เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพการเลี้ยงไก่ไข่

โดย : นายคำมี ศรีชนะ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-24-14:16:04

ที่อยู่ : 112 หมู่ 7 ต.คำน้ำสร้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา/แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ (ในการบันทึกองค์ความรู้)

การเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือนควบคู่ไปการประกอบอาชีพอื่นเพราะใช้

ประโยชน์ทั้งเป็นอาหารบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ทั้งนี้ นอกจากผลผลิตเนื้อแล้ว ผลผลิตไข่ยังสามารถแปรรูปเป็นการถนอมอาหารเก็บไว้บริโภคได้นาน เช่น การทำไข่เค็ม

การส่งเสริมเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างอาชีพเสริมรายได้ควบคู่กับอาชีพการทำนาที่สามารถใช้เศษฟาง เศษหญ้า ซึ่งมีคุณค่าเป็นอาหารสัตว์ใช้เลี้ยงไก่ได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

วิทยากรสัมมาชีพชุมชนถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพที่ต้องการฝึกอาชีพตามประเด็นต่างๆ เช่น

1) ความเป็นมาของอาชีพ

2) กระบวนการ/ขั้นตอนการประกอบอาชีพและทักษะที่เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพจนเกิดรายได้ให้แก่ครัวเรือน อธิบายให้ข้อมูลการประกอบอาชีพอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนตลอดจนสาธิตอาชีพและฝึกปฏิบัติอาชีพ

3) ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

4) วางแผนปฏิบัติการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพให้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนและบันทึกข้อตกลงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

5) วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ๑ คนต่อครัวเรือนเป้าหมาย 4 คน ฝึกปฏิบัติ ณ บ้านตนเอง

 5.6 วิทยากรสัมมาชีพชุมชนติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม

6. ทีมวิทยากรชุมมาชีพชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพเข้าใจเป้าหมายของโครงการ ให้ความสำคัญกับงาน มีเป้าหมายเดียวกันในการสร้างสัมมาชีพให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

2. การเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของชุมชน พร้อมด้วยศักยภาพที่ชุมชนมี นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการต่อยอดได้

3. ความต่อเนื่องของการสร้างสัมมาชีพที่ไม่ได้หยุดอยู่ที่การฝึกอาชีพ แต่สำคัญตรงที่ครัวเรือนสัมมาชีพสามารถนำไปสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน

4. ความเอื้อเฟื้อ สามัคคีของชุมชน จะสร้างพลังในการแบ่งปันความรู้ความสามารถที่มีในแต่ละอาชีพได้อย่างถูกต้อง

อุปกรณ์ ->

1. การอบรมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนยังไม่มีความมั่นใจในการเป็นวิทยากรตามแนวทางที่กำหนด พัฒนากรต้องประชุมซักซ้อมสร้างความเข้าใจและมอบหมายหน้าที่ก่อนวันอบรมและในวันอบรมพัฒนากรต้องมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนพร้อมให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด

2. อาชีพที่ต้องการฝึกอบรมและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดซื้อวัสดุมอบให้ครัวเรือน วิทยากรสัมมาชีพชุมชนไม่มีความรู้ความเข้าใจ

วิธีแก้ปัญหาคือทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนต้องเรียน รู้จากวิทยากรภายนอกโดยอาศัยจากประสบการณ์ที่มีอยู่มาประยุกต์การส่งเสริมอาชีพให้ครัวเรือน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

บทสรุป/ข้อเสนอแนะ

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพควรมีทักษะในการสื่อสารให้ผู้อื่นได้อย่างชัดเจน

2. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมของครัวเรือน ควรเป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดและทำ

ได้อย่างต่อเนื่องภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ของชุมชน

3. อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมครัวเรือน ควรจะเป็นอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านมีความเชี่ยวชาญหรือมีความถนัด ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จมากกว่าอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพไม่มีความรู้

4. วิทยากรสัมมาชีพชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ต้องมีคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน ยึดหลักประชาธิปไตย และผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา