เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ส่งเสริมการตลาดกลุ่มจักสานกระติ๊บข้าว

โดย : นายทนงศักดิ์ สายชารี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-10-10-16:17:58

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองยโสธร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระติบข้าว คือ ภาชนะในการเก็บอาหารที่เป็นงานหัตถกรรมอันทรงคุณค่าชนิดหนึ่งที่มากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นของที่ใช้ประจำบ้านของชาวไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมายาวนาน ใช้สำหรับบรรจุข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว  เพื่อรักษาคุณภาพของข้าวนึ่งสุกหรือใช้เก็บเมล็ดพันธุ์พืช หรือแม้แต่ใช้เป็นเครื่องประดับในครัวเรือนหรือประดับสถานที่ต่างๆ เป็นเครื่องจักสานที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก ใบตาล ใบลาน ต้นคล้า ต้นไหล ต้นกก หรือ จากต้นพืชที่มีลักษณะยาวเรียวการสานกระติบเป็นงานหัตถกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม และค่านิยมในการบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ แต่เดิมภาชนะที่ใช้บรรจุข้าวเหนียวมักทำจากต้นไม้ต้นเล็กๆ นำมาเจาะลำต้นให้กลวงแล้วตัดเป็นท่อนขนาดสั้นๆเป็นกระบอก มีฝาปิด หรือบางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่มาตัดเป็นกระบอกสั้นๆนำมาเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว ต่อมามีการปรับปรุงพัฒนาภาชนะบรรจุข้าวเหนียว แต่เดิมพกพาไม่สะดวกในการเดินทางไกลจึงมีการริเริ่มเอาวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก ใบตาล ใบลาน ต้นคล้า ต้นไหล ต้นกกหรือ จากต้นพืชที่มีลักษณะยาวเรียวผ่าเป็นซีกเล็กๆ มาเหลาเป็นแผ่นบางๆนำมาจักสานเป็นตะกร้ากระบุง บรรจุข้าวสาร และพัฒนามาจักสานเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว (กระติบ)  ซึ่งมีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดีทำให้ไอน้ำระเหยออกไปได้   ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในยังมีความร้อนและข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ พกพาง่ายเพราะมีการทำสายสะพาย อีกทั้งยังมีหลายรูปแบบ รูปทรงกลม รูปทรงรี หลากหลายขนาดสอดคล้องกับการใช้งานกระติบข้าวใช้ประโยชน์ในการบรรจุข้าวเหนียว พกพาไปได้สะดวก กระติบข้าวมีอายุใช้งานประมาณ 1 ปีขึ้นไปหรือนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับการรักษา 

วัตถุประสงค์ ->

1.นำไม้ไผ่แก่จัดตัดตามขนาด นำไปเรียดด้วยเครื่องเลียดให้มีขนาดและความกว้างเท่ากัน

2.ขึ้นรูปทรงตามขนาดที่ต้องการจัดลวดลายให้สวยงามถักทอให้แน่น

3.ร้อยขอบด้วยหวายให้เรียบร้อยป้องกันการฉีกขาดระหว่างการใช้งาน

4.นำผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จรูปไปผึ่งแดดให้แห้ง หรือ รมควันไฟ ป้องกันเชื้อรา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.วัตถุดิบไม้ไผ่ต้องมีอายุอย่างน้อย3ปีขึ้นไป

2.ใช้เครื่องจักตอกไม้ไผ่ให้มีขนาดบางที่สุดและมีขนาดเท่ากัน

3.ใช้ทักษะในการสานให้เข้ารูป แน่น และ มีรูปทรงได้มาตรฐาน

อุปกรณ์ ->

ไม่ควรนำไปเก็บไว้ในที่อับชื้นหรือทำให้เปียกจะส่งผลต่อรูปทรงกระติ๊บข้าว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรผึ่งแดดให้วัสดุในการจักสานแห้งสนิทป้องกันเชื้อรา หรือ รมด้วยควันไฟ จะสามารถยืดอายุการใช้งานได้อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา