เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอผ้าฝ้าย

โดย : นางคำพอง ตะเคียน ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-29-14:32:14

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ ๘ ต.โพธิ์ชัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านดอนบ่อหมู่ 8  ตำบลโพธิ์ชัย มีการสืบทอดการทอผ้าฝ้ายมตั้งแต่บรรพบุรุษ ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่นิยมใช้เสื้อผ้าสำเร็จรูปในท้องตลาดมาก  ทำให้ปัจจุบันมีผู้มีความรู้ด้านทอผ้าลดลงมาก  คณะกรรมการหมู่บ้านดอนบ่อจึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูอาชีพทอผ้าฝ้าย เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่น่าภาคภูมิใจนี้ไว้กับบ้านดอนบ่อต่อไป 

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนการดำเนินงาน

การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า

๑. ฝ้าย  ฝ้ายที่ทอในปัจจุบันไม่ได้ปลูกเอง แต่จะซื้อสำเร็จรูป ซึ่งมีทั้งฝ้ายที่ย้อมสี และไม่ย้อมสี

๒. กี่ทอ เป็นกี่กระตุก

๓. เฟือขอ   ใช้ในการเรียงด้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ

๔. กงกว๊าง  เป็นอุปกรณ์สำหรับคลี่เส้นฝ้ายเพื่อให้ง่ายต่อการทำมาปั่นใส่กระป๋อง

๕. กระป๋อง หรือหลอดฝ้ายขนาดใหญ่  กระป่องหรือโครงไม้เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้พันฝ้าย

๖. เพียนปั่นด้าย ทำจากซี่และวงล้อรถจักรยาน ใช้สำหรับกรอเส้นฝ้ายที่เป็นเส้นพุ่งใส่หลอดไม้ไผ่ที่จะนำไปใส่ในกระสวย

๗. บันไดลิง สำหรับเกี่ยวเส้นฝ้ายไว้

 การย้อมฝ้ายขั้นตอนการทอผ้าฝ้าย

ขั้นตอนที่ ๑ นำฝ้ายเป็นใจมาคลี่ออกใส่กงกว๊าง เพื่อนำไปพันใส่บ่าหลุกกวักฝ้าย แล้วนำมาขินหรือปั่นใส่กระป๋องหรือหลอดไม้ขนาดใหญ่ การปั่นฝ้ายใส่กระป๋อง ถ้าต้องการเส้นฝ้ายที่มีเส้นใหญ่ อาจจะปั่นครั้งละ ๒-๓ ใจ ให้เส้นฝ้ายมารวมกัน

ขั้นตอนที่ ๒ นำกระป๋องที่มีเส้นฝ้ายพันอยู่ไปเรียงตามลำดับ สี ของเส้นฝ้ายเส้นยืนตามลวดลายที่จะทอ โดยนำมาเรียงครั้งละประมาณ ๔๐ กระป๋อง จะได้เส้นฝ้ายยืนครั้งละ ๔๐ เส้น แล้วนำแต่ละเส้นไปคล้องกับบันไดลิง เพื่อไม้ให้เส้นฝ้ายพันกันและขึ้นเฟือขอต่อไป

ขั้นตอนที่ ๓ นำฝ้ายเส้นพุ่งจากบันไดลิงมาขึ้นเฟือขอ ซึ่งเฟือขอจะทำหน้าที่สำหรับเรียงฝ้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ และทำการสลับเส้นยืนสำหรับใช้กับตะกอเส้นขึ้นเส้นลงด้านล่างของเฟือขอเมื่อสิ้นสุด การเรียงเส้นฝ้ายจะนำแต่ละเส้นมาม้วนเพื่อให้เกิดลักษณะของการสลับเส้น สำหรับการทอยกเป็นเส้นขึ้นเส้นลงที่ด้านล่างขาวของเฟือขอ

ขั้นตอนที่ ๔ นำกลุ่มฝ้ายเส้นยืนจากเฟือขอมาขึ้นกี่ แล้วคลี่ฝ้ายเส้นยืนตามที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้เขี้ยวหมาหรือฟันปลาเป็นตัวช่วยในการสางเส้นฝ้ายแต่ละกลุ่มเส้นออกจากกัน เส้นด้ายในการทอลายหนึ่ง เพื่อแยกเส้นด้ายในการนำไปสืบฝ้ายกับเขาฟืม

ขั้นตอนที่ ๕ หากทอลายเดิมที่เคยทอมา ก็จะนำฝ้ายเส้นยืนใหม่มาต่อกับเศษผ้าฝ้าย หรือเชิงชายที่ตัดมาจากการทอครั้งก่อน เรียกว่า "เครือ" เมื่อทอผ้าเสร็จแล้ว ช่างทอจะตัดผ้าที่ทอแล้วออกจากกี่ โดยคงเหลือเศษผ้าฝ้ายหรือเชิงชายจากการทอให้ติดอยู่กับตะกอและฟืม เพื่อเป็นต้นแบบของลาย หากจะมีการทอลายนั้นในครั้งต่อไป เพื่อให้การสืบต่อลายทำได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่เก็บไว้ การเริ่มต้นขึ้นลายใหม่จะมีความยากลำบากมาก ดังนั้นช่างทอจึงต้องเก็บลายไว้ทุกเครือ เนื่องจากเส้นยืนมีความยาวมาก ก่อนทอหรือเมื่อทอไปได้สักระยะหนึ่ง เส้นยืนอาจจะพันกันได้ ดังนั้นจึงต้องคอยคลี่จัดเส้นยืนออกไม่ให้พันกัน

 

ขั้นตอนที่ ๖ หลังจากการสืบลายแล้ว สามารถเริ่มกระบวนการทอได้ โดยการเหยียบไม้เหยียบเพื่อยกเขาฟืมขึ้นลง แล้วพุ่งกระสวยสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเส้นยืน ให้เส้นพุ่งพุ่งไปขัดกับเส้นยืน และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งอัดเรียงกันแน่น แล้วใช้เท้าเหยียบไม้เหยียบให้ตะกอเส้นยืนสลับขึ้นลง และพุ่งกระสวยกลับไปกลับมาขัดกับเส้นยืน หลังจากที่พุ่งเส้นพุ่ง ไป มา และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งแน่นหลายๆ ครั้ง ก็จะได้ผ้าทอเป็นผืน แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑ ความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ  ของกรรมการและสมาชิก

๒ ยึดหลัก ๕ ก และหลักอปริหานิยธรรม ๗ ในการบริหารจัดการกลุ่มที่มีธรรมมาภิบาล

๓. การตลาด ยึดแนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นจุดขายในการทำตลาด ประชาสัมพันธ์ให้ใช้เครื่องแต่งกายตามวัฒนธรรมดั้งเดิมในการร่วมกิจกรรมทางศาสนา และประเพณีท้องถิ่น  

อุปกรณ์ ->

-การรักษาคุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานดั้งเดิม เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการดำเนินกิจกรรมยึดโยงกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม เป็นสิ่งสำคัญ มีคุณค่า ที่ทุกชุมชนควรจะอนุรักษ์ไว้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา