เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายธนวัฒน์ บุญทศ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-09-08-09:59:22

ที่อยู่ : 61 หมู่ 8 ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำฝึกปฏิบัติจริงเกิดการเรียนรู้ พัฒนาอาชีพ จนพัฒนาเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไปและได้ดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค
          เตรียมการ
          -ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน/อบต/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          -ประชุมแกนนำหมู่บ้าน/หัวหน้าคุ้ม
                -ประชาคมคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชุมชน หมู่บ้านละ ๑ คน
          -ประชาคมคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
          -ประชุมเตรียมความพร้อมวิทยากรและครัวเรือนเป้าหมาย
          การดำเนินการ
          -ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับเขต/จังหวัด/อำเภอ
                -ประชาคมคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆละ ๔ คน
          -อบรมเรียนรู้ร่วมกันวิทยากรสัมมาชีพชุมชน
-การนำองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านมาขยายผลและการเรียนรู้ร่วมกัน
          -ประชุมแกนนำหมู่บ้าน/ตัวแทนครัวเรือนกำหนดเป้าหมายการพัฒนา
          -ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน
          -ศึกษาดูงานหมู่บ้าน/กลุ่มอาชีพต้นแบบภายในอำเภอ
          -ฝึกปฏิบัติอาชีพเป้าหมายของครัวเรือนสัมมาชีพ
                -สรุปประเมินผลการดำเนินงาน
          -การรวมและตั้งกลุ่มอาชีพ (หลัก ๔ ก)
          -กลุ่มสมัครเข้าสู่ระบบ OTOP
          -จัดทำแผนพัฒนารักษามาตรฐานกลุ่ม
          หลังดำเนินการ
          -สร้างความคุ้นเคย/มิตรภาพที่ดี
          -ขยายผลครัวเรือนต้นแบบ
          -ประสานภาคีการพัฒนาหมู่บ้าน/กลุ่มให้ได้มาตรฐาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ เป็นปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบ

ความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ และได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน

2. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพที่สมัครใจมีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการฝึกอาชีพ

3. การได้รับสนับสนุนจากผู้นำชุมชน และให้ความสำคัญในการดำเนินการตามโครงการ

4. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการ

5. อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเอง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพควรมีทักษะในการสื่อสารให้ผู้อื่นได้อย่างชัดเจน

2. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมของครัวเรือน ควรเป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดและทำ

ได้อย่างต่อเนื่องภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ของชุมชน

3. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมครัวเรือน ควรจะเป็นอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านมีความเชี่ยวชาญหรือมีความถนัด ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จมากกว่าอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพไม่มีความรู้

4. วิทยากรสัมมาชีพชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ต้องมีคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน ยึดหลักประชาธิปไตย และผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา