เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการปลูกข้าวหอมมะลิ

โดย : นายสถิต สุกันยา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-28-12:26:59

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๐๕ บ้านทรายมูล หมู่ที่ ๔ ตำบลขวาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันเกษตรกรได้ใช้วิธีการสมัยใหม่ในการปลูกข้าวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร  ใช้ปุ๋ยเคมี ,ใช้ยาฆ่าแมลงในการกำจัดแมลงศัตรูข้าว  ทำให้มีผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นสันและระยะยาวเมื่อนำข้าวที่ตนเองปลูกแล้วมาบริโภคทำให้บริโภคได้อย่างสนิทใจ  เวลานำมาใช้ในการปลูกพืชปลอดภัยกับสุขภาพและยังเป็นการลดต้นทุน พร้อมทั้งอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อมในโลกให้ดีขึ้น  เมื่อนำไปขายให้กับคนในชุมชนจึงเป็นข้าวที่ปลอดสารพิษ

วัตถุประสงค์ ->

การปลูกข้าวพันธุ์หอมมะลิ-105
ลักษณะทั่วไปของข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้าชนิดไวต่อช่วงแสง ต้นข้าวสูงประมาณ 140-150 ซม. ข้าวจะออกดอกประมาณวันที่ 20 ตุลาคม และสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี (ข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร 2541)
การทำนาหว่านน้ำตม
การทำนาหว่านน้ำตมที่จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ มีคันนาล้อมรอบและสามารถควบคุมน้ำได้ การเตรียมดินก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินในนาดำ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในนามีเวลางอกเป็นต้นข้าว เพื่อลดปัญหาข้าวเรื้อ หรือข้าววัชพืชในนา แล้วจึงไถดะ แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้เมล็ดวัชพืช งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงปล่อยน้ำเข้านา แล้วทำการไถแปรและคราด หรือใช้ลูกทุบตี จะช่วยทำลายวัชพืชได้ หากทำเช่นนี้ 1-2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น
โดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 4-5 วัน หลังจากไถดะไถแปร และคราดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขังน้ำไว้ประมาณ 3สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกเสียก่อน จึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าจะหลุดลอยไปติดคันนาใต้ทางลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมดเป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงไปในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรเอาน้ำแช่ไว้ ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อน
เสียก่อน อย่างน้อย 3 อาทิตย์ แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าว จะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถหาอาหารได้ หลังจากนั้นจึงระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือกการปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก การงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ เพราะเมล็ดข้าวมักจะตายถ้าตกลงไปในแอ่งหรือหลุมที่มีน้ำขัง เว้นแต่กรณีดินเป็นกรดจัดละอองดินตกตะกอนเร็วเท่านั้นที่ต้นข้าวสามารถขึ้นได้ แต่ถ้าแปลงใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำเกิดคลื่น ทำให้ข้าวหลุดลอยง่ายและข้าวรวมกันเป็นกระจุก ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ยังช่วยควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการทำนาหว่านน้ำตมอีกด้วย การปรับพื้นที่ทำเทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวันเพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดกว้าง 3-5 เมตร ยาวตามความยาวของกระทงนา ทั้งนี้แล้วแต่ความสามารถของคนหว่าน ถ้าคนหว่านมีความชำนาญอาจแบ่งให้กว้าง การแบ่งอาจใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระหว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย และพ่นสารเคมีได้ตลอดแปลง โดยไม่ต้องเข้าไปในแปลงย่อยได้อีกด้วยการเตรียมเมล็ดพันธุ์
- ตรวจความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ พิจารณาว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปนหรือไม่ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย รูปร่างเมล็ดมีความสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปน หรือมีโรค แมลงทำลายก็ไม่ควรนำมาใช้ทำพันธุ์
- การทดสอบความงอก โดยการนำเมล็ดข้าว จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ ความงอก อาจทำ 3-4 ซ้ำเพื่อความแน่นอน เมื่อรู้ว่าเมล็ดงอกกี่เปอร์เซ็นต์จะได้กะปริมาณพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้ถูกต้อง
- คัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดที่แข็งแรง มีน้ำหนักเมล็ดดีที่เรียกว่าข้าวเต็มเมล็ด จะได้ต้นข้าวที่เจริญเติบโตแข็งแรง

อัตราเมล็ดพันธุ์
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการทำนาหว่านน้ำตม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือถ้ามีการเตรียมดินไว้ดี มีเทือกอ่อนนุ่ม พื้นดินปรับได้ระดับ เมล็ดที่ใช้เพียง 7-8 กิโลกรัมหรือ 1 ถังต่อไร่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูงแต่ถ้าพื้นที่ปรับได้ไม่ดี การระบายน้ำทำได้ยาก รวมถึงอาจมีการทำลายของนก หนู หลังจากหว่าน เมล็ดที่ใช้หว่านควรมากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสีย ดังนั้นเมล็ดที่ใช้ควรเป็นไร่ละ 15-20 กิโลกรัม

การหว่าน
ควรหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ข้าวจะได้รับธาตุอาหาร แสงแดด และเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ทำให้ได้ผลผลิตสูง โดยเดินหว่านในร่องแคบๆ ที่ทำไว้ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านแต่ละแปลงย่อย ควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามขนาดและจำนวนแปลงย่อย เพื่อเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปจะได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ในนาที่เป็นดินทรายมีตะกอนน้อยหลังจากทำเทือกแล้วควรหว่านทันที กักน้ำไว้หนึ่งคืนแล้วจึงระบายออก จะทำให้ข้าวงอกและจับดินดียิ่งขึ้น

การดูแลรักษา
การทำนาหว่านน้ำตม จะต้องมีการดูแลให้ต้นข้าวงอกดีโดยพิจารณาถึง
1. พันธุ์ข้าว การใช้พันธุ์ข้าวนาปีซึ่งมีลำต้นสูง ควรจะทำการหว่านข้าวให้ล่า ให้อายุข้าวจากหว่านถึงออกดอกประมาณ 70-80 วัน เนื่องจากความยาวแสงจะลดลง จะทำให้ต้นข้าวเตี้ยลง เนื่องจากถูกจำกัดเวลาในการเจริญเติบโตทางต้นและทางใบ ทำให้ต้นข้าวแข็งขึ้นและไม่ล้มง่าย สำหรับข้าวที่ไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรังไม่มีปัญหา เพียงแต่กะระยะให้เก็บเกี่ยวในระยะฝนทิ้งช่วง หรือหมดฝน หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าวบางพันธุ์ เช่นปทุมธานี 1 ออกดอกในฤดูหนาวเป็นต้น
2. ระดับน้ำ การจะผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงการควบคุมระดับน้ำเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มหว่านจนข้าวแตกกอ ระดับน้ำไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่ ระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องสูบน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร เพราะถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ต้นข้าวที่แตกกอเต็มที่แล้ว เพิ่มความสูงของต้น และความยาวของใบ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร เป็นเหตุให้ต้นข้าวล้ม เกิดการทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย

การใส่ปุ๋ยในนาหว่าน (ในเขตชลประทาน)
ดินร่วนทรายหรือดินทรายอิสานตอนไต้
การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1
ในขณะที่ราคาปุ๋ยเคมีพุ่งสูงขึ้น เกษตรกรมีภาระกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไม่ตรงตามความต้องการของพืชแต่ละชนิด แต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองไปโดยเปล่าประโยชน์ การหันมาใช้อาหารเสริมพืชเฉพาะชนิด ให้ตรงตามชนิดของพืชที่ปลูก ในปริมาณที่เหมาะสม ผลิตมาเฉพาะพืชนั้นๆ ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งพืชยังได้รับคุณค่าธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และอินทรีย์วัตถุในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชชนิดนั้นๆ
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ในประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว หากไม่มีปุ๋ย16-16-8 ให้ใช้ อาหารเสริมสูตรนาข้าว ที่มีส่วนผสมของธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และอินทรียวัตถุ ในอัตราส่วน 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ย สูตร 16-8-8 ที่มีส่วนผสมของอาหารรอง และสารปรับค่าความเป็นกรด-
ด่างของดิน ที่อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่
: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว หากไม่มีปุ๋ย16-16-8 ให้ใช้อาหารเสริมสูตรนาข้าว ที่มีส่วนผสมของธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และอินทรียวัตถุ ในอัตราส่วน 40 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ย สูตร 16-8-8 ที่มีส่วนผสมของอาหารรอง และสารปรับค่าความเป็นกรด-
ด่างของดิน ที่อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2
: ข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ใช้อาหารเสริม สูตรนาข้าว ในอัตรา 30กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก เพื่อเป็นการเสริมธาตุโปตัสเซี่ยม ข้าวจึงสามารถเก็บสะสมแป้ง ทำให้ข้าวเต็มเมล็ด และได้น้ำหนัก
: ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใช้อาหารเสริม สูตรนาข้าว ในอัตรา 40กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก เพื่อเป็นการเสริมธาตุโปตัสเซี่ยม ข้าวจึงสามารถเก็บสะสมแป้ง ทำให้ข้าวเต็มเมล็ด และได้น้ำหนัก
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ข้อดีข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105
1.) ต้นสูง ทำให้เก็บเกี่ยวง่าย
2.) ทนแล้งได้ดีพอสมควร บางครั้งสามารถปลูกเป็นข้าวไร่ได้
3.) เมล็ดข้าวสารใส แข็งแกร่ง คุณภาพการขัดสีดี
4.) คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม และอ่อนนิ่ม
5.) อายุข้อนค่างเบา เก็บเกี่ยวได้เร็ว
6.) ขายได้ราคาดีกว่าข้าวพันธุ์อื่น
7.) นวดง่าย เนื่องจากเมล็ดหลุดร่วงจากรวงง่าย
8.) ทนทานต่อดินเปรี้ยวและดินเค็ม

อุปกรณ์ ->

ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน ซึ่งข้าวอยู่ในระยะพลับพลึง หรือเหลืองกล้วย เป็นระยะที่ข้าวมีอายุได้ประมาณ 27-30 วัน หลังข้าวออกดอก (วันที่ข้าวออกดอกให้เริ่มนับจากวันที่ข้าวในนา 80% ได้ออกดอกแล้ว) ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 10 วัน ให้ระบายน้ำในนาออกให้หมด เพื่อเร่งให้ข้าวแก่และเก็บเกี่ยวได้สะดวก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องตากข้าวไว้ 3-4 แดด(วัน) ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อลดความชื้นลงเหลือ 12-14% เพื่อให้ข้าวแห้งเสมอกัน โดยแผ่รวงข้าวบนตอซัง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน ซึ่งข้าวอยู่ในระยะพลับพลึง หรือเหลืองกล้วย เป็นระยะที่ข้าวมีอายุได้ประมาณ 27-30 วัน หลังข้าวออกดอก (วันที่ข้าวออกดอกให้เริ่มนับจากวันที่ข้าวในนา 80% ได้ออกดอกแล้ว) ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 10 วัน ให้ระบายน้ำในนาออกให้หมด เพื่อเร่งให้ข้าวแก่และเก็บเกี่ยวได้สะดวก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องตากข้าวไว้ 3-4 แดด(วัน) ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อลดความชื้นลงเหลือ 12-14% เพื่อให้ข้าวแห้งเสมอกัน โดยแผ่รวงข้าวบนตอซัง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา