เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลุกข้าวหอมมะลิ

โดย : นายชาญชัย เพ็งศิลา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-28-14:03:11

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๕๒ ม.๘ ต.ขวาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวหอม ที่ได้จากการ นำข้าวพันธุ์พื้นเมืองจากเกษตรกร อำเภอบางคล้า จังหวัด ฉะเชิงเทรา จำนวน 199 รวง มาปลูกเพื่อศึกษาพันธุ์ และได้ข้าวของที่ 105 ที่มีลักษณะพิเศษ คือ มีกลิ่นหอม และเมล็ดอ่อนนุ่ม เมื่อนำมาหุงต้ม สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวขาว ดอกมะลิ 105 ที่เหมาะสม ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วัตถุประสงค์ ->

การเตรียมดิน :
การเตรียมดิน มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อปรับสภาพดินของแปลงนาให้เหมาะสมกับการปลูก และการ
เจริญเติบโตของข้าว นอกจากนี้ การเตรียมดินยังช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว การเตรียมดิน จะ
มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน สภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนการลงมือปลูก รวมทั้งวิธีการทำนาของ
ตัวเกษตรกรด้วย ทั้งนาดำ นาหว่าน โดยเริ่มจากการไถดะ ไถกลบ ไถแปร และการคราดผิวหน้าดิน
1. การไถดะ และไถแปร คือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้ง ตลอดจนเป็นการคลุกเคล้าฟาง วัชพืช ฯลฯ ลงไปในดิน เครื่องมือที่ใช้ อาจเป็น รถไถเดินตามจนถึง รถแทรกเตอร์
การไถดะ เป็นการไถแปลงนาครั้งแรก เพื่อกำจัดวัชพืชที่เจริญเติบโตในช่วงหน้าแล้ง หลังการเก็บเกี่ยวข้าว และ/หรือ การปลูกพืชหลังนาเมื่อมีฝนตกลงมา ช่วงเดือนพฤษภาคม 2-3 ครั้ง เกษตรกรก็จะเริ่มไถแปลงนา โดยใช้รถไถนาแบบเดินตามหรือรถแทรกเตอร์ติดจานไถรับจ้างในหมู่บ้าน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการไถดะคือ เมื่อดินมีความชื้นลึกประมาณ1 คืบ (ประมาณ 15-20 ซม.) เมื่อไถแล้ว ดินจะร่วน กระจายไม่ติดกันเป็นก้อน ถ้ามีความชื้นมากไป ดินจะเกาะติดกันเป็นก้อน ส่วนการกำจัดวัชพืชหลังการไถดะแล้ว ต้องขังน้ำไว้ให้สูง 5-10 ซม. ในแปลงนา นานประมาณ2 สัปดาห์ เพื่อให้เศษวัชพืชเน่าเปื่อย
2. การคราดหรือใช้ลูกทุบ คือการกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็นเทือกพร้อมที่จะปักดำได้ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำต่อจากขั้นตอนที่ 1 และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดินที่เหมาะสมในการคราดหรือการใช้ลูกทุบ ในบางพื้นที่อาจมีการใช้ โรตารี

การทำนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยการหว่านเมล็ดลงไปในนาที่เตรียมพื้นที่ไว้แล้วโดยตรง เป็นวิธีการที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากประหยัดแรงงานและเวลา
การทำนาหว่าน แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1. นาหว่านข้าวแห้ง เป็นการหว่านเมล็ดข้าวเพื่อคอยฝน และมีชื่อเรียกปลีกย่อยไปตามวิธีปฏิบัติ คือ
- การหว่านสำรวย เป็นการหว่านในสภาพดินแห้ง เนื่องจากฝนยังไม่ตก โดยหลังจากการไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องคราดกลบ เมล็ดจะตกลงไปอยู่ในระหว่างก้อนดิน เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวจะงอกขึ้นมาเป็นต้น
- การหว่านหลังขี้ไถ เป็นการหว่านในสภาพที่มีฝนตกลงมา และน้ำเริ่มจะขังในกระทงนา เมื่อไถแปรแล้วก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามหลัง แล้วคราดกลบทันที
2. นาหว่านข้าวงอก หว่านน้ำตมหรือหว่านเพาะเลย โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเพาะให้งอก มีขนาดตุ่มตา (มีรากงอกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร) แล้วจึงหว่านลงในกระทงนา ซึ่งมีการเตรียมดินจนเป็นเทือก แยกเป็น
- การหว่านหนีน้ำ ทำในนาน้ำฝน เนื่องจากการหว่านข้าวแห้งหรือทำการตกกล้าไม่ทัน เมื่อฝนมามากหลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้ว ก็หว่านข้าวที่เพาะจนงอก ลงไปในกระทงนาที่มีน้ำขังอยู่มากจึงเรียกว่า นาหว่านน้ำตม
- นาชลประทาน หรือนาในเขตที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ การทำนาในสภาพนี้มักจะให้ผลผลิตสูง หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้วระบายน้ำออกหรือให้เหลือน้ำขังบนผืนนาน้อยที่สุด นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่งอกขนาด “ตุ่มตา” หวานลงไป แล้วคอยดูแลควบคุมการให้น้ำ มักจะเรียกการทำนาแบบนี้ว่า “การทำนาน้ำตมแผนใหม ”

การทำนาหว่านน้ำตม
การทำนาหว่านน้ำตมที่จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ มีคันนาล้อมรอบและสามารถควบคุมน้ำได้ การเตรียมดินก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินในนาดำ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในนามีเวลางอกเป็นต้นข้าว เพื่อลดปัญหาข้าวเรื้อ หรือข้าววัชพืชในนา แล้วจึงไถดะ แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้เมล็ดวัชพืช งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงปล่อยน้ำเข้านา แล้วทำการไถแปรและคราด หรือใช้ลูกทุบตี จะช่วยทำลายวัชพืชได้ หากทำเช่นนี้ 1-2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น
โดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 4-5 วัน หลังจากไถดะไถแปร และคราดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขังน้ำไว้ประมาณ 3สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกเสียก่อน จึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าจะหลุดลอยไปติดคันนาใต้ทางลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมดเป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงไปในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรเอาน้ำแช่ไว้ ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อน
เสียก่อน อย่างน้อย 3 อาทิตย์ แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าว จะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถหาอาหารได้ หลังจากนั้นจึงระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือกการปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก การงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ เพราะเมล็ดข้าวมักจะตายถ้าตกลงไปในแอ่งหรือหลุมที่มีน้ำขัง เว้นแต่กรณีดินเป็นกรดจัดละอองดินตกตะกอนเร็วเท่านั้นที่ต้นข้าวสามารถขึ้นได้ แต่ถ้าแปลงใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำเกิดคลื่น ทำให้ข้าวหลุดลอยง่ายและข้าวรวมกันเป็นกระจุก ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ยังช่วยควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการทำนาหว่านน้ำตมอีกด้วย การปรับพื้นที่ทำเทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวันเพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดกว้าง 3-5 เมตร ยาวตามความยาวของกระทงนา ทั้งนี้แล้วแต่ความสามารถของคนหว่าน ถ้าคนหว่านมีความชำนาญอาจแบ่งให้กว้าง การแบ่งอาจใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระหว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย และพ่นสารเคมีได้ตลอดแปลง โดยไม่ต้องเข้าไปในแปลงย่อยได้อีกด้วยการเตรียมเมล็ดพันธุ์
- ตรวจความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ พิจารณาว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปนหรือไม่ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย รูปร่างเมล็ดมีความสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปน หรือมีโรค แมลงทำลายก็ไม่ควรนำมาใช้ทำพันธุ์
- การทดสอบความงอก โดยการนำเมล็ดข้าว จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ ความงอก อาจทำ 3-4 ซ้ำเพื่อความแน่นอน เมื่อรู้ว่าเมล็ดงอกกี่เปอร์เซ็นต์จะได้กะปริมาณพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้ถูกต้อง
- คัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดที่แข็งแรง มีน้ำหนักเมล็ดดีที่เรียกว่าข้าวเต็มเมล็ด จะได้ต้นข้าวที่เจริญเติบโตแข็งแรง

อัตราเมล็ดพันธุ์
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการทำนาหว่านน้ำตม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือถ้ามีการเตรียมดินไว้ดี มีเทือกอ่อนนุ่ม พื้นดินปรับได้ระดับ เมล็ดที่ใช้เพียง 7-8 กิโลกรัมหรือ 1 ถังต่อไร่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูงแต่ถ้าพื้นที่ปรับได้ไม่ดี การระบายน้ำทำได้ยาก รวมถึงอาจมีการทำลายของนก หนู หลังจากหว่าน เมล็ดที่ใช้หว่านควรมากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสีย ดังนั้นเมล็ดที่ใช้ควรเป็นไร่ละ 15-20 กิโลกรัม

การหว่าน
ควรหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ข้าวจะได้รับธาตุอาหาร แสงแดด และเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ทำให้ได้ผลผลิตสูง โดยเดินหว่านในร่องแคบๆ ที่ทำไว้ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านแต่ละแปลงย่อย ควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามขนาดและจำนวนแปลงย่อย เพื่อเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปจะได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ในนาที่เป็นดินทรายมีตะกอนน้อยหลังจากทำเทือกแล้วควรหว่านทันที กักน้ำไว้หนึ่งคืนแล้วจึงระบายออก จะทำให้ข้าวงอกและจับดินดียิ่งขึ้น

การดูแลรักษา
การทำนาหว่านน้ำตม จะต้องมีการดูแลให้ต้นข้าวงอกดีโดยพิจารณาถึง
1. พันธุ์ข้าว การใช้พันธุ์ข้าวนาปีซึ่งมีลำต้นสูง ควรจะทำการหว่านข้าวให้ล่า ให้อายุข้าวจากหว่านถึงออกดอกประมาณ 70-80 วัน เนื่องจากความยาวแสงจะลดลง จะทำให้ต้นข้าวเตี้ยลง เนื่องจากถูกจำกัดเวลาในการเจริญเติบโตทางต้นและทางใบ ทำให้ต้นข้าวแข็งขึ้นและไม่ล้มง่าย สำหรับข้าวที่ไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรังไม่มีปัญหา เพียงแต่กะระยะให้เก็บเกี่ยวในระยะฝนทิ้งช่วง หรือหมดฝน หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าวบางพันธุ์ เช่นปทุมธานี 1 ออกดอกในฤดูหนาวเป็นต้น
2. ระดับน้ำ การจะผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงการควบคุมระดับน้ำเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มหว่านจนข้าวแตกกอ ระดับน้ำไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่ ระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องสูบน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร เพราะถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ต้นข้าวที่แตกกอเต็มที่แล้ว เพิ่มความสูงของต้น และความยาวของใบ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร เป็นเหตุให้ต้นข้าวล้ม เกิดการทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย

การใส่ปุ๋ยในนาหว่าน

การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
ในขณะที่ราคาปุ๋ยเคมีพุ่งสูงขึ้น เกษตรกรมีภาระกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไม่ตรงตามความต้องการของพืชแต่ละชนิด แต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองไปโดยเปล่าประโยชน์ การหันมาใช้อาหารเสริมพืชเฉพาะชนิด ให้ตรงตามชนิดของพืชที่ปลูก ในปริมาณที่เหมาะสม ผลิตมาเฉพาะพืชนั้นๆ ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งพืชยังได้รับคุณค่าธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และอินทรีย์วัตถุในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชชนิดนั้นๆ
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ในประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว หากไม่มีปุ๋ย16-16-8 ให้ใช้ อาหารเสริมสูตรนาข้าว ที่มีส่วนผสมของธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และอินทรียวัตถุ ในอัตราส่วน 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ย สูตร 16-8-8 ที่มีส่วนผสมของอาหารรอง และสารปรับค่าความเป็นกรด-
ด่างของดิน ที่อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่
: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว หากไม่มีปุ๋ย16-16-8 ให้ใช้อาหารเสริมสูตรนาข้าว ที่มีส่วนผสมของธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และอินทรียวัตถุ ในอัตราส่วน 40 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ย สูตร 16-8-8 ที่มีส่วนผสมของอาหารรอง และสารปรับค่าความเป็นกรด-
ด่างของดิน ที่อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ใช้อาหารเสริม สูตรนาข้าว ในอัตรา 30กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก เพื่อเป็นการเสริมธาตุโปตัสเซี่ยม ข้าวจึงสามารถเก็บสะสมแป้ง ทำให้ข้าวเต็มเมล็ด และได้น้ำหนัก
: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใช้อาหารเสริม สูตรนาข้าว ในอัตรา 40กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก เพื่อเป็นการเสริมธาตุโปตัสเซี่ยม ข้าวจึงสามารถเก็บสะสมแป้ง ทำให้ข้าวเต็มเมล็ด และได้น้ำหนัก

หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ
1. ชนิดของปุ๋ยที่จะใช้ ควรตัดสินใจก่อนว่าปุ๋ยที่ต้องการใช้เป็นปุ๋ยอะไรเป็นปุ๋ยเชิงเดี่ยว หรือปุ๋ยเชิงประกอบ แล้วจัดเตรียมปุ๋ยไว้ให้พร้อม
2. ชนิดของพันธุ์ข้าวที่จะปลูก ควรตัดสินใจว่าจะใช้พันธุ์ข้าวอะไรปลูก เช่นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งตอบสนองต่อปุ๋ยสูง ให้ผลผลิตสูงและปลูกได้ตลอดปี หรือข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ให้ผลผลิตปานกลาง และปลูกได้เพียงปีละครั้งในฤดูฝน
3. ดินที่ปลูกข้าว เก็บตัวอย่างดินหลังการเก็บเกี่ยวมาวิเคราะห์ โดยส่งให้หน่วยราชการ กรมวิชาการเกษตร ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 1-8 และศูนย์วิจัยทุกแห่งที่อยู่ทั่วประเทศ
4. ระยะเวลาที่ใส่ปุ๋ย ต้องรู้ระยะเวลาที่ควรใส่ปุ๋ยข้าว ในข้าวไวต่อช่วงแสง ควรใส่ 2 ครั้ง คือระยะแรกในช่วงปักดำ/ ในนาหว่าน 15-20 วันหลังข้าวงอก และระยะที่ข้าวกำเนิดช่อดอก ส่วนในข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ควรใส่ 3 ระยะคือระยะแรก ในช่วงปักดำ/ ในนาหว่าน 15-20 วันหลังข้าวงอก ระยะที่ข้าวแตกกอสูงสุด และยะที่ข้าวกำเนิดช่อดอก
5. วิธีการใส่ปุ๋ย ใช้วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ เช่นหว่านปุ๋ยแล้วคราดกลบก่อนปักดำ หรือหว่านข้าวเริ่มเจริญเติมโต ระยะข้าวเจริญเติมโตเต็มที่ และระยะสร้างรวงอ่อน
6. วิธีปลูก มีหลายวิธี เช่นหว่านข้าวแห้ง หว่านน้ำตม ปักดำ วิธีเหล่านี้จะเป็นเครื่องกำหนดชนิดของปุ๋ย เวลาในการใส่ รวมทั้งอัตราที่ใส่ให้เหมาะสม
7. อัตราปุ๋ยที่ใช้ โดยพิจารณาจากค่าวิเคราะห์ดินเพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพสูงสุด
8. ใส่ปุ๋ยให้ถูกกับชนิดของพืชที่ปลูก ใส่ปุ๋ยให้ถูกกับชนิดของดิน ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ใส่ปุ๋ยให้พืชในขณะที่พืชต้องการ ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายที่สุดและเร็วที่สุด

9. การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะต่างก็มีหน้าที่และมีความสำคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินกันคนละแง่ ซึ่งต่างก็ส่งเสริมกันและกัน ตวามดีของปุ๋ยเคมีจะทดแทนโดยปุ๋ยอินทรีย์แต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ และความดีของปุ๋ยอินทรีย์ จะใช้ปุ๋ยเคมีแทนก็ไม่ได้เช่นกัน

การเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105
ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน ซึ่งข้าวอยู่ในระยะพลับพลึง หรือเหลืองกล้วย เป็นระยะที่ข้าวมีอายุได้ประมาณ 27-30 วัน หลังข้าวออกดอก (วันที่ข้าวออกดอกให้เริ่มนับจากวันที่ข้าวในนา 80% ได้ออกดอกแล้ว) ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 10 วัน ให้ระบายน้ำในนาออกให้หมด เพื่อเร่งให้ข้าวแก่และเก็บเกี่ยวได้สะดวก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องตากข้าวไว้ 3-4 แดด(วัน) ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อลดความชื้นลงเหลือ 12-14% เพื่อให้ข้าวแห้งเสมอกัน โดยแผ่รวงข้าวบนตอซัง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ข้อดีของข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105
1.) ต้นสูง ทำให้เก็บเกี่ยวง่าย
2.) ทนแล้งได้ดีพอสมควร บางครั้งสามารถปลูกเป็นข้าวไร่ได้
3.) เมล็ดข้าวสารใส แข็งแกร่ง คุณภาพการขัดสีดี
4.) คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม และอ่อนนิ่ม
5.) อายุข้อนค่างเบา เก็บเกี่ยวได้เร็ว
6.) ขายได้ราคาดีกว่าข้าวพันธุ์อื่น
7.) นวดง่าย เนื่องจากเมล็ดหลุดร่วงจากรวงง่าย
8.) ทนทานต่อดินเปรี้ยวและดินเค็ม

 

อุปกรณ์ ->

การเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105
ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน ซึ่งข้าวอยู่ในระยะพลับพลึง หรือเหลืองกล้วย เป็นระยะที่ข้าวมีอายุได้ประมาณ 27-30 วัน หลังข้าวออกดอก (วันที่ข้าวออกดอกให้เริ่มนับจากวันที่ข้าวในนา 80% ได้ออกดอกแล้ว) ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 10 วัน ให้ระบายน้ำในนาออกให้หมด เพื่อเร่งให้ข้าวแก่และเก็บเกี่ยวได้สะดวก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องตากข้าวไว้ 3-4 แดด(วัน) ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อลดความชื้นลงเหลือ 12-14% เพื่อให้ข้าวแห้งเสมอกัน โดยแผ่รวงข้าวบนตอซัง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- ในเขตชลประทานที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ ควรทำนาดำ หรือนาหว่าน น้ำตมแผนใหม่ โดยนาดำให้เริ่มตกกล้ากลางเดือน กรกฎาคม ปักดำต้น สิงหาคม แล้วข้าวจะออกดอกประมาณ 20 ตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ 20 พฤศจิกายนของทุกปี ส่วนนาหว่าน น้ำตมแผนใหม่ ให้หว่านประมาณ ปลายเดือนกรกฎาคมถึง ต้นเดือนสิงหาคม แล้วเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือน พฤศจิกายน

- ในพื้นที่ฝนตกน้อยหรือฝนล่า ควรทำนาหว่าน หรือนาหยอด โดยช่วง เวลาปลูกที่เหมาะสมอยู่ระหว่างปลายเดือน กรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม และข้าวจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วง ปลายเดือนพฤศจิกายน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา