เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายอนุวัฒน์ นาพิมพ์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-03-15:29:32

ที่อยู่ : 70 หมู่ที่ 11 ตำบลกำแพง…...อำเภอเกษตรวิสัย......จังหวัดร้อยเอ็ด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือน อาชีพเสริมที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ การเลี้ยงปลาดุก  ทำเป็นอาชีพเสริมควบคู่ไปกับการทำอาชีพอื่นๆได้ อาจจะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บ่อพลาสติก หรือบ่อดินขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละครัวเรือน…………

กระบวนการ /วิธีการขั้นตอน /เทคนิค /ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

วัตถุประสงค์ ->

1.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน เรื่องการให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก ( 2-3 ซม.) โดยใช้อาหารปลาดุกเม็ดใหญ่ผสมกับน้ำ คลุก-ขยำให้เข้ากัน จนสามารถปั้นเป็นก้อนได้ จากนั้นปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลาดุกกิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อ หรือปั้นเป็นก้อนขนาดเท่ากับกำปั้นวางไว้บริเวณขอบบ่อ ทุกมุมบ่อเพื่อให้ลูกปลาดุกไปกินได้โดยไม่ถูกตัวอื่นๆแย่งและกินได้อย่างทั่วถึง ลูกปลาดุกไม่กัดกันเองไม่เสี่ยงต่อการเกิดอัตราการตายได้
                2.เมื่อลูกปลาดุกได้ขนาดประมาน 15 ซม. จำเป็นต้องเปลี่ยนการให้อาหาร อาจจะเป็นอาหารเม็ดอย่างเดียวก็ได้ แต่แนะนำว่าควรมีการเสริมด้วยอาหารอื่นๆซึ่งอาจจะช่วยในการลดต้นทุนอาหารเม็ดหรืออาหารสำเร็จรูปด้วย ปลารวมหรือปลาเป็ด โดยนำปลาเป็ดบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับผสมรำละเอียดในอัตราส่วน 9 : 1 แล้วปั้นเป็นก้อนวางไว้มุมบ่อหรือหว่านลงบ่อก็ได้ วิธีนี้จะช่วยในการประหยัดต้นทุนในการเลี้ยงปลาดุกได้ หรือพื้นที่ใดไม่มีปลาเป็ดอาจจะเปลี่ยนเป็น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ นำมาบดรวมกันแล้วผสมกับรำในอัตราส่วนเช่นเดิมให้ปลากิน แต่ควรระมัดระวังเรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงด้วย

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความมุ่งมั่น  ตั้งใจที่จะประกอบอาชีพ  เพื่อทำให้เป็นแบบอย่างและเป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกหลานต่อไปในอนาคต

อุปกรณ์ ->

เมื่อเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินได้ระยะเวลา 3-4 เดือนควรมีการแยกบ่อปลาดุกเพราะปริมาณปลาดุกในบ่อแออัดมากเกินไป ทำให้เกิดอัตราการตายได้สูง ส่งผลกระทบกับรายได้และรายจ่ายของเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ จึงแนะนำให้เกษตรกรแยกปริมาณปลาดุกหรือย้ายปลาดุกไปอีกบ่อ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นเอง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา