เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายประครอง ศรีมันตะ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-09-22-12:43:07

ที่อยู่ : 12 หมู่ 12 ตำบลห้วยแก้ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจเนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างโครงต่อเนื่อง ตลอดทั้งปีในประเทศไทยไข่ไก่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วประเทศไม่ว่าเป็นร้านค้าที่สั่งซื้อไข่ไก่นำไปทำอาหารเพราะว่าไข่ไก่ได้ถือว่าอยู่ในอาหาร 5 หมู่ การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่เพื่อที่จะเป็นองค์ความรู้สำหรับเกษตรกร ในการศึกษาและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การเลี้ยงไก้พันธุ์ไข่เกษตรกรต้องใช้ความขยันและอดทนในการเลี้ยงดูเนื่องจาก ไข่ ต้องอาศัยระยะเวลาในการเลี้ยงดูตั้งแต่เล็กจนถึงตอนที่ไก้ฟักไข่ได้ การเลี้ยงไก้พันธุ์ไข่เป็นการฝึกเป็นคนช่างสังเกตการณ์ ไก่เป็นโรค จะต้องจับแยกออกทันทีเพราะถ้าปล่อยไว้นานอาจเป็นโรคระบาดได้

วัตถุประสงค์ ->

1.คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจากครัวเรือนตกเกณฑ์เป็นหลักหากไม่มีเลือกจากผู้ที่มีความสนใจตั้งใจจริง
2.ฝึกอบรมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนพัฒนาความรู้เสริมสร้างทักษะ  การพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย
3.สนับสนุนให้ทีมวิทยากรสัมมนาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาอื่นๆ
5.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ความตั้งใจในการทำงาน การสังเกต การนำความรู้ทางด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงไก่พันธ์ไข่ อีกทั้งยังได้น้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงานด้วย 
2. การศึกษาพัฒนาการเลี้ยงไก่ไม่ว่าด้านอาหารไก่ สภาพแวดล้อม โรงเรือน ยารักษาโรคของไก่ เทคนิคการทำให้ไก่ไข่ดก และปลอดสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

อุปกรณ์ ->

1. การอบรมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนยังไม่มีความมั่นใจในการเป็นวิทยากรตามแนวทางที่กำหนด พัฒนากรต้องประชุมซักซ้อมสร้างความเข้าใจและมอบหมายหน้าที่ก่อนวันอบรมและในวันอบรมพัฒนากรต้องมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนพร้อมให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด
2. อาชีพที่ต้องการฝึกอบรมและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดซื้อวัสดุมอบให้ครัวเรือน วิทยากรสัมมาชีพชุมชนไม่มีความรู้ความเข้าใจ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพควรมีทักษะในการสื่อสารให้ผู้อื่นได้อย่างชัดเจน
2. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมของครัวเรือน ควรเป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดและทำ
ได้อย่างต่อเนื่องภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ของชุมชน
3. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมครัวเรือน ควรจะเป็นอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านมีความเชี่ยวชาญหรือมีความถนัด ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จมากกว่าอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพไม่มีความรู้
4. วิทยากรสัมมาชีพชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ต้องมีคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน ยึดหลัก

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา