เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

จักสานพลาสติก

โดย : นางฉลาด พงศ์ศาสตร์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-24-11:07:55

ที่อยู่ : บ้านหนองทับครัว ม.9 ต.หนองใหญ่ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จักสานพลาสติก เป็นศิลปะการจักสานที่มีลวดลายสวยงาม การออกแบบ สีสันของเส้นพลาสติก ลวดลายต่าง ๆตามความต้องการของลูกค้า มีความละเอียดประณีต เรียบร้อย ได้มาตรฐาน คงทน สมประโยชน์ ราคาไม่แพง มีการพัฒนารูปแบบทันสมัยอย่างต่อเนื่องและเป็นสากล แต่กระบวนการผลิตยังใช้แบบดั่งเดิม ทำให้มองเห็นคุณค่าและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนบ้านพราน เป็นผลงานจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ประสานภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ให้เข้ากันได้อย่างลงตัวและเหมาะสม

การส่งเสริมและการอนุรักษ์การจักสาน โดยให้มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนารูปแบบตลอดเวลา จึงมีการถ่ายทอดให้กับผู้ที่ต้องการศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพให้กับแม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างมีคุณภาพและเป็นการอนุรักษ์ และป้องกันภูมิปัญญามิให้สูญหาย  ปัจจุบันการจักสานพลาสติกของตำบลศรีพราน เปรียบเสมือนเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนเนื่องจากเป็นอาชีพเสริมที่ทำให้เกิดรายได้ดีทำให้คนในชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการผลิต

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

 

๒.๑.๑ เส้นพลาสติก
๒.๑.๒ กรรไกร
๒.๑.๓ ไม้ตะเกียบ

 

ขั้นตอนการผลิต

 

๒.๒.๑ ตัดเส้นพลาสติกยาวกว่ากระเป๋าแบบ ๒๐ -๓๐ ซม. จำนวนความกว้าง ๑๑ เส้น จำนวนความยาว ๒๓ เส้น
๒.๒.๒ นำเส้นพลาสติกที่ตัดไว้โดยนำ ๑๑ เส้นมาเรียงไว้ (ความกว้างของกระเป๋า)
๒.๒.๓ นำเส้นพลาสติกที่เหลือ 23 เส้น นำมาสานที่ละเส้น
๒.๒.๔ เมื่อนำมาสานครบทั้ง 23 เส้นแล้ว หลังจากนั้นจัดเส้นพลาสติกให้แน่นไม่ให้มีช่องว่าง
๒.๒.๕ เมื่อจัดเส้นพลาสติกแล้ว ให้นำเส้นพลาสติกทุกด้านมาขัดกับลาย โดยขัดเว้นเส้น
๒.๒.๖ ขึ้นลายข้างกระเป๋า โดยการสานจะใช้ 3 เส้นในการสาน 1 รอบ
๒.๒.๗ ดึงเส้นพลาสติกที่ขัดไว้มาสานกับ ๓ เส้นที่ขึ้นลาย
๒.๒.๘ สานสลับเส้น
๒.๒.๙ เมื่อขัดเส้นที่ขัดไว้กับลายแล้ว ให้สานเส้นถัดไปเหมือนเดิม
๒.๒.๑๐ แล้วพับลงมาขัดกับลาย
๒.๒.๑๑ เมื่อสานเสร็จแล้ว ให้บีบตามขอบของกระเป๋า เพื่อทำให้เป็นทรง
๒.๒.๑๒ ใส่หูถือกระเป๋าและกระดุม ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย

 

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

 

ตอนขึ้นฐานกระเป๋าให้วางเรียงเส้นพลาสติก ติดกัน ๗ เส้น แล้วใช้หนังสือวางทับ เพื่อไม่ให้พลาสติกขยับไปมา แล้วค่อย ๆ เอาพลาสติก ๑๗ เส้น สอดสลับกันจนหมด ก็จะได้ฐานกระเป๋า (ถ้าต้องการให้กว้าง ยาว สูง มากกว่านี้ก็ตามชอบ แต่ต้องเผื่อกว้างยาว สูง ๕ นิ้ว ไว้สำหรับสอดเก็บเสมอ)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความอดทน ความตั้งใจ และความปราณีต

อุปกรณ์ ->

ไม่มี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ฝีมือ แรงงาน คือ คนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มสมาชิกในหมู่บ้าน ตำบล รวมทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่คนในชุมชน อีกทั้งส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชน หมู่บ้าน มีอาชีพมั่นคง ครอบครัวอบอุ่น โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองหลวง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา