เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ข้าวเกรียบสมุนไพร

โดย : นายสมหมาย แวงเลิศ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-24-10:53:35

ที่อยู่ : บ้านดอนชาด ม.8 ต.หนองใหญ่ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 ข้าวเกรียบที่ทำมีรสชาด กลิ่น สี เหมือนสมุนไพร และมีสีที่เป็นธรรมชาติ
ไม่มีการใช้สีสังเคราะห์ผสมในเนื้อข้าวเกรียบ กลิ่นหอมทำให้น่ารับประทาน และที่สำคัญสามารถเก็บไว้ รับประทานได้เป็นระยะเวลานาน

ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตนเองโดยใช้วัตถุที่มีอยู่ในพื้นบ้านหาได้ง่าย และสมาชิกกลุ่มได้มีการประชุมปรึกษากัน
จึงมีข้อเสนอตกลงร่วมกันจัดทำข้าวเกรียบโดยเริ่มแรกใช้ฟักทอง ซึ่งหาได้ง่ายในหมู่บ้านเพราะประชาชน
มีการปลูกไว้กินกันเองและเพื่อจำหน่าย นำมาจัดทำเป็นข้าวเกรียบฟักทองโดยให้สมาชิกและคนที่อยู่ใน
หมู่บ้านช่วยกันชิม ติชมรสชาติเพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
นอกจากนั้นกลุ่มจึงได้มีแนวคิดที่นำสมุนไพรที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาดัดแปลงและผสมทำเป็น
ข้าวเกรียบ เพราะสมุนไพรต่าง ๆ นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ และได้นำสมุนไพร เช่น ใบกระเพรา
ขิง ใบตำลึง และผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะละกอ สับปะรด เผือก มะม่วง เป็นต้น นำมาทดลองเป็นส่วน
ผสมของข้าวเกรียบแล้วแจกจ่ายให้กับสมาชิกและคนในหมู่บ้านได้ทดลองชิมรสชาด ซึ่งทุกคนเมื่อได้ชิมแล้ว
ลงความคิดเห็นเหมือนกันคือมีรสชาติที่อร่อย มีกลิ่นที่เป็นสมุนไพรเป็นธรรมชาติ สีของข้าวเกรียบเป็นสีของ
สมุนไพรและผลไม้ที่ผสมเป็นสีแบบธรรมชาติ จึงทำให้ข้าวเกรียบสมุนไพรของกลุ่มนี้เป็นที่นิยมทั่วไปใน
ท้องตลาดเพราะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบต่าง ๆ ที่นำมาเป็นส่วนผสมเพื่อผลิตเป็นข้าวเกรียบสมุนไพร ใช้วัตถุดิบภายในหมู่บ้าน
เช่น ใบกระเพา ใบตำลึง มะละกอ ขิง มะม่วง กล้วย เผือก ฟักทอง มันสีม่วง เป็นต้น และในการ
ถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลังได้ทราบ คือ การเป็นวิทยากรสอนขั้นตอน วิธีการทำ ให้แก่กลุ่มแม่บ้าน
ในหมู่บ้าน ตำบล รวมถึงภายนอกตำบล และได้นำความรู้เผยแพร่ให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนชุมชนได้รับรู้
ได้ฝึกสาธิตการทำ

กระบวนการผลิต

 

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

 

1 แป้งมัน
2 น้ำสะอาด
3 สมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่น ใบกระเพา ใบตำลึง ขิง ฟักทอง เผือก มะม่วง มันสีม่วง มะละกอ สับปะรด เป็นต้น
4 พริกไทยขาว
5 กระเทียม
6 เกลือไอโอดีน
7 น้ำตาลทราย
8 เครื่องปั่นสำหรับปั่นสมุนไพรให้ละเอียด
9 เครื่องชั่งสำหรับชั่งส่วนผสม
10 เครื่องตัดแผ่นข้าวเกรียบ
11 เครื่องบรรจุถุง
12 ภาชนะสำหรับในส่วนผสม และสำหรับตากให้แห้ง

 

ขั้นตอนการผลิต

 

1 นำแป้งมันมาร่อนแล้วนำไปชั่งให้ได้สัดส่วน
2 นำสมุนไพรที่ต้องการจะทำ เช่น ใบกระเพา ใบตำลึง ขิง มะละกอ เผือก เป็นต้น
มาหั่นให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วนำมาปั่นให้ละเอียดให้มากที่สุด
3 นำกระเทียมสอยให้เป็นชิ้นเล็ก นำพริกไทยขาวมาป่นให้ละเอียด แล้วนำไปปั่นรวมกับ
สมุนไพรให้เข้ากัน จากนั้นเทลงภาชนะที่เตรียมไว้แล้วนำเกลือไอโอดีนป่นผสมเพื่อให้
เกิดรสชาดความเค็มเล็กน้อย
4 นำน้ำสมุนไพรที่ปั่นรวมกับส่วนผสมแล้วไปตั้งไฟให้ร้อน แต่อย่าให้เดือดมากไฟไม่ต้องแรง
3 นำน้ำสมุนไพรที่ต้มสุกแล้วมาตั้งทิ้งไว้ให้อุ่นแล้วนำมาผสมกับแป้งมันนวดแป้งให้เกิดความ
เหนียวโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที
4 เมื่อนวดแป้งมันที่ผสมกับสมุนไพรที่เตรียมไว้เสร็จแล้วนำมาแบ่งเป็นส่วนให้เท่า ๆ กัน
เพื่อจัดทำเป็นแท่งแล้วนำไปใสถุงพลาสติกจากนั้นนำไปใส่ซึ้งเพื่อนึ่งให้แป้งมันสุก
เมื่อสุกแล้วนำออกทิ้งไว้ให้เย็นแล้วนำไปแช่ตู้เย็น โดยแช่ในช่องธรรมดาประมาณ 2 วัน
เพื่อให้เกิดความแข็งตัว จากนั้นนำมาหั่นให้เป็นแผ่นเล็กแล้วนำไปใส่ภาชนะเพื่อสำหรับ
ตากให้แผ่นข้าวเกรียบแห้งให้สนิท โดยตากประมาณ 2 วัน เมื่อข้าวเกรียบแห้งสนิท
นำมาทอดโดยใช้น้ำมันที่ร้อนจัด เมื่อสุกแล้วพักไว้ในภาชนะเพื่อน้ำมันแห้งและ
ข้าวเกรียบเย็นแล้วนำไปบรรจุในถุงเพื่อออกจำหน่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความตั้งใจและความมุ่งมั่น

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1 การต้นสมุนไพรต้องไม่ให้เดือดจัดเพราะจะทำให้นวดกับแป้งยาก
2 การนำแป้งที่นวดแล้วไปแช่ตู้เย็นต้องแช่ให้ความเย็นพอดีซึ่งเวลามาตัดเป็นแผ่นจะทำให้
แผ่นข้าวเกรียบเกิดความสวยงาม
3 การตากแผ่นข้าวเกรียบต้องตากแดดให้แห้งสนิทเพื่อจะได้เก็บไว้นาน ๆ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา