เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอผ้าพื้นเมือง

โดย : นางมาลา วงค์จันทร์ท้าว ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-28-14:17:03

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๒๘ บ้านขวาว หมู่ที่ ๙ ตำบลขวาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น  สร้างงาน  สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและกลุ่มสตรีในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

๑. ด้ายผ้าฝ้าย
๒. หม้อ
๓. แป้งข้าวจ้าว
๔. น้ำเปล่า
๕. เตาและถ่าน
๖. หลักเฝือ
๗. ฟืม
๘. อัก หรือตะกอปั่นด้าย และไม้คอนอัก
๙. หลา
๑๐. กง
๑๑. กระสวยและแกนกระสวย
๑๒. กี่ หรือ หูก

ขั้นตอนการผลิต

๑. ออกแบบลายผ้าขาวม้า โดยทั่วไปการทอผ้าขาวม้าจะนิยมทอกันอยู่ ๒ ลาย คือ ผ้าขาวม้าตาคู่และผ้าขาวม้าตาคี่ ส่วนสีที่เป็นลายนั้นแล้วแต่ผู้ทอจะใช้
๒. เมื่อได้ลายที่ต้องการแล้วก็มาถึงขั้นตอนการเตรียมด้าย คือ การฆ่าฝ้าย ซึ่งเป็นการทำให้เส้นด้ายที่ทำจากฝ้ายไม่เป็นขนและทำให้เส้นด้ายแข็งขึ้น ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายไม่พันกัน การฆ่าฝ้ายมีขั้นตอนคือ เริ่มจากนำน้ำใส่ในหม้อที่เตรียมไว้ประมาณ ๕ ลิตร ต่อแป้งข้าวเจ้า ๑ กิโลกรัม ในอดีตจะใช้ข้าวจ้าวแต่ปัจจุบันเพื่อความสะดวกจึงใช้แป้งข้าวจ้าวแทน จากนั้นต้มโดยคนให้เข้ากันจนแป้งละลายและนำมาพักไว้ให้เย็น เมื่อน้ำต้มแป้งเย็นแล้วจึงนำด้ายมาแช่และต้องขยำด้ายเพื่อให้แป้งเข้าเคลือบเส้นด้ายทั่วถึงทุกเส้น แช่ทิ้งไว้สักพักจึงนำด้ายไปผึ่งให้แห้งโดยผึ่งในที่ร่มหรือกลางแดดก็ได้ ขั้นตอนการผึ่งนั้นให้ผึ่งกับราวไม้ไผ่เพราะต้องนำด้ายมาสอดกับราวแล้วสะบัดด้ายเพื่อให้ด้ายแตกจากกัน และมีเส้นที่ตรงไม่บิดงอ
๓. ขั้นตอนการเตรียมด้าย นำด้ายที่ผึ่งจนแห้งแล้วมาใส่ในกง ซึ่งกงเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ยาวประมาณ ๑ เมตร ๘ อัน และนำมาผูกโยงเข้ากันด้านละ ๔ อัน ด้วยเชือกและมีแกนกลาง ๑ แกน เพื่อจะกวักด้ายใส่ไว้ในอัก เพื่อเป็นการเตรียมด้ายไว้ใช้ในขั้นตอนต่อไป
๔.ขั้นตอนการเตรียมเครือหรือลายยืนในภาษาอิสานเรียกว่า ค้นหูก การเตรียมลายยืนนั้นจะต้องดูว่าฟืมที่ใช่มีความกว้างเท่าใด ซึ่งถ้าเป็นภาษาอิสานฟืมจะมีหน่วยนับความกว้างเป็น หลบ ฟืมที่ใช้ทอฝ้าขาวม้าจะมีขนาดกว้างต่างกัน ตามขนาดของเส้นด้ายที่ใช้ทอ ถ้าเป็นด้านเส้นใหญ่ จะนิยมใช้ฟืม ๑๐ หลบ ถ้าเป็นด้ายเส้นเล็ก นิยมใช้ ๑๒ ถึง ๑๕ หลบ ฟืมจะมีตาหรือ รู ซึ่ง ๑ รู จะใช้เส้นด้าย ๒ เส้น คือ เส้นขึ้นและเส้นลง การขึ้นเครือจะมีวิธีการคำนวณเส้นด้ายดังนี้
๔ รูฟืม เท่ากับ ๑ ควม หรือ เท่ากับ ๘ เส้นด้าย
๑๐ ควม เท่ากับ ๑ หลบ หรือ เท่ากับ ๘๐ เส้นด้าย
ถ้าเป็นฟืม ๑๐ หลบ เท่ากับ ๑๐๐ ควม หรือ เท่ากับ ๘๐๐ เส้นด้าย
เทคนิคการนับเช่นนี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมโดยแท้ซึ่งการการกำหนดลำดับก่อนหลังของลายผ้า สี หรือขนาดความกว้างของตาผ้าขาวม้านั้นชาวบ้านจะนับตามหน่วยข้างต้น
๕. เมื่อเตรียมด้ายลายยืนหรือค้นฮูกได้ตามขนาดความกว้างของฟืมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการในด้ายลายยืนที่เตรียมเสร็จแล้วมาเข้าฟืมหรือภาษาอิสานเรียกว่า สืบหูก ฟืมเป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าที่มีส่วนประกอบ คือ ตัวฟืม มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีซี่หลาย ๆ ซี่ตรงกลาง และมีเขาฟืมเพื่อดึงเส้นด้ายลายยืนให้ขึ้นลงขัดกับด้ายลายพุ่งในขั้นตอนการทอ ซึ่งเขาฟืมจะมีจำนวนตามลายว่าเป็นลายด้ายยืนว่าต้องการให้เป็นลายดอกหรือลายขัดธรรมดา ถ้าเป็นลายดอกฟืมจะมี ๔ เขา ถ้าเป็นผ้าขาวม้าจะนิยมใช้ฟืม ๒ เขาซึ่งเป็นลายขัด การสืบหูก คือ การนำเครือหรือด้ายลายยืนต่อเข้ากับด้ายเก่าที่ติดมากับฟืมโดยต่อตามลำดับของลายที่ได้ค้นไว้ที่ละเส้น เมื่อต่อเสร็จครบทุกสันแล้วจึงนำไปขึ้นกี่เพื่อเตรียมทอต่อไป
๖. ต่อไปเป็นการเตรียมด้ายลายพุ่ง มีวิธีการ คือ นำด้ายสีเดียวกันกับลายยืนมาปั้นใส่หลอดของกระสวยให้ได้ขนาดของกระสวย โดยใช้หลาเป็นอุปกรณ์ในการปั่นด้ายออกจากอัก
๗. เมื่อเตรียมเครือหรือด้ายลายยืน และด้ายลายพุ่งเสร็จแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่จะทอด้ายจากเส้นให้เป็นผืนผ้าขาวม้า โดยการนำด้ายที่ปั้นใส่หลอดมาใส่กระสวยซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการนำด้ายลายพุ่งให้วิ่งสอดขัดกับด้ายลายยืนกลับไปกลับมาทีละเส้นทีละสีตามลายที่กำหนดไว้ไปเรื่อยๆ จนได้ความยาวตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การทอหรือการ ต่ำหูก ในภาษาอิสาน ต้องตึงฟืมเข้าหาตัวในน้ำหนักที่เท่ากันจึงจะทำให้ผ้าที่ออกมามีความเรียบสม่ำเสมอกัน

อุปกรณ์ ->

การทอหรือการ ต่ำหูก ในภาษาอิสาน ต้องตึงฟืมเข้าหาตัวในน้ำหนักที่เท่ากันจึงจะทำให้ผ้าที่ออกมามีความเรียบสม่ำเสมอกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทอหรือการ ต่ำหูก ในภาษาอิสาน ต้องตึงฟืมเข้าหาตัวในน้ำหนักที่เท่ากันจึงจะทำให้ผ้าที่ออกมามีความเรียบสม่ำเสมอกัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา