เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เกษตรอินทรีย์ (การปลูกผักสวนครัว)

โดย : นางวารุณี มูลมานัส ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-28-15:42:06

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๗๙ บ้านขวาว หมู่ที่ ๑๖ ตำบลขวาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้นเกษตรกรจึงได้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) 

1.   พันธุ์ผัก                                     

2.  ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ

 อุปกรณ์ 

จอบ เสียม

 กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.  การเตรียมแปลงดิน ควรไถตะตากดินไว้ประมาณ 15-30 วัน แล้วดำเนินการไถพรวนและขึ้น

แปลงปลูก โดยเว้นทางเดินระหว่างแปลง เพื่อสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา

2. ใส่ปุ๋ยคอกคลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียดพอสมควรปรับหลังแปลงให้เรียบ เสมอกัน อย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อ รดน้ำให้ชุ่ม

3. นำพันธุ์ผักที่เพาะกล้าไว้ ลงไปปลูกโดยขุดหลุมลงไปพอประมาณ เกลี่ยดินรอบต้นผัก รดน้ำให้ชุ่ม

4. รดน้ำเช้า, เย็น ใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำรดผักสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มสารอาหาร

5. กำจัดวัชพืชด้วยการถอน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ขยัน อดทน น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

อุปกรณ์ ->

เลือกชนิดผักที่เหมาะสมกับพื้นที่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อดีการทำเกษตรอินทรีย์
1. ด้านสิ่งแวดล้อม
– ช่วยสร้างสมดุลของทรัพยากรในระบบนิเวศโดยรอบ
– ช่วยสร้างความหลากหลายของชนิดทรัพยากรในพื้นโดยรอบแปลงเกษตร
– ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในดิน น้ำ และพืช
2. สุขภาพ
– ลดความเสี่ยงจากพิษของสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมากับพืช และสัตว์
– ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานที่ดี
3. อาหาร และความมั่นคงทางอาหาร
– สามารถสร้างอาหารที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชน ได้แก่ ผลผลิตไม่มีสารตกค้าง ผลผลิตมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีโรค ไม่มีแมลง เป็นต้น
– สามารถสร้างความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรที่มีผลต่อการผลิต ได้แก่ ทรัพยากรดินมีความสมบูรณ์ ทรัพยากรน้ำไม่เน่าเสียหรือไม่มีสารปนเปื้อน และสิ่งมีชีวิตมีความหลายหลาย และมีปริมาณที่สมดุลกัน
– สร้างความหลากหลายของอาหาร ด้วยการปลูกพืชหลายชนิดตามฤดูกาล และตามปัจจัยที่มีจำกัด เช่น ในนาปลูกข้าว คันนาปลูกกล้วย บ่อน้ำเลี้ยงปลา เป็นต้น
– สามารถผลิตอาหารได้อย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาล ด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนตามปัจจัยที่มีจำกัด เช่น หน้าฝนปลูกข้าว หน้าหนาวปลูกถั่ว เป็นต้น
– รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
4. รายได้
การทำเกษตรอินทรีย์ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตได้มากขึ้น ช่วยให้มีรายได้ที่สูงขึ้นตามมา เนื่องจาก ประชาชนทุกวันนี้หันมาให้ความใส่ใจทางด้านสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องอาหารการกินที่ต้องปราศจากสารพิษใด ดังนั้น การเลือกซื้อผลผลิตทางการเกษตร ประชาชนจึงมักเลือกซื้อผลิตจากแปลงเกษตรอินทรีย์มากกว่าการเกษตรในรูปแบบอื่นที่มีสารเคมีมาเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น หากได้รับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ก็ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือในผลผลิตมากขึ้น ทั้งในรูปแบบเกษตรกรรายเดี่ยว กลุ่มเกษตรกร และหน่วยงานผู้ประกอบการ
รายได้ส่วนหนึ่งนอกเหนือจากการขายสินค้าได้มากแล้ว ยังเป็นผลมาจากการประหยัดต้นทุนการผลิต เนื่องจากรูปแบบเกษตรอินทรีย์ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งปัจจัยการผลิตจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี หรือสารกำจัดศัตรูพืช แต่จะใช้ทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่นแทน ซึ่งมีราคาถูกหรือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อาทิ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด สารสกัดจากพืชสำหรับฉีดป้องกันแมลง เป็นต้น
5. ด้านสังคม
– รู้จักฝึกตนให้เป็นคนขยัน มีมานะอุตสาหะต่อการทำงานหนัก เพราะระบบเกษตรอินทรีย์จะต้องมีภาระที่เกษตรกรต้องจัดการ และเอาใส่ด้วยตนเองมากขึ้น
– เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่อาศัย และเกื้อกูลต่อธรรมชาติมากขึ้น หันมาบริโภคอาหารจากธรรมชาติมากขึ้น หันมาใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมากขึ้น ลดการพึ่งปัจจัยการผลิตภายนอก ทั้งปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืช และสารอื่นๆ
– เกษตรกรรู้จักพึ่งพาอาศัยกันทั้งขั้นตอนการผลิต การหาปัจจัยช่วยในการผลิต และการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้จำหน่ายได้มากขึ้น ซึ่งอาจผ่านทางการรวมกลุ่มของเกษตรกรหรืการแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิต และผลผลิตระหว่างเกษตรกรเอง
– เกิดการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ชุมชน และสังคมในการมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งดิน และน้ำ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการผลิต และการจัดการผลผลิต
– เกิดจิตสำนึก รู้เห็นคุณค่าของทรัพยากรในธรรมชาติมากขึ้น
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา