกิ่ง จากนั้นก็ให้ทำการคว้านแผล 2 แผล ด้านบน และด้านล่าง โดยห่างกันประมาณ 1 -2 Cm  แล้วปลอกเปลือกมะนาวออกผสมคลุกเคล้าวัสดุแต่ละชนิดให้เข้ากันรดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ

2. ขูดเยื่อลื่นๆบางๆที่เกาะอยู่ระหว่างเปลือกกิ่งและเนื้อไม้ ส่วนนี้ผมเข้าใจว่า มีท่อลำเลียงน้ำ(ไซเลม) และท่อลำเลียงอาหาร(โฟนเอม) เพื่อส่งต่อไปยังยอด เราขยี้ทำลายให้ขาดออกจากกัน เพื่อขาดการเชื่อมต่อจากส่วนล่างไปหาสวนบน ไม่ต้องแรงนะคับ เดี่ยวจะช้ำวิธีการอัดเม็ดปุ๋ย

3. ทาน้ำยาเร่งรากที่แผล โดยเน้นไปที่แผลด้านบน เพราะส่วนนั้นจะสร้างราก และเป็นเหมืองรากต่อไปในอนาคต

4. ผ่าตุ้มตอน ..โดยผ่าให้ลึกค่อนไปอีกฝั่งของตุ้ม..เพื่อให้การหุ้มกิ่งได้อยู่สวนกลางถุงพอดี

5. หุ้มตุ้มตอนที่กิ่ง โดยให้ตำแหน่งแผลอยู่ตรงกลางตุ้มตอน 

6. มัดตุ้มตอนให้แน่น ด้วยเชือกฟาง โดยมัดบนและล่าง ไม่ให้ตุ้มหมุด ขยับได้ หากมัดไม่แน่น อาจมีลม พายุ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้ตุ้มตอนเคลื่อนที่ รากอาจจะขาดในได้

7. ตัดปีกเชือกที่ยาวเกินไป ออกให้เรียบร้อย..

8.  ระยะเวลาประมาณ 20-25 วัน รากก็จะเริ่มเดินและสามารถมองเห็น อายุ สัก 1 เดือน จึงจะตัดลงถุงชำได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

-   ตุ้มตอนมีฝ้าไอน้ำจับอยู่ที่ผิวของพลาสติกภายในตุ้มตอนแสดงว่าความชื้นยังมีอยู่
            -  ตุ้มตอนไม่มีฝ้าไอน้ำจับ จำเป็นต้องให้น้ำตุ้มตอน เพิ่มเติมจนกว่ากิ่งตอนจะออกราก
             - ถ้าหากพบแมลง  มด  ปลวก  ควรหาวิธีทำลาย หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารเคมี             

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรหมั่นดูแลตุ้มตอนให้มีความชื้นอยู่เสมอ โดยสังเกตดูความชื้นของตุ้มตอน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา