เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

จักสานไม้ไผ่

โดย : นางคำแปลง ไชยมาตย์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-28-12:07:04

ที่อยู่ : 34 หมู่ 8 ตำบลหนองเรือ อำเภอเมืองยโสธร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวบ้านหมู่ที่ 8 ต.หนองเรือ มีภูมิปัญญาในด้านการจักสาน  เช่นสานกระติบข้าว เพื่อใช้เป็นภาชนะใส่ข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน กระด้งใช้ฝัดข้าว ไม่มีการซื้อ - ขายกันมากนัก  ในช่วงต่อมาเศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัวมากขึ้น  ผู้คนมีงานทำ มีรายได้มากขึ้น  มักจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามาสั่งซื้อให้ผลิตกระติบข้าว  ในปี พ.ศ. 2535  จึงเกิดการรวมตัวกันของสตรีขึ้น  ตั้งชื่อว่า “กลุ่มสตรีจักสานบ้านดอนกลอง”  มีสมาชิกทั้งหมด ๑๔๔ คน  รวมตัวกันผลิตกระติบข้าว  โดยได้รับการส่งเสริมจากส่วนราชการในพื้นที่  หลังจากนั้นกลุ่มสตรีดังกล่าว  ได้มีการขยายกิจการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ สีสัน ให้ถูกใจผู้บริโภค จนเป็นที่ยอมรับของตลาด  เข้าลงทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  และส่งสินค้าเข้าคัดสรรผลิตภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕59 ได้ระดับ ๔ ดาว  จึงเกิดการจำหน่ายภายในศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน และตลาดกว้างขวางขึ้น แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเดิมเป็นโคมไฟ, ตะกร้าอเนกประสงค์,แจกัน, มวยนึ่งข้าวปิกนิค และกลุ่มร่วมกับเครือข่าย OTOP จังหวัดยโสธร ส่วนราชการ แสดงและจำหน่ายสินค้าทั้งภายในจังหวั

วัตถุประสงค์ ->

1. การจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพชุมชน โดยรับสมัครชาวบ้านส่วนใหญ่มีความสามารถในการประดิษฐ์เครื่องใช้จักสานจากไม้ไผ่

2. น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

3. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาช่องทางจำหน่ายสินค้าจากทางกลุ่ม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ

2. ทรัพยากรในท้องถิ่นที่นำมาเป็นวัตถุดิบได้ตลอดทั้งปี

3. การประสานงานระหว่างกลุ่มกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนากลุ่ม พัฒนาผลผลิตให้ดียิ่งขึ้น

4.ส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มโดยยึดหลัก 5 ก

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ในการดำเนินกิจกรรมจะต้องมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำเครื่องจักสานสู่เยาวชนรุ่นต่อไปเพื่อรักษาภูมิปัญญาสืบไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดยโสธร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา