เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์

โดย : นายสมหมาย บุตรน้ำเพชร ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-20-14:58:31

ที่อยู่ : 56 หมู่ที่ 1 ต.นาแก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตข้าวไม่ใช้ สารเคมี  ทางการเกษตรทุกชนิดเป็นต้นว่า  ปุ๋ยเคมี  สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค  แมลง  และสัตว์ศัตรูข้าว  ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ  การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดสารพิษแล้ว  ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย

การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ  ได้แก่  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ  การรักษาสมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ  เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน  เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน   การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น  ควบคุมโรค  แมลงและสัตย์ศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี  การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ  รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ  การจัดการพืช  ดิน และน้ำ  ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว  เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี  มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ  การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค  แมลงและศัตรูข้าว  เป็นต้น  การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจ

วัตถุประสงค์ ->

1.  เลือกพื้นที่ปลูก
  เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกันและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง  ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูงและห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตรพื้นที่ที่จะใช้ในการผลิตข้าวโดยปกติมีการตรวจสอบ หาสารตกค้างในดินหรือในน้ำ

  2.  เลือกใช้พันธุ์ข้าว  
  พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกและให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรค แมลงที่สำคัญและมีคุณภาพ เมล็ดตรงตามความต้องการของผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ขาว ดอกมะลิ 105  และ กข 15  ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดีเป็นพิเศษ

3.  เตรียมดิน  
  วัตถุประสิงค์หลักของการเตรียมดิน คือสร้างภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติดินและสภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนปลูกโดยการไถดะ  ไถแปร  คราด  และทำเทือก

  
  4.  การปลูก  
การปลูกข้าวแบบปักดำ จะเหมาะสมที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือกการรักษา ระดับน้ำขังในนาจะช่วยควบคุมวัชพืชได้และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ 30 วัน เลือกต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี  ปราศจากโรคและ   
แมลงทำลาย เนื่องจากในการผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิด  โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี  จึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับการปลูกข้าวโดยทั่วไปเล็กน้อย  คือประมาณ 20x20  เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า  5  ต้นต่อกอและใช้ระยะปลูกแคบกว่านี้  หากดินนามีความอุดมสมบูรณ์   
ค่อนข้างต่ำ  ในกรณีที่ต้องปลูกล่าหรือปลูกหลังจากช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมของข้าวแต่ละพันธุ์  และมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน แนะนำให้เปลี่ยนไปปลูกวิธีอื่นที่เหมาะสม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติ
  ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์  ได้แก่มูลสัตว์ต่างๆ    ปุ๋ยหมัก  ใช้จุลินทรีย์ในการทำปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยพืชสด  ปลูกก่อนปักดำข้าวประมาณ  70  วัน  โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ  7  กิโลกรมต่อไร่ เพื่อให้ต้นปุ๋ยพืชสดมีช่วงการ เจริญเติบโตเพียงพอที่จะผลิตมวลพืชสดได้มาก  มีความเข้มข้นของธาตุไน  โตรเจนสูและไถกลบพืชสด
  ก่อนการปลูกข้าวตามกำหนดเวลา  อินทรีย์วัตถุต่างๆจากธรรมชาติ  เช่น แหนแดง  สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว  กากเมล็ดสะเดา  เลือดสัตว์  แห้ง  กระดูกป่น  ขี้เถ่าและหินปูนบางชนิด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควบคุมวัชพืช  
    หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการควบคุมวัชพืช  ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล  ตั้งแต่การเตรียมดินที่เหมาะสม  การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช  การใช้วัสดุคลุมดิน  การถอนด้วยมือ

ป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช
     - ไม่ใช้สารสังเคราะห์ในการป้องกันกำจัดแมลง และสัตว์ศัตรูข้าวทุกชนิด   
     -  ปฏิบัติด้านเขตะกรรม  เช่น  การเตรียมแปลง  กำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดและระยะปลูกที่เหมาะสม  การปลูกพื้ชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค  แมลงและสัตว์ศัุตรูข้าว  การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสมดุลของธาตุอาหารพืช  การจัดการน้ำ  เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี  สมบูรณ์และแข็งแรง  สามารถลดการทำลายของโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวได้ส่วนหนึ่ง
     - จัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค  แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว  เช่น  การกำจัดวัชพืช  การกำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาว  หือกำมะถันผลที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีและปรับสภาพดินไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค
    -  รักษาความสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการเผยแพร่ขยายปริมาณของแมลที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ  ตัวเบียน  และศัตรูธรรมชาติ เพื่อช่วยความคุมแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว
    -  ปลูกพืชขับไล่แมลงบนคันนา  เช่น  ตะไคร้หอม
    -  หากมีความจำเป็นอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากพืช  เช่น  สะเดา  ข่า  ตะไคร้หอม  ใบแคฝรั่ง
    -  ใช้วิธีกล  เช่น ใช้แสงไฟล้อ   ใช้กำดัก  ใช้กาวเหนียว  

ก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
   เก็บเกี่ยวหลังข้าวออกดอกประมาณ  30 วัน  สังเกตจากเมล็ดในรวงข้าวส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่า  ระยะข้าวพลับพลึง   การตาก  ขณะเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวมีความชื้นประมาณ  18-24  เปอร์เซ็นต์   จำเป็นต้องลดให้เหลือ  14  เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปแปรสภาพ หรือเก็บรักษา และมีคุณภาพการสีดี

เก็บรักษาผลผลิต
   ต้องเก็บรักษาด้วยวิธีจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  เป็นต้นว่า  เก็บในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ  การใช้ภาชนะเก็บที่มิดชิดหรืออาจใช้เทคนิคการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ในการเก็บรักษา  การเก็บในห้องที่มีอุณภูมิต่ำจะป้องกันการเจริญเติบโตของโรคและแมลงได

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา