เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนสู่การจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพทอผ้า

โดย : นางพุทธา วงเพ็ญ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-09-10:18:21

ที่อยู่ : ม.๓ ต.สวาท

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำฝึกปฏิบัติจริงเกิดการเรียนรู้  พัฒนาอาชีพ จนพัฒนาเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไปและได้ดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

          1) สรรหาปราชญ์ชุมชน ในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

           2) คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพที่มีความพร้อมเข้ารับการอบรมเป็นวิทยากรสัมมาชีพ เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร

           3) วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีมในหมู่บ้าน โดยการคัดเลือกปราชญ์อีก 4 คน รวมเป็น 5 คน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

           4) ศึกษาดูงานหมู่บ้านต้นแบบด้านการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มพูนความรู้และสร้างแรงจูงใจด้านการประกอบอาชีพ

           5) ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชน เตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำชุมชน ทีมสนับสนุน ในการสร้างสัมมาชีพชุมชน

   

          ๖) การสนับสนุน ส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพรวมกลุ่ม เพื่อนำผลิตภัณฑ์เข้าจดทะเบียนกลุ่ม

กับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ลงทะเบียนผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการสร้าง

มาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดสู่การคัดสรร OTOP

           ๗) การจัดแสดง/สาธิต/จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของครัวเรือนสัมมาชีพ เพื่อประชาสัมพันธ์งาน

           ๘) ติดตามการดำเนินงานกลุ่มและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

           ๙) สรุปถอดผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียนองค์ความรู้

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การคัดเลือกผู้นำวิทยากรสัมมาชีพชุมชนและทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นผู้นำ มีจิตอาสา มี

ความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ เป็นปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบ

ความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ และได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน

2. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพที่สมัครใจมีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการฝึกอาชีพ

3. การได้รับสนับสนุนจากผู้นำชุมชน และให้ความสำคัญในการดำเนินการตามโครงการ

4. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการ

5. อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเอง

6. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา