เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงปลา

โดย : นายกำจัด ป้องศรี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-14-16:13:12

ที่อยู่ : 83 หมู่ที่ 8 ตำบลส้มผ่อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาดุกนาเป็นปลาพื้นเมือง ข้อดีคือทนทานต่อโรคมาก ไม่ต้องดูแลมากปลาดุกนาก็สามารถเติบโตได้ดี รสชาติอร่อย เนื้อแน่น กลิ่นหอมกว่าปลาดุกพันธุ์ แต่ขนาดยังเป็นรองอยู่ นิยมเลี้ยงกันในครัวเรือน เนื่องจากหาพันธุ์ง่าย

วัตถุประสงค์ ->

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1. จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
2. ใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60 – 100 กก./ไร่
3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรมชาติสำหรับลูกปลาในอัตราประมาณ 40 – 80 กก./ไร่
4. นำน้ำในบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนมีระดับน้ำลึก 30 – 40 ซม. หลังจากนั้นรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลา และเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดง ในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลา หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลาที่นำมาเลี้ยงควรตรวจดูว่ามีสภาพปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้ เท่า ๆ กันก่อนโดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เทคนิคการเลี้ยงปลาดุกให้โตเร็ว ทนทานต่อโรค ให้อาหารที่พอเหมาะ เป็นเวลา นำมาเลี้ยงปลาดุกช่วงอายุประมาณสามเดือน ช่วยเร่งการเติบโต ได้มีน้ำหนัก

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกิน ไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหาร ทันที เพราะปลาดุกลูกผสมนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้ อาหารใหม่อีก ก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา