เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ปลาดุกอุย ม.7 ต.หนองคู

โดย : นายนิคม บุญทศ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-27-18:57:56

ที่อยู่ : ม.7 ต.หนองคู

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาดุก  เป็นปลาที่ขายง่่าย เลี้ยงง่าย โตเร็ว ตลาดต้องการ  จึงรวมกลุ่มกันเลี้ยงปลาดุกขายสด และจะแปรรูปเพื่อเป็นกลุ่ม OTOP ต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

ถ่า ยทอดความรู้ด้านการเลี้ยงปลาดุกให้ครัวเรือนสัมมาชีพ  นำไปเลี้ยง และรวมกลุ่มกัน  ให้มีหลัก 5 ก ในการบริหารจัดการกลุ่ม  มีเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มโดยสมทบจากผลกำไร ลงหุ้นจากสมาชิก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ใช้หลัก 5 ก ในการบริหารจัดการกลุ่ม  การลงหุ้นร่วมกัน  ปราชญ์ต้องเป็นที่ปรึกษาให้กลุ่มได้

อุปกรณ์ ->

วิธีป้องกันการเกิดโรค
ในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง
1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยหลาเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตันและหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้ แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การนำฟางใส่ในบ่อปลาเพื่อขจัดกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสัน การที่นำฟางข้าวมาใส่ในบ่อปลาดุกก่อนที่จะทำการจับปลานั้นมีประโยชน์หลายด้าน ซึ่งเมื่อเรานำฟางข้าวใส่ลงไป ปลาก็จะเข้าไปในฟางข้าวทำให้ตัวปลาเสียดสีกับฟางข้าว และจะทำให้เมือกที่ติดอยู่กับตัวปลาหมดไป และยังทำให้ปลาที่มีสีดำคล้ำ มีสีเหลืองนวลอีกด้วย นอกจากนี้การใส่ฟางข้าวลงไปก่อนจับปลาดุกนั้นยังเป็นการช่วยลดกลิ่นสาบของปลาได้อีกด้วย

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา