เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตในแตงโม

โดย : นางสาวศรีไพร ทองใบ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-20-09:19:13

ที่อยู่ : 157 หมู่ที่ 4 บ้านดงแคนใหญ่ ต.ดงแคนใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แตงโมจัดเป็นพืชล้มลุกโตเร็ว ประเภทเถาเลื้อย ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายกับแตงชนิดอื่น ๆ แต่ที่พิเศษกว่าแตงอื่นๆ ก็คือ ใบของแตงโมจะเป็นแฉกแคบๆ ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ดอกมี 2 เพศ แยกกันบนต้นเดียวกัน ส่วนกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน ผลแตงโมอ่อนจะมีสีเขียว แต่เมื่อแก่สีผิวจะเปลี่ยนไป มีทั้งผิวสีเขียวอ่อน เขียวแก่ เขียวลายขาว น้ำเงินแก่ เป็นต้น ส่วนผลมีทั้งแบบผลกลม และผลยาวรูปไข่ ตอนอ่อนๆ สีเนื้อแตงโมจะมีสีขาว แต่เมื่อแก่จัดเต็มที่จะมีทั้งสีแดง ชมพู ขาว เหลือง ซึ่งเนื้อแตงโมจะหวานฉ่ำแค่ไหนขึ้นอยู่กับพันธุ์และการดูแลรักษา

1.    พันธุ์แตงโม

ที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์ คือ

    พันธุ์เบา ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ พันธุ์ชูการ์เบบี้ ผลกลมสีเขียวคล้ำ อายุเก็บเกี่ยว 65 วัน นับจากวันงอก อีกพันธุ์หนึ่ง ได้แก่

    พันธุ์หนัก คือ พันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ผลสีเขียวอ่อน มีลายที่ผิวผล ผลกลมยาวขนาดใหญ่ อายุเก็บเกี่ยว 85 วัน นับจากวันงอก

    พันธุ์แตงโมเหลือง เป็นพันธุ์ลูกผสม เนื้อสีเหลือง ผลกลมสีเขียวอ่อนลายเขียวเข้ม อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 70-75 วัน

วัตถุประสงค์ ->

1. ดินและการเตรียมดิน

    แตงโมเป็นพืชที่หยั่งรากลึกมากกว่า 100 เซนติเมตร และต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นมากพอ ฉะนั้นถ้ามีการไถพรวนหรือขุดย่อยดินให้มีหน้าดินร่วนโปร่ง และลึกก็จะช่วยป้องกันการขาดน้ำได้เป็นอย่างดีในระยะที่ต้นแตงโมกำลังเจริญ เติบโต การเตรียมดินให้หน้าดินลึกร่วนโปร่งจะช่วยทำให้ดินนั้นยึดและอุ้มความชื้น ได้มากขึ้น และเป็นทางเปิดให้รากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใต้ดินซึ่งจะช่วยให้รากหาอาหาร และน้ำได้กว้างไกลยิ่งขึ้นและเป็นการช่วยทำให้พืชสามารถใช้น้ำใต้ดินมาเป็น ประโยชน์ได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าจำเป็นต้องปลูกแตงโมในหน้าฝน ควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายน้ำดี คือ เป็นดินเบา หรือดินทราย แต่ถ้ามีที่ปลูกเป็นดินหนักหรือค่อนข้างหนักควรปลูกแตงโมในหน้าแล้ง และขุดดิน หรือไถดินให้ลึกมากที่สุดจะเหมาะกว่า

2.   การปลูก

    ใช้เมล็ดพันธุ์ชูการ์เบบี้ อัตรา 40-50 กรัม/ไร่ เมล็ดพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ และพันธุ์เหลือง อัตรา250-500 กรัม/ไร่ โดยหยอดเป็นหลุมให้แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตงนั้นควรให้ห่างจากกันเท่ากับความยาวของเถาแตงโม หรือประมาณ 2-3 เมตร ในดินทรายขุดหลุมให้มีความกว้างยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ส่วนในดินเหนียวขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ละเอียดคลุกเคล้ากับดินบน ใส่รองก้นหลุม ๆ ละ 4-5 ลิตร เตรียมหลุมทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงลงมือปลูก หยอดหลุมละ 5 เมล็ด

เมื่อหยอดเมล็ดแล้วต้องรดน้ำให้ชุ่มเมื่อแตงโมขึ้นมา มีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ2-3 ต้น โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้ แต่ถ้าปลูกให้ต้นห่างกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน 3เมตรแล้ว ก็เหลือหลุมละ 3 ต้นได้ รวมแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่ จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น

สำหรับ ผู้ที่หยอดเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว แตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ดังนั้นในฤดูหนาวควรทำการหุ้มเมล็ดด้วยผ้าแล้วโดยแช่เมล็ดแตงโมในน้ำ อุ่น(ประมาณมือเราทนได้) ทิ้งไว้ 1 วันกับ 1 คืน แล้วเอาผ้าที่ห่อวางไว้ในร่ม จะช่วยทำให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น และงอกได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อรากเริ่มโผล่ออกมาจากเมล็ด ก็เอาไปเพาะในถุง รอจนกล้ามีใบจริงแล้ว 2-3 ใบ จึงนำลงปลูกในไร่ หรือหากไม่สะดวกเพราะต้องการประหยัดแรงงาน ก็อาจนำเมล็ดที่งอกนั้นไปปลูกในแปลงได้เลย โดยหยอดลงในหลุมแบบเดียวกับหยอดเมล็ดที่ยังไม่งอก แต่ต้องให้น้ำในหลุมที่จะหยอดล่วงหน้าไว้ 1 วัน เพื่อให้ดินในหลุมชื้นพอเหมาะ หยอดเมล็ดที่งอกแล้วกลบดินทับหนาไม่เกิน 1 เซนติเมตร แล้วรดน้ำ ต้นแตงโมจะขึ้นมาสม่ำเสมอกันทั้งไร่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การให้ปุ๋ยทางใบ

      ช่วงต้นเจริญเติบโต ใช้ ปุ๋ยและฮอร์โมนธรรมชาติ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรไล่แมลง  อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มฉีดพ่นครั้งแรกหลังแตงโมมีใบจริง ประมาณ 4-5 ใบ ระยะเวลาทุก ๆ 7-10 วัน  ต่อ เนื่อง ช่วยทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี , ทำให้ต้นโตเร็ว ติดดอกมาก,ช่วยให้ขั้วเหนียวและช่วยขับไล่แมลง กลุ่ม แมลงเต่าแตง, ผีเสื้อวางไข่, แมลงวันทอง ได้ดี ลดต้นทุนการใช้สารเคมี(ยาฆ่าแมลง) ลงได้อีก ประมาณ 50% 

ช่วงติดผล ผลเจริญเติบโต  ใช้ ปุ๋ยและฮอร์โมนธรรมชาติ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มฉีดพ่นครั้งแรกหลังจากปลิดผล ที่เสียออกแล้ว  โดยฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน

การให้น้ำ

ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้อง การผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกำลังเจริญเติบโต เป็นตอนที่ต้นแตงโมต้องการน้ำมากการให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลงควรให้ทั้ง แปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึก ซึ่งจะทำให้ดินขาดอากาศออกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใด รากแตงโมจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตเมื่อนั้น ซึ่งหมายถึงว่าต้นแตงโมจะได้รับน้ำ และธาตุอาหารอยู่ในขอบเขตที่จำกัดไปด้วย ดินที่ขาดน้ำแล้วแห้งแข็งทำให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียว และดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโมจะไม่ขาดอากาศ แม้ว่าจะขาดน้ำก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถไถพรวนในหน้าดินลึกมาก ๆ ได้ เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึก เท่าดินทราย หรือดินร่วนทรายได้ เพราะเนื้อดินทั้งเหนียวและแน่นอุ้มน้ำไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายน้ำออกจากผิวดินได้ไวมาก และดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทราย หรือดินร่วนทราย จึงทำให้ต้องให้น้ำกับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่า คือต้องให้น้ำอย่างน้อย 5 วันครั้ง หรือรดน้ำทุกวัน ๆ ละครั้ง

การคลุมฟางหรือคลุมพลาสติก

        เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่ง เราควรจะปิดคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือพลาสติก การคลุมดินจะมีผลดังนี้ คือ

-     ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้คงอยู่ได้นาน ทำให้รากแตงโมดูดซับธาตุอาหารในดินได้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน

-     ทำให้ต้นแตงโมเป็นโรคทางใบน้อยลง เพราะต้นและเถาเลื้อยอยู่บนฟางไม่ได้สัมผัสกับดิน

-     ป้องกันไม่ให้ดินร้อนจัดเกินไป

-     เป็นการรองผลทำให้สีของผลสม่ำเสมอ

-     ควบ คุมไม่ให้หญ้าขึ้นและเจริญเติบโตมาแข่งกับแตงโม เพราะแตงโมแพ้หญ้ามากเนื่องจากหญ้าส่วนใหญ่มีใบปรกดิน เถาแตงโมนั้นทอดนอนไปกับผิวดิน หากหญ้าขึ้นคลุมแตงโมเมื่อใด หญ้าจะบังใบแตงโมไม่ให้ถูกแดดทำให้ใบแตงโมปรุงอาหารไม่ได้เต็มที่ และจะอ่อนแอลงทันทีในที่สุดจะตายหมด ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ เท่านั้น

การจัดเถา

ถ้า ปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติเถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อย ทับกัน และซ้อนกันจนหนาแน่นทำให้ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช่วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึงเพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้น เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควรได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา เถาที่เป็นเถาแขนงก็จะแตกแขนงต่อไปได้อีกเรื่อย ๆ จึงควรริดแขนงที่ไม่จำเป็นเหล่านั้นออก ให้คงเหลือไว้ต้นละ 4 เถา ซึ่งเป็นเถาที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ตามเดิม  โดยทำขั้นตอน ดังนี้

1.    การจัดเถาแตงโมให้เลื้อยไปทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือต้นละ 4 เถา ที่แข็งแรง

2.    ใช้ไม้ไผ่เป็นตอกโค้งคร่อมยึดเถาแตงโมไว้

การต่อดอก

ผู้ ปลูกแตงโม มักประสบปัญหาแตงโมไม่ติดผล เนื่องจากไม่มีแมลงช่วยผสม เพราะใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นต้นแตงโมมากไปและไม่เลือกเวลาฉีด ทำให้แมลงที่ช่วยผสมเกสร เช่น ผึ้งถูกสารฆ่าแมลงตายหมด จึงเกิดปัญหาไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสรจึงต้องใช้คนผสมแทน เราสามารถผสมพันธุ์แตงโมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น. ไปแล้ว ดอกตัวเมียจะหุบและไม่ยอมรับการผสมเกสรอีกต่อไป การผสมด้วยมือทำได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัว ผู้ออกเสียก่อน จะเหลือแต่อับเรณู ซึ่งมีละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงคว่ำดอกตัวผู้ลงบนดอกตัวเมียให้อับเรณูของดอกตัวผู้ แตะสัมผัสกับเกสรตัวเมียโดยรอบให้ละอองเกสรตัวผู้สีเหลืองจับอยู่บนเกสรตัว เมียทั่วกันทั้งดอกก็เป็นอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า "การต่อดอก" โดยทำขั้นตอน ดังนี้

1.    การต่อดอกโดยเด็ดดอกตัวผู้ที่กำลังบานแล้วปลิดกลีบดอกสีเหลืองออกไห้หมด

2.    นำดอกตัวผู้ที่ปลิดกลีบดอกออกแล้วคว่ำลงนดอกตัวเมีย

การเก็บผล

                แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลัก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและคุณภาพต่ำ เราควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ และแตงที่มีลักษณะผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย ขนาดที่ปลิดทิ้งไม่ควรปล่อยให้โตเกินลูกปิงปอง หรือผลฝรั่ง แตงที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายเป็นผลแตงอ่อนได้ และตลาดยังนิยมอีกด้วย ควรเลี้ยงต้นแตงโมไว้เถาละลูกจะดีที่สุด เถาแตงโมเถาหนึ่ง ๆ อาจติดเป็นผลได้หลายผล ให้เลือกผลที่มีก้านขั้วผลขนาดใหญ่และรูปทรงผลได้รูปสม่ำเสมอทั้งผลไว้ ซึ่งจะทำให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูง เพราะขนาดก้านขั้วผลมีความสัมพันธ์กับขนาดของผล ถ้าก้านขั้วผลใหญ่ ผลก็จะใหญ่ ถ้าก้านขั้วผลเล็กผลก็จะเล็ก     

                การดูแลหลังติดผล

ดอก ตัวเมียของแตงโม ที่ได้รับการผสมเกสรอย่างสมบูรณ์ก็จะเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันไป วันต่อวัน เมื่อผลแตงโมมีขนาดเท่ากับมะนาว ให้ฉีดพ่นเสริมด้วย ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 30 ซีซี+ โบวีรอน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรทุก ๆ 5-7 วัน ฉีดต่อเนื่องจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มขนาด,น้ำหนัก และทำให้เนื้อมีความหวานเป็นที่ต้องการของตลาด เมื่อผลเท่ากะลามะพร้าวให้เอาฟางรองใต้ผล เพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสกับดินโดยตรง ควรจะกลับผลแตงโมให้ด้านที่สัมผัสฟางถูกแสงแดดก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน เพื่อให้ผลแตงมีสีสม่ำเสมอทั่วทั้งผล จะทำให้แตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีก

อุปกรณ์ ->

โรคที่ควรระวัง

โรคเถาเหี่ยว(เกิดจากเชื้อฟิวซาเรียม)

แตง โมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับผิวดิน จะแตกตามยาวและมีน้ำเมือกซึมออกมา เมื่อผ่าไส้กลางเถาดูจะเห็นภายในเป็นสีน้ำตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก การปลูกซ้ำที่เดิม โรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก

สาเหตุ

-       เชื้อรานี้เจริญและทำลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24 - 27 องศาเซลเซียส

-       ขณะแตงกำลังเจริญเติบโตมีผนตกติดต่อกันยาวนาน

-       การให้ปุ๋ยยูเรียมากเกินไป

-       ดินเป็นกรดจัด

การป้องกันและกำจัด

-       ป้องกันโดยฉีดพ่น ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณผิวดิน ก่อนคลุมพลาสติกดำ

-       อย่าปลูกแตงโมซ้ำที่เดิม

-       เริ่มคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและเชื้อรา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา200 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนนำไปปลูก

-       กรณีดินเป็นกรดจัด ใช้ปูนขาวใส่ดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 500กิโลกรัม

-       ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและเชื้อรา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ 5-7 วัน เพื่อป้องกันและกำจัดโรค  หรือ ใช้สารเคมีโปรคลอราซ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่าโรคพืชเริ่มปรากฏ  จะทำให้เชื้อโรคชะงักลง

โรคเถาเหี่ยว(จากเชื้อแบคทีเรีย)

ลักษณะ ที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาในเถาใดเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่ และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้นสาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรีย ไปอุดท่อส่งน้ำเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลำต้นในเถาฉ่ำน้ำมากกว่า ปกติเชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตงต้นแตงโมได้รับเชื้อโรค จากการกัดกินใบของแมลงเต่าแดงนี้ เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อน้ำและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันและรักษาได้ โดยฉีดสารเคมีคาร์บาริล ป้องกันแมลงเต่าแตงและใช้ยาปฏิชีวนะคาซูกะมัยซิน(ชื่อ สามัญ) ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จำหน่าย เมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้ หรือป้องกันโดย ฉีดพ่น ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณผิวดิน

โรคราน้ำค้าง

 ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดี คือ แคปแทน ไซเน็บ(ชื่อสามัญ)  ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ 1 กรัม ผสมน้ำ 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา