เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก

โดย : นายวนิตย์ ตรางา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-28-10:46:11

ที่อยู่ : เลขที่14 บ้านโนนยาง ม.1 ต.ขวาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือนหรือเพื่อศึกษาแล้วต่อยอดเพื่อเพาะเห็ดฟางขาย

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการ เพาะ เห็ดฟาง

 

    ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน

    หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า

    ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ

    อาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า

    โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1

    ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1

    ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ขยัน อดทน เพียรพยายามให้ถึงที่สุด

อุปกรณ์ ->

การดูแลรักษาสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า

 

    สถานที่ควรเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท

    ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว

    รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน

    คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือแสลน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน

    ครบ 3 คืน เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วันเก็บผลผลิตได้

    ผลผลิต 1 ตะกร้า 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอาหารเสริม ยิ่งใส่มาก ผลผลิตยิ่งสูงตาม

    อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายๆอย่างก็ได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เห็ดฟางนั้น มีประโยชน์คือ เป็นเห็ดที่มี ไขมันต่ำแคลลอรี่น้อย และไม่มีคลอเรสเตอรอล มีคาร์โบไฮเดรตแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 บี2 วิตามินซี นอกจากนี้ยังมี ซีลิเนียม โพแทสเซียม ช่วยต้านมะเร็งลดความดันโลหิต เห็ดฟางยังมีโปรตีนสูงและกรดอะมิโนต่างๆ การทานเห็ดฟางจึงดีต่อสุขภาพ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน…เห็ดฟางมีประโยชน์ขนาดนี้แล้วจึงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ถ้าหากปลูกขายแล้วเชื่อแน่ว่า น่าจะเป็นอีกธุรกิจเกษตรทำเงินแน่นอน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา