เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ทอเสื่อกก

โดย : นายสาคร รัตนวงศ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-23-23:35:36

ที่อยู่ : บ้านเหล่าน้อย ม.5 ต.วังสามัคคี อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การใช้กกนำมาทำเสื่อมีมานานแล้วเพื่อเป็นการนำกกที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่มีอยู่มานำมาแปรรูป เพื่อใช้ประโยชน์ในบ้าน และได้มีการพัฒนาทำรูปแบบหลายต่างๆ ด้วยการย้อมสี และทำลวดลายใหม่ขึ้นมา การทอเสื่อกกเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้นย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อเสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ  ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่งต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีตการทอเสื่อกก ของชาวอำเภอเสลภูมิ เป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินสืบเนื่องกันมาในระบบครอบครัวนับตั้งแต่บรรพชนจนถึงปัจจุบัน เกือบทุกครัวเรือนที่ลูกหลานต่างซึมซับรับรู้ภูมิปัญญาด้านการทอเสื่อนี้เข้าไว้ในตัวแม้ชาวชุมชนจะมีอาชีพหลักทางด้านเกษตรกรรมการทำนาและทำไร่และมีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกต้นกก เพื่อให้ได้วัตถุดิบมาทอเป็นเสื่อสร้างรายได้เสริมยามว่างจากเกษตรกรรม

ครั้นมีหน่วยงานทางราชการเข้ามาแนะนำส่งเสริมทั้งการพัฒนาปรับปรุงการทอเสื่อตามนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ธุรกิจชุมชน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  ทำให้เกิดการตื่นตัวของชาวชุมชน มีการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการเป็นกลุ่มแม่บ้านทอเสื่อพับจากต้นกก หมู่ที่ 1 สร้างความเข้มแข็ง  สร้างภูมิคุ้มกันแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อนี้ให้มีความมั่นคงขึ้นแม้ปัจจุบันกระแสความนิยมในการใช้เสื่อกกจะลดลง ค่านิยมในการทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรมของคนรุ่นใหม่มีมาอย่างต่อเนื่องแต่ผลิตภัณฑ์เสื่อกกของชุมชนหมู่ 1 บ้านท่าไคร้ ตำบลกลาง ก็ยังมีการทำออกมาอย่างไม่ขาดสาย เพราะคนหนุ่มคนสาวถึงแม้จะอยู่ที่โรงงาน แต่คนแก่คนเฒ่าที่เฝ้าบ้านรอการเก็บเกี่ยวผลิตผลด้านการเกษตร ต่างไม่ปล่อยเวลาว่างให้ผ่านไปโดยสูญเปล่า การทอเสื่อกกของชุมชนจึงยังคงอยู่ได้เสมอมาจนถึงวันนี้

                    การทอเสื่อเป็นไปเพื่อการใช้สอยในครัวเรือนเสื่อในอดีตเป็นของใช้ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับปูนั่งหรือนอนจนถึงกับมีคำกล่าวว่า บ้านใดไม่มีเสื่อใช้ ถือว่า พ่อ แม่ ลูก เกียจคร้านไม่มีฝีมือ หนุ่มสาวที่แต่งงานตั้งครอบครัวใหม่หรือขึ้นเรือนใหม่ จะต้องเตรียมที่นอน หมอน มุ้ง  ส่วนเสื่อฝ่ายหญิงจะจัดเตรียมทอสะสมไว้เป็นของขึ้นเรือน นอกจากนี้ยังทอเสื่อเพื่อถวายเป็นไทยทานให้กับวัด เพื่อบำรุงศาสนาในฤดูเทศกาลต่างๆ  และยังนำเสื่อที่ทอไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกับหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วยดังเช่นบ้านท่าไคร้ หมู่ที่ 3 ตำบลกลาง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ก็มีค่านิยมทางวัฒนธรรมดังเช่นที่กล่าวมา  ดังนั้นภูมิปัญญาด้านการทอเสื่อกกจึงเสมือนภูมิรู้พื้นบ้านที่แต่ละครัวเรือนต้องปลูกฝังให้ลูกหลานมีความรู้มิให้ได้ชื่อว่าเกียจคร้าน ไม่ต้องเสียเงินทองไปซื้อหา และไม่ให้เวลาว่างสูญไปโดยเปล่าประโยชน์  ซึ่งนอกจากจะทอไว้เพื่อใช้เองในครัวเรือนแล้วยังสามารถทอเป็นอาชีพสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่งปัจจุบันขณะที่แนวโน้มภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ กำลังจะสูญหายไปแต่การทอเสื่อที่บ้านท่าไคร้ ตำบลกลาง กลับเกาะกลุ่มเป็นชุมชนเข้มแข็งยืนหยัดพัฒนาภูมิปัญญานี้ต้านกระแสค่านิยมใหม่ของสังคมอย่างเหนียวแน่น เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานสืบต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการทอเสื่อกก

 

          ขั้นตอนที่ 1  การสอยต้นกก

          1.  ตัดต้นกกสด

          2.  คัดเลือกต้นกกที่มีขนาดเท่ากันไว้ด้วยกัน

          3.  นำต้นกกที่คัดแล้วมาสอยเป็นเส้นเล็กโดยใช้มีดปลายแหลมคม(มีดแกะสลัก หรือเข็ม)

          4.  นำเส้นกกที่สอยแล้วมาผึ่งแดดให้แห้ง(ถ้าเป็นไปได้ต้องเป็นแดดที่กล้าจัด)

          5.  นำเส้นกกสอยที่ตากแห้งแล้วมามัดเป็นมัดๆรอการย้อมสี

 

          ขั้นตอนที่ 2  การย้อมสี

           1.  เลือกซื้อสีสำหรับย้อมกกสีต่างๆที่มีสีสันสวยงาม เช่น สีแดง สีชมพู สีเหลือง สีม่วง สีดำ สีเขียวเป็นต้น

           2.  ก่อไฟโดยไฟที่ใช้ต้องสม่ำเสมอ

          3.  นำปี๊ปหรือกระทะใบใหญ่ ใส่น้ำพอประมาณท่วมเส้นกกนำมาตั้งบนเตารอให้น้ำเดือด

          4.  พอน้ำเดือดก็นำสีที่เลือกมาเทลง

          5. นำเส้นกกที่คัดเลือกแล้วลงย้อมจนเพียงพอที่จะใช้ในการทอ

          6.  นำเส้นกกที่ย้อมสีแล้วลงล้างในน้ำเปล่าแล้วนำไปตากแดดที่จัดจนแห้ง

          7.  นำเส้นกกที่ย้อมสีตากแห้งแล้วมากเก็บมัดรวมกัน โดยแยกเป็นสี แต่ละสี

 

          ขั้นตอนที่  3  การทอเสื่อกก

          1.  กางกี่ที่ทำสำเร็จรูปแล้วมากาง  (กี่ขนาดทอคนเดียว)

          2.  นำเชือกไนลอนสำหรับทอเสื่อมาโยงใส่ฟืมจนเสร็จ

          3.  ฟืมที่ใช้ต้องมีขนาดเท่ากับเส้นกกและฟืมแต่ละฟืมก็อาจจะใช้ทอลายไม่เหมือนกัน

          4.  นำเส้นกกที่ย้อมสีตากจนแห้งแล้วนำมาทอเสื่อลายต่างๆ ตามต้องการ

          5.  นำเส้นกกที่สอยและย้อมสีแล้วเลือกว่าจะใช้สีใดบ้างที่จะทอเสื่อ

          6.   เลือกลายแล้วเริ่มทอจนเป็นแผ่น

          7.  พอทอเสร็จก็ตัดแล้วหลังจากนั้นก็นำไปตากแดดเพื่อไม่ให้สีตก

          8.  หลังจากนั้นก็นำมาเก็บในที่ร่ม

          9.  เมื่อครบสามพับแล้วก้อนำมาเย็บต่อกันเป็นเสื่อพับ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความอดทอน ความมุ่งมั่น และความปราณีต 

อุปกรณ์ ->

1. ควรเลือกเส้นกกที่มีลักษณะแก่พอดี ไม่แก่ หรือ ไม่อ่อนเกิน ไป โดยสังเกตุลักษณะของสี จะออกสีเขียวแก่สม่ำเสมอ 

2. การย้อมสีควร ไล่จากสีอ่อนไปหาสีแก่ และ ควรศึกษาเทคนิคการย้อมสีให้ดี

3. อุปกรณ์สำหรับสอยเส้นกก ควรเลือกอุปกรณ์เฉพาะ จะทำให้ได้เส้นกกที่สวยงาม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- การศึกษาปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไขปัญหา

                - ฝึกอบรม / สัมมนาให้ความรู้แก่สมาชิกในกลุ่มอาชีพ

                - ประชุม / จักทำแผนการดำเนินงาน

                - ควรศึกษาข้อมูลการผลิตเสื่อจากต้นกก จากแหล่งอื่นเพิ่มเติมด้วย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา